TMC จัดประชุมเชิงวิชาการ เปิดตัวผลวิจัยใหม่ “น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการบริโภค” ผลจากงานวิจัยผสานภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday May 22, 2007 16:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--สวทช.
ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (Technology Management Center: TMC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชนบทและชุมชน ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (คพช.อย.) และ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะจัดประชุมวิชาการเรื่อง “น้ำหมักชีวภาพ เทคโนโลยีเพื่อความพอเพียง สู่นวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน” เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยน้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภคแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวนกว่า 500 คน โดยมี รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สวทช. เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี และ ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมในงาน ในวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2550 เวลา 08.30 — 17.00 น. ณ ห้องบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ (ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินพระราม 9)
ทั้งนี้ ปัจจุบันแนวโน้มความสนใจและการบริโภคผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้จำนวนผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำหมักชีวภาพเพิ่มขึ้นด้วย แต่การผลิตน้ำหมักชีวภาพในประเทศ กลับพบว่า มักมีการอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริง ทั้งยังประสบปัญหาสำคัญของการผลิต น้ำหมักชีวภาพ คือ เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัย และคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ด้วยการขาดซึ่งความรู้ความเข้าใจและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องของกระบวนการผลิต การบรรจุ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ดังนั้น งานประชุมวิชาการดังกล่าวจึงจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยที่ได้วิจัยและพัฒนามาตั้งแต่ปี 2546 พร้อมทั้งไขข้อข้องใจเกี่ยวกับสรรพคุณที่แท้จริง ตลอดจนส่งเสริมกระบวนการผลิตที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน จนนำไปสู่สิทธิบัตรภูมิปัญญาไทย สร้างผลิตภัณฑ์ไทยแข่งขันได้ในตลาดสากลต่อไป
ในการนี้ งานประชาสัมพันธ์ ใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชน เข้าร่วมจัดทำข่าวงานประชุมวิชาการดังกล่าว ตามวัน เวลา และสถานที่ที่ปรากฏข้างต้นนี้ โดยได้แนบกำหนดการมาพร้อมนี้แล้ว
กำหนดการ การประชุมวิชาการ
เรื่อง น้ำหมักชีวภาพ เทคโนโลยีเพื่อความพอเพียง สู่นวัตกรรมเพื่อสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืน
วันที่ 25 พฤษภาคม 2550
ณ ห้องบอลรูม ชั้น 3 โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน ถนน รัชดาภิเษก กทม
08.30- 08.45 ลงทะเบียน
08.45-09.00 พิธีเปิด
กล่าวเปิดงาน
โดย รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
กล่าวรายงาน โดย ศ. ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์
รองผู้อำนวยการ สวทช. และ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC)
ตอนที่ 1 ความเป็นมา และแนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร.ดวงพร คันธโชติ
09.00-09.20 การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในทฤษฏีใหม่สู่นวัตกรรมเพื่อการบริโภค
โดย ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
09.20-09.40 สถานภาพและความก้าวหน้าของน้ำหมักชีวภาพในประเทศไทยและต่างประเทศ
โดย ศ.ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (วิทยาเขตพะเยา)
09.40-10.00 แนวทางการพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน
โดย ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพชุมชน (ศพช. อย.)
ตอนที่ 2 การผลิต การควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและ
มีคุณประโยชน์
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว และน.ส.ศศิธร ศิริลุน
10.00-10.20 การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ ของน้ำหมักชีวภาพ
ในกระบวนการผลิต
โดย น.ส.ศศิธร ศิริลุน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10.20-10.35 องค์ประกอบทางพฤกษเคมีของน้ำหมักชีวภาพที่มีส่วนผสมของกระชายดำและ
ว่านสาวหลง
ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10.35-10.50 ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณเมธานอลในน้ำหมักชีวภาพจากพืช
โดย ดร.ลลิดา แชงค์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
10.50-11.05 การปนเปื้อนของยีสต์ในน้ำหมักชีวภาพจากพืช
โดย นายภากร ปราชญากิจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
11.05-11.25 การคัดเลือกแลกติกแอสิดแบคทีเรีย เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อปรับปรุงคุณภาพ
น้ำหมักชีวภาพจากพืช
โดย รศ.ดร.ดวงพร คันธโชติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
11.25-11.40 สภาวะที่เหมาะสมต่อการผลิตหัวเชื้อเริ่มต้นแลคติกแอสิดแบคทีเรีย
โดย ว่าที่ ร.ต. กิตติพล จันทวงศาทร และ รศ.ดร.นัยทัศน์ ภู่ศรัณย์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11.40-12.00 นวัตกรรมต้นเชื้ออย่างง่าย และต้นเชื้อโปรไบโอติกเพื่อวิสาหกิจชุมชน
โดย น.ส.ยศวีร์ ดวงจิตต์เจริญ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
ตอนที่ 3 การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพในการดูแลสุขภาพ
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา และนายเฉลิมพงษ์ แสนจุ้ม
13.00-13.30 การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพในการแพทย์ผสมผสานเพื่อการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
และโรคผิวหนัง
โดย ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธ์วงศ์ ชมรมบ้านสุขภาพ/สถาบันภูมิปัญญาสากล
13.30-13.45 ปัจจัยที่มีผลต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำหมักชีวภาพ
โดย นายสาร์ทจีน ภีระจันทร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13.45-14.00 ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อภูมิคุ้มกันในเซลล์หนูขาว และในการเลี้ยงไก่เนื้อ
โดย ผศ.ดร.ชุตินันท์ ประสิทธิ์ภูริปรีชา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
14.00-14.15 ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อภาวะเครียดออกซิเดชันในโรคเบาหวาน
โดย นางวินธนา คูศิริสิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14.15-14.30 คลื่นพลังชีวภาพและการทดสอบในน้ำหมักพืช
โดย ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตอนที่ 4 การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพในครัวเรือน และเวชสำอาง
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา และน.ส.ธนวันต์ กันทา
14.30-14.45 การวิจัยและพัฒนาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของน้ำหมักชีวภาพ
โดย รศ.พิมพร ลีลาพรพิสิษฐ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
14.45-15.00 นวัตกรรม: การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพ ร่วมกับเทคโนโลยีนาโนทางเครื่องสำอาง
โดย ผศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ตอนที่ 5 การประยุกต์ใช้น้ำหมักชีวภาพในการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา และน.ส.ธนวันต์ กันทา
15.00-15.15 ผลการใช้น้ำหมักลูกยอป่าต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของมะเขือเทศราชินี
โดย น.ส.กาญจนา ขาวผ่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15.15-15.30 การพัฒนากระบวนการผลิตข้าวอินทรีย์ ให้ทนต่อภาวะเครียดจากความแห้งแล้ง
ความเค็มและสารเคมี โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ
โดย น.ส.ธนวันต์ กันทา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตอนที่ 6 ความปลอดภัยและผลกึ่งเรื้อรังของน้ำหมักชีวภาพ
ผู้ดำเนินรายการ คุณวินธนา คูศิริสิน
15.30-15.50 การประเมินความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค :
การทดสอบความเป็นพิษกึ่งเรื้อรัง
โดย ผศ.ดร.สมเดช ศรีชัยรัตนกูล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตอนที่ 7 การตอบปัญหาข้อสงสัย
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร.นัยทัศน์ ภู่ศรัณย์
15.50-16.15 ตอบปัญหาข้อสงสัย
โดย คณาจารย์ และคณะวิทยากร
ตอนที่ 8 เวทีพิจารณ์
ผู้ดำเนินรายการ ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธ์วงศ์ และคุณอาภรณ์ วิชัยดิษฐ์
16.15-17.30 สถานการณ์ของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพและแนวทางในการดูแลส่งเสริมของภาครัฐ
โดย เครือข่ายชุมชนอโศกและเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย
17.30 ปิดการประชุม
สอบถามเพิ่มเติม
คุณวีระวุฒิ 081-454-5087, คุณชนานันท์ 081-639-6122
หรือ 0-2564-7000 ต่อ 1478

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ