ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุล ผุดแผนศูนย์การเรียนรู้สู่เยาวชนหวังปั้นบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ดันไทยสู่ Medical Hub

ข่าวทั่วไป Monday August 23, 2010 11:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุล ปรากฏการณ์ใหม่แห่งวงการแพทย์เมืองไทย... กับการรักษาที่เรียกว่า“ชีวโมเลกุล” หรือ “เซลล์ซ่อมเซลล์” กำลังเป็นที่จับตามองและเป็นทางเลือกของการรักษาโรค ซึ่งหลายคนคงสงสัยว่า เซลล์ซ่อมเซลล์ คืออะไร มีวิธีการรักษาอย่างไร และสามารถรักษาโรคได้จริงหรือ ? ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชีย นับเป็นศูนย์ที่ให้บริการรักษาชีวโมเลกุลแห่งเดียวในเมืองไทย เน้นการรักษาโดยวิธีการเซลล์ซ่อมเซลล์ ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังแพทย์ไทย ล่าสุดเตรียมสร้างศูนย์การเรียนรู้สู่เยาวชน เปิดโอกาสให้เยาวชนเข้าดูงาน ศึกษาหาความรู้ด้านชีวโมเลกุล เพื่อส่งเสริมเยาวชนที่ต้องการเรียนแพทย์ มีความเข้าใจเรื่องชีวโมเลกุล เป็นบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในอนาคต อันเป็นพลังขับเคลื่อนให้ไทยจะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางทางแพทย์ (Medical Hub) ในไม่ช้านี้ นางพรรณทิพา วัชโรบล ประธานศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชีย กล่าวถึงที่มาว่า ได้ไปศึกษาวิชาชีวโมเลกุล จากประเทศเยอรมนีกว่า 3 ปี โดยศึกษาอย่างละเอียด และปฏิบัติงานในฐานะที่ปรึกษาแก่แพทย์และผู้ป่วย ทำให้มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยหลากหลาย อาทิ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคกระดูกเสื่อม โรคภูมิแพ้ ฯลฯ และพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีอาการดีขึ้น และได้ประจักษ์ว่าสามารถรักษาผู้ป่วยโดยใช้วิธีการเซลล์ซ่อมเซลล์เห็นผลจริง เมื่อได้ประสบแล้วว่าวิธีการรักษาลักษณะนี้เป็นของจริง ไม่ใช่หลอกลวง จึงควรเผยแพร่สิ่งดีๆ เหล่านี้ให้กับคนไทยได้รับรู้และเป็นกระบวนการรักษาที่เป็นทางเลือก ดังนั้นเมื่อกลับมาประเทศไทย จึงได้ก่อตั้งศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชีย โดยได้รับความไว้วางใจจากประเทศเยอรมนีให้ดำเนินการก่อตั้งที่ประเทศไทยได้ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเวลากว่า 18 ปีที่ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลได้มีโอกาสดูแลผู้ป่วยทั้งคนไทยและต่างชาติ โดยแบ่งเป็นคนไทยร้อยละ 95 ต่างชาติร้อยละ 5 ซึ่งการแพทย์ชีวโมเลกุลได้รับการยอมรับมากขึ้นในเมืองไทย ทั้งจากแพทย์ ผู้ป่วย และญาติ ที่ได้มีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงจากคุณประโยชน์ของการรักษาแนวนี้ นางพรรณทิพา ขยายความถึงวิธีการแพทย์ชีวโมเลกุล คือ การซ่อมแซมเซลล์ด้วย Xenogenic Peptide ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ภายใน Cytoplasm ของเซลล์ (น้ำในเซลล์) กล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า เป็นการรักษาโรคที่ต้นเหตุ คือ โดยการซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพด้วยการใช้สารชีวโมเลกุล ที่สกลัดจากอวัยวะของสัตว์นำมาซ่อมแซมเซลล์อวัยวะเดียวกันของมนุษย์ เช่น เซลล์ตับ จะไปซ่อมแซมตับ เซลล์หัวใจจะไปซ่อมแซมหัวใจ ทฤษฎีนี้เรียกว่า “เซลล์ซ่อมเซลล์” การแพทย์ชีวโมเลกุล รักษาได้ทุกโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของอวัยวะส่วนใดเสื่อมนั้นก็หมายความว่าเซลล์ซึ่งเป็นส่วนประกอบเล็กๆ ของอวัยวะนั้นๆ เสื่อม นั่นก็คือ มันเสื่อมที่เซลล์นั่นเอง แต่เนื่องจากแพทย์ชีวโมเลกุลสามาถซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมได้ แต่ทั้งนี้เซลล์นั้นต้องเป็นเซลล์ที่ยังไม่ตาย โดยหากได้มารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อตอนที่เซลล์ยังเสื่อมไปไม่มาก จะใช้ระยะเวลาในการซ่อมเซลล์ได้เร็วและได้ประสิทธิผลกว่าเมื่อเซลล์นั้นเสื่อมไปมากแล้ว สำหรับทางด้านแผนการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในปีนี้จะมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ในวงกว้าง ให้เกิดความเข้าใจ และยอมรับในการรักษาโดยวิธีการเซลล์ซ่อมเซลล์ โดยล่าสุดได้จับมือกับงาน Thailand Health & Wellness 2010 โดยศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชีย มีการออกบูธในงานโดยมีการให้คำปรึกษาสุขภาพในงาน การให้ความรู้เกี่ยวกับเซลล์ซ่อมเซลล์ นวัตกรรมทางการแพทย์ แสดงผลิตภัณฑ์ และเครื่องมือใหม่ๆ จากเยอรมนี เป็นต้น โดยงานจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 26 — 29 สิงหาคม 2553 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์ชีวโมเลกุลแห่งเอเชีย ได้เตรียมการจัดทำศูนย์การเรียนรู้สู่เยาวชน เพื่อสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เน้นการสร้างบุคลากรทางการแพทย์ชีวโมเลกุลและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการกระตุ้นให้นักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ให้สนใจในวิชานี้ ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าต่อไปวิชาการแพทย์ชีวโมเลกุลจะเป็นเส้นทางที่เจริญต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งและจะช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สิ้นหวังได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์แห่งเอเชีย ( Medical Hub) อีกด้วย
แท็ก เอเชีย   เซลล์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ