จับกระแสภาวะโลกร้อนกับเอซี นีลเส็น

ข่าวทั่วไป Tuesday February 20, 2007 12:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 ก.พ.--เอซีนีลเส็น
ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 46 ประเทศทั่วโลกชิ้นล่าสุดจากเอซีนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนพบว่าผู้คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศของโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากผู้คนจากทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบต่างๆ จากปรากฏการณ์นี้ไม่ว่าจะเป็น อากาศที่ร้อนในฤดูหนาว ฤดูร้อนที่ยาวขึ้น หรือพายุฝนที่เกิดขึ้นในเวลาที่ไม่ได้คาดหมาย โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 98%ในประเทศไทยรู้จักปัญหานี้มากที่สุดในทวีปเอเชียแปซิฟิคและ 73% ของชาวไทยคิดว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก
ผู้บริโภคชาวไทยติดอยู่ในสิบลำดับแรกของโลกที่รู้จักภาวะโลกร้อน
จากผลการสำรวจพบว่าสาธารณรัฐเชค (99%) ถูกจัดอยู่ในลำดับแรกของโลกที่ได้ยินหรือเคยอ่านเรื่องภาวะโลกร้อน โดยมีประเทศไทย จีน โปรตุเกส และรัสเซีย ติดอันดับรองลงมาด้วยเปอร์เซ็นต์ที่ใกล้เคียงกันมาก (98%) (ตารางที่ 1.1)
หากเปรียบเทียบในแถบเอเชีย แปซิฟิค ประเทศไทย (98%) จีน (98%) และเกาหลี (96%) ถูกจัดอยู่ในลำดับแรกๆที่ตระหนักถึงปัญหาภาวะโลกร้อนมากที่สุดในภูมิภาค (ตารางที่ 1.2)
นอกจากนี้ผลสำรวจของทั่วโลกหากแบ่งตามทวีปพบว่า กลุ่มประเทศละติน อเมริกา ( LATAM) ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล ชิลี เม็กซิโก อาร์เจนติน่าร์ จัดอยู่ในกลุ่มที่มีผู้คนรู้จักภาวะโลกร้อนมากที่สุด (96%) ในขณะที่ ผู้คนในแถบอเมริกาเหนือ (84%) รู้จักภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด อย่างไรก็ทุกทวีปจัดว่ามีตามความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหานี้สูง ด้วยค่าเฉลี่ยของโลกที่ระดับ 91 (ตารางที่ 1.3)
ส่วนประเทศที่มีความรู้ และความเข้าใจที่น้อยที่สุด 3 ประเทศได้แก่ สหรัฐอาหรับ เอมิเรต (UAE) โดยมีผู้ตอบคำถามจำนวน 16 เปอร์เซ็นต์ เปิดเผยว่า ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับภาะโลกร้อน รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (13%) และมาเลเซีย(11%)
นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย) ธุรกิจของบริษัท นีลเส็น กล่าวว่า ” ระดับการรับรู้ที่สูงเกี่ยวกับปัญหานี้สะท้อนให้เห็นได้จากสื่อต่างๆ ตั้งแต่เหตุการณ์ที่อุณหภูมิร้อนสูงที่สุดในฤดูร้อนในยุโรป เมื่อปี 2546 ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 35,000 คน ในประเทศไทย พวกเราก็เคยประสบกับปัญหาฝนไม่ตกตามฤดูกาล พายุฝน น้ำท่วม ฤดูร้อนและฤดูหนาวที่ยาวขึ้น ในปีที่ผ่านๆมา ”
ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่รุนแรงหรือไม่?
จากการผลการสำรวจในแถบประเทศเอเชีย แปซิฟิคพบว่า ผู้บริโภคชาวไทย(73%) คิดว่าภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่รุนแรงมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากชาวฟิลิปปินส์ (76%) (ตารางที่ 2.1) และหากเปรียบเทียบทั่วโลกแล้วประเทศที่ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหานี้มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งคือ บราซิล (81%), ฝรั่งเศส (80%) และโปรตุเกส (78%).
จากการสำรวจพบว่า 57% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั่วโลกรู้สึกว่าภาวะโลกร้อนคือปัญหาที่รุนแรงมาก และนอกจากนั้นยังพบว่า 34% ของคนทั่วโลกเห็นว่าเป็นเรื่อง”ค่อนข้างรุนแรง” (ตารางที่ 2.2)
คุณจันทิรา กล่าวเสริมว่า “สิ่งที่น่าเป็นวิตกกังวลก็คือ ผู้บริโภคทั่วโลกจำนวนเก้าจากสิบคนรู้จักภาวะโลกร้อน ซึ่งจัดอยู่ในระดับที่สูงมาก แต่ในขณะเดียวกันระดับของความวิตกกังวลที่มีต่อปัญหานี้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยจะเห็นได้จากจำนวนคนเพียง 57% จากทั่วโลกที่เห็นว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่รุนแรงมาก”
ผู้คนในละตินอเมริกามีความวิตกกังวลกับเหตุการณ์นี้อย่างมากส่งผลให้ทวีปนี้ติดอันดับแรกของโลกที่เห็นว่าภาวะโลกร้อนคือปัญหาที่รุนแรงมาก ในขณะเดียวกันผู้คนในทวีปอเมริกาเหนือมีการรับรู้เกี่ยวกับปัญหานี้ค่อนข้างต่ำโดยมีเพียง 43% ที่มีความคิดเห็นดังกล่าว
อะไรคือสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน
คนทั่วโลกมีความคิดเห็นตรงกันว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล และการปลดปล่อยกาซคาร์บอนด์ไดออกไซด์ของยานพาหนะ โดยผู้คนทั่วโลกจำนวน 50% เห็นว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์เพียงอย่างเดียวและอีก 43% คิดว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโดยธรรมชาติ (ตารางที่ 3.1)
สำหรับประเทศไทย ชาวไทย (48%) มีความเห็นว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ และอีกครึ่งหนึ่ง (50%) คิดว่าเกิดจากการผสมผสานของกระทำของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโดยธรรมชาติ (ตารางที่ 3.2)
คุณจันทิรา กล่าวว่า ” จากผลการสำรวจค่อนข้างจะเห็นชัดเจนว่าผู้ตอบแบบสอบถามเชื่อมโยงภาะโลกร้อนกับการจราจรและการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล โดยจะเห็นได้ว่ามีคนจำนวนมากที่พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ แต่มีคนจำนวนน้อยมากที่คิดว่าวิกฤตการณ์นี้เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ผลการวิจัยนี้จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับผู้ที่กำลังผลักดันในการหยุดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจก”
ผู้คนในแถบละตินอเมริกา (62%) ติดลำดับแรกของโลกอีกครั้งที่คิดว่าการกระทำของมนุษย์เท่านั้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะ โลกร้อน ในขณะที่ชาวอเมริกาเหนือมีความคิดเห็นดังกล่าวน้อยกว่าทวีปอื่นๆของโลก ดูเสมือนว่าผู้ตอบแบบสอบถามในทวีปอเมริกาเหนือ (66%) จะเห็นว่าภาวะโลกร้อนส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโดยธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังพบว่าชาวจีนมากถึง 73% และชาวบราซิล 70% เชื่อว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์เพียงอย่างเดียว
หากเปรียบเทียบในทวีปเอเชีย แปซิฟิค ผู้ตอบแบบสอบถาม 58 เปอร์เซ็นต์เห็นว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์เพียงอย่างเดียว และอีก 38 เปอร์เซ็นต์คิดว่าเกิดจากกระทำของมนุษย์และสาเหตุตามธรรมชาติ (3.1)
ประเทศที่มีความเห็นว่าภาวะโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์เพียงอย่างเดียวในเอเชียแปซิฟิค นำโดยจีน (73%)เกาหลี (63%)และฮ่องกง (59%) ตามลำดับ (3.2)
คุณจันทิรา กล่าวตอนท้ายว่า “เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ผู้คนจำนวนมากเชื่อว่าปัญหาภาวะโลกร้อนเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นพวกเราทุกคนควรเริ่มที่จะใส่ใจในการทำสิ่งที่ดีขึ้นในชีวิตประจำวันของพวกเราเพื่อที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีในอนาคต”
เกี่ยวกับเอซีนีลเส็น
เอซีนีลเส็น คือธุรกิจที่ให้บริการข้อมูลทางการตลาดชั้นนำของโลก เปิดให้บริการกว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยให้บริการด้าน การวัดผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการตลาด รวมถึงพฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภค ผู้ใช้บริการมีความเชื่อมั่นในผลงานวิจัย วิธีการวัดผล และการวิเคราะห์ ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นภายในองค์กร และให้ความไว้วางใจในบริการอย่างมืออาชีพของบริษัทฯ เพื่อความเข้าใจในขีดความสามารถทางการแข่งขัน เพื่อค้นหาโอกาสทางการตลาด และเพื่อเพิ่มผลกำไรจากกิจกรรมทางการตลาดของตนเอง
เกี่ยวกับนีลเส็น
บริษัทนีลเส็น จำกัด เป็นบริษัทเกี่ยวกับสื่อและข้อมูลทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยแบรนด์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในแวดวงการตลาดเป็นอย่างดีอาทิ “เอซีนีลเส็น” ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด , “นีลเส็นมีเดีย รีเสริช” ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางสื่อ “BASES” ให้บริการเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ( New product launch ) , สิ่งพิมพ์ทางธุรกิจอาทิ Billboard, The Hollywood Reporter และ Adweek รวมถึง Trade show และส่วนงานหนังสือพิมพ์ ( Scarborough ) โดยเป็นบริษัทเอกชนที่เปิดดำเนินการมากกว่า 100 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 42,000 คน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Haalem เนเธอร์แลนด์ และ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nielsen.com
สำหรับเผยแพร่ทันที
นิจวรรณ คูหา ( นิกกี้ )
Email:nitjawan.khooha@nielsen.com
Tel:02-231-1932 ext.132 or 089-772-7707
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ