พลัส พร็อพเพอร์ตี้ สรุปสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ครึ่งปีแรก 53 ทาวน์เฮ้าส์และคอนโดฯยังเติบโตอย่างน่าจับตามอง ขณะที่บ้านเดี่ยวระดับ 3-5 ล้านครองแชมป์ขายดี ส่วนตลาดอพาร์ทเม้นต์และสำนักงานยังทรงตัว

ข่าวอสังหา Friday August 27, 2010 15:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--โฟว์ดี คอมมิวนิเคชั่น ฝ่ายวิจัยและพัฒนา พลัส พร็อพเพอร์ตี้ สรุปภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ครึ่งปีแรก 53 ชี้ ทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียมยังเติบโตต่อ คาดครึ่งปีหลังมีโครงการเกิดใหม่ต่อเนื่อง พร้อมมี การขยับราคาขาย ในขณะที่บ้านเดี่ยวระดับราคา 3-5 ล้านบาทยังคงเป็นที่ต้องการมากสุดในตลาด และครึ่งปีหลังส่วนใหญ่จะมีการพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ สำหรับตลาดอพาร์ทเม้นต์/เซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์ และอาคารสำนักงานโดยรวมยังทรงตัว ฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ได้สรุปผลวิจัยตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยโดยรวมในครึ่งปีแรก 2553 พบว่า ส่วนใหญ่ยังมีอัตราเติบโตชัดเจนอย่างมากในตลาดทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียม ซึ่งหากพิจารณาถึงตลาดทาวน์เฮ้าส์ สามารถสรุปได้ว่า ทาวน์เฮ้าส์เปิดใหม่ โตสวนกระแสเศรษฐกิจ โดยมีโครงการเปิดตัวใหม่ 67 โครงการ จำนวน 8,105 ยูนิต เพิ่มขึ้น 111% (เพิ่มขึ้น 4,264 ยูนิต) เมื่อเทียบกับครึ่งปีหลัง 2552และเพิ่มขึ้นถึง155%(เพิ่มขึ้น4,931 ยูนิต) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา จำนวนยูนิตเสนอขายส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทางทิศเหนือ 2,575 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 32% จากจำนวนทาวน์เฮาส์เปิดใหม่ทั้งหมด เน้นเสนอขายบริเวณ ถ.พหลโยธิน และ คลองหลวง-ปทุมธานี รองลงมาได้แก่ ทิศตะวันตก 2,234 ยูนิต สัดส่วน 28% และ ทิศตะวันออก 1,271 ยูนิต สัดส่วน 16% เป็นต้น โครงการเปิดตัวใหม่กว่า 10 โครงการ เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่มีราคาเสนอขายเริ่มต้นไม่เกิน 1.2 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการได้เริ่มกลับเข้าสู่ตลาด เพื่อพัฒนาโครงการสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางเพิ่มขึ้น สอดคล้องตามเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุนของ BOI นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ซื้อ ในปัจจุบัน อุปสงค์เติบโตต่อเนื่อง ตอบรับมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ อุปสงค์ในตลาดทาวน์เฮ้าส์ ช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีจำนวนยูนิตขายได้เพิ่มขึ้น 45% (เพิ่มขึ้น 3,753 ยูนิต) จากครึ่งปีหลัง 2552 และเพิ่มขึ้น 92% (เพิ่มขึ้น 5,783 ยูนิต) จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 12,051 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วนยอดขาย 51% จากจำนวนยูนิตเสนอขายทั้งหมด อัตรายอดขายโดยเฉลี่ยต่อเดือนต่อโครงการในปัจจุบัน อยู่ที่ 7.2 ยูนิต พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น 2.9 ยูนิตต่อเดือนต่อโครงการ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แสดงว่าการใช้มาตรการกระตุ้นธุรกิจในภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มีส่วนสำคัญที่ทำให้ปริมาณอุปสงค์เติบโตได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ราคาถูก เพื่อสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ได้มีโอกาสซื้อที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น จึงทำให้ปริมาณอุปสงค์ของตลาด ทาวน์เฮ้าส์เติบโตสูงขึ้นชัดเจน จำนวนยูนิตเสนอขายเติบโตสูงเกิน 40% จากช่วงเดียวกัน ในปี 52 ทาวน์เฮ้าส์ต่ำกว่า 1 ล้านบาท มาแรงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้น 14% ผู้ประกอบการรายใหญ่ชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 57% ด้านตลาดคอนโดมิเนียม พบว่า จำนวนห้องชุดสร้างเสร็จในตลาดคอนโดมิเนียมช่วงครึ่งปีแรก 2553 พบว่า มีจำนวนห้องชุดสร้างเสร็จทั้งสิ้น 41 โครงการ จำนวน 19,128 ยูนิต เติบโตสูงสุดในพื้นที่รัชดาภิเษก 34,707 ยูนิต รองลงมาคือพื้นที่สุขุมวิทรอบนอก 32,600 ยูนิต และพื้นที่สุขุมวิท 25,180 ยูนิต เป็นต้น ส่งผลให้ห้องชุดสร้างเสร็จสะสมสูงขึ้นเป็น 212,468 ยูนิต เติบโตขึ้น 10% จากทั้งปี 2552 แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องของผู้ประกอบการที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถก่อสร้างและโอนห้องชุดได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ จำนวนยูนิตสร้างเสร็จส่วนใหญ่อยู่ในโซนชั้นนอก (พื้นที่สุขุมวิทรอบนอก, ธนบุรี, นนทบุรี เป็นต้น) อยู่ที่ 93,275 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 44% เพิ่มขึ้น 3% จากสิ้นปี 2552 รองลงมาคือ โซนชั้นกลาง (พื้นที่พระราม 3, พญาไท, พหลโยธิน, และรัชดาภิเษก) อยู่ที่ 78,351 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 37% ลดลง 2% จากสิ้นปี 2552 และพื้นที่โซนชั้นใน (พื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ และสุขุมวิท) อยู่ที่ 40,842 ยูนิต คิดเป็นสัดส่วน 19% ลดลง 1% จากสิ้นปี 2552 และคาดว่ายังมีจำนวนยูนิตที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกกว่า 77,000 ยูนิต ที่จะส่งผลให้ภายในปี 2556 อุปทานสร้างเสร็จสะสมจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 37% อุปทานใหม่ครึ่งปีแรกเปิดเพิ่มกว่าเท่าตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2552 จำนวนอุปทานเสนอขายใหม่ช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีจำนวน 25,301 ยูนิต จาก 74 โครงการ เติบโตเพิ่มขึ้นถึง 173% หรือ 16,035 ยูนิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2552 แม้จะประสบปัญหาจากสถานการณ์ทางการเมืองทำให้ต้องเลื่อนระยะเวลาการเปิดตัวโครงการใหม่ออกไปบ้าง โดยผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อย ยังคงครองส่วนแบ่งในตลาดที่ 60% และ 40% ตามลำดับ ทั้งนี้ สัดส่วนการพัฒนาโครงการใหม่สูงสุด อยู่ในพื้นที่รอบนอก อาทิเช่น พื้นที่นนทบุรี, มีนบุรี, รามคำแหง เป็นต้น จำนวน 9,817 ยูนิต เป็นผลจากการพัฒนาห้องชุดขนาดเล็กเป็นจำนวนมากในหลายโครงการ รองลงมาคือ พื้นที่รัชดาภิเษก จำนวน 5,135 ยูนิต และพื้นที่ธนบุรี จำนวน 2,455 ยูนิต เป็นต้น หากพิจารณาอัตราการเติบโตเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2552 พบว่า พื้นที่พระราม 3 มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุด 25 เท่า มาอยู่ที่ 1,634 ยูนิต เนื่องจากการเปิดให้ใช้บริการของระบบรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ BRT เส้นทางช่องนนทรีย์-ราชพฤกษ์ ที่สามารถนำมาใช้เป็นจุดขายได้โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมบนถนนพระราม 3 ที่อยูใกล้สถานี BRT อีกทั้งโอกาสในการลงทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนคู่แข่งที่มีน้อยกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ดังเช่นพื้นที่ในบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา จึงส่งผลให้ มีการพัฒนาโครงการใหม่ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้น รองลงมาคือ พื้นที่ธนบุรี เพิ่มขึ้น 13 เท่า มาอยู่ที่ 2,455 ยูนิต และพื้นที่รัชดาภิเษก เพิ่มขึ้น 5 เท่า มาอยู่ที่ 5,135 ยูนิต เป็นต้น ด้านอุปทานเสนอขายเติบโตสูงขึ้น 46% อุปทานเสนอขายห้องชุดใน 8 พื้นที่ ช่วงครึ่งปีแรก 2553 มีจำนวน 29,708 ยูนิต ลดลง 3% จากครึ่งปีหลัง 2552 แต่เพิ่มขึ้นถึง 46% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า เป็นผลจากผู้ประกอบการในตลาดห้องชุดเริ่มปรับตัวต่อสภาพเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหวต่อปัจจัยแวดล้อมภายนอกได้ดีขึ้นกว่าปีก่อน จึงเริ่มเปิดตัวโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2552 โดยพื้นที่รัชดาภิเษก มีจำนวนยูนิตเสนอขายสูงสุด 8,298 ยูนิต เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางธุรกิจได้สะดวก รองลงมาได้แก่ พื้นที่ธนบุรี จำนวน 6,083 ยูนิต และพื้นที่สุขุมวิท จำนวน 4,294 ยูนิต เป็นต้น โดยพบว่า พื้นที่รัชดาภิเษก, ธนบุรี และพหลโยธิน มีจำนวนยูนิตเสนอขายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2552 อยู่ที่ 108%, 106% และ 85% ตามลำดับ ในขณะที่พื้นที่สุขุมวิทรอบนอก จำนวนยูนิตเสนอขายลดลง 25% เนื่องจาก บางโครงการหยุดการเสนอขายในรอบนี้ รองลงมาคือพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ (เพลินจิต-ชิดลม และสีลม-สาทร) ลดลง13% และพื้นที่พญาไท ลดลง 11% เป็นต้น ยอดขายห้องชุดเติบโตดีขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า จำนวนยอดขายสะสมใน 8 พื้นที่ ช่วงครึ่งปีแรก 2553 อยู่ที่ 16,403 ยูนิต เพิ่มขึ้น 7% จาก ครึ่งปีหลัง 2552 และเติบโตดีขึ้นถึง 223% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า เป็นผลจากนโยบาย การลดค่าธรรมเนียมการโอนในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีการต่ออายุมาจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2553 ประกอบกับลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวได้ดีขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน โดยพื้นที่รัชดาภิเษก มีจำนวนยอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุด 11.24 เท่า เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2552 มาอยู่ที่ 5,276 ยูนิต ซึ่งยอดขายกว่า 50% เป็นของโครงการเปิดใหม่ในรอบนี้ ด้วยข้อได้เปรียบด้านศักยภาพของพื้นที่ และราคาขายโดยเฉลี่ยที่ต่ำกว่าพื้นที่อื่น ๆ ที่มีรูปแบบโครงการคล้ายคลึงกัน จึงทำให้มีอุปสงค์ตอบรับเป็นจำนวนมาก รองลงมาคือ พื้นที่พระราม 3 เพิ่มขึ้น 8.47 เท่า มาอยู่ที่ 1,345 ยูนิต และพื้นที่พหลโยธิน เพิ่มขึ้น 3.41 เท่า มาอยู่ที่ 1,883 ยูนิต เป็นต้น ในขณะที่พื้นที่สุขุมวิทรอบนอกมียอดขายลดลง 3% มาอยู่ที่ 1,677 ยูนิต อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่รัชดาภิเษก ยังมียอดขายได้สูงสุด 5,276 ยูนิต รองลงมาคือพื้นที่ธนบุรี 3,291 ยูนิต และพื้นที่สุขุมวิท 2,265 ยูนิต เป็นต้น ราคาขายรวมเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% จากสิ้นปี 2552 เมื่อพิจารณาด้านราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรของห้องชุดในช่วงครึ่งปีแรก 2553 พบว่า ราคาขายรวมเฉลี่ยใน 5 พื้นที่ พบการปรับตัวเพิ่มขึ้น 6% จากสิ้นปี 2552 หรือเพิ่มขึ้น 5,848 บาทต่อตารางเมตร มาอยู่ที่ 106,062 บาทต่อตารางเมตร โดยพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจ (เพลินจิต-ชิดลม และสีลม-สาทร) ปรับราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด 13% มาอยู่ที่ 153,562 บาทต่อตารางเมตร เป็นผลจากการปรับราคาขายขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ และมีการกลับมาเปิดขายใหม่อีกครั้งของโครงการในพื้นที่ดังกล่าว จึงส่งผลให้ราคาขายโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น รองลงมาคือพื้นที่พระราม 3 เพิ่มขึ้น 9% มาอยู่ที่ 82,876 บาทต่อตารางเมตร และพื้นที่พญาไท เพิ่มขึ้น 8% มาอยู่ที่ 103,146 บาทต่อตารางเมตร มีเพียงพื้นที่พหลโยธินที่ราคาขายเฉลี่ยปรับตัวลดลง 5% มาอยู่ที่ 81,153 บาทต่อตารางเมตร เป็นผลจากโครงการเปิดตัวใหม่มีราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรต่ำกว่าโครงการอื่นๆ ในพื้นที่ จึงทำให้ราคาขายรวมเฉลี่ยลดลง สำหรับพื้นที่สุขุมวิทราคาขายเฉลี่ยต่อตารางเมตรยังคงที่ อยู่ที่ 109,575 บาทต่อตารางเมตร เมื่อวิเคราะห์ในส่วนตลาดบ้านเดี่ยว พบว่า ด?านยอดขายโครงการเป?ดตัวใหม? ส?วนใหญ?มียอดขายได?เกินกว?า 50% ของจํานวนยูนิตที่เป?ดขาย พื้นที่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือมียอดขายสูงสุด 72% รองลงมาคือ พื้นที่ทิศเหนือ 65% และทิศตะวันออก 64% อุปทานในช?วงครึ่งป?แรก 2553 มีจํานวนรวม 16,342 ยูนิต โดยพื้นที่ทิศเหนือมี จํานวนสูงสุด 4,893 ยูนิต รองลงมาคือ ทิศตะวันตก 4,324 ยูนิต ด?านระดับราคาเสนอขายในช?วงครึ่งป?แรก 2553 ยังเน?นราคา 3 — 5 ล?านบาท มีจํานวนยูนิตเสนอขายสูงสุด อยู?ที่ 8,839 ยูนิต และมียอดขายได?สูงสุดเช?นเดิมอยู?ที่ 3,563 ยูนิต ส?วนใหญ?อยู?บริเวณทิศตะวันตก รองลงมาคือ ราคา 5 — 6 ล?านบาท มียอดขายได?ที่ 1,425 ยูนิต และราคา 7-10 ล?านบาท ยอดขายได?ที่ 821 ยูนิต และผลการวิจัยส่วนสุดท้ายคือ ตลาดอพาร์ทเม้นต์, เซอร์วิส อพาร์ทเม้นต์ และอาคารสำนักงาน พบว่า ภาพรวมหลักๆ ยังไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา โดยตลาดอพาร์ทเม้นต์ มีอุปทานสะสมลดลงเล็กน้อย 0.34% เพื่อปรับรูปแบบใหม่ อุปสงค์รวมเฉลี่ย เติบโตขึ้นเล็กน้อยเพียง 2% อัตราการเข้าพักในตลาด อพาร์ตเม้นต์เกรดเอ และเกรดบี เติบโตดีขึ้น 2 — 4% ค่าเช่าในตลาดเกรดเอลดลง 5% แต่เกรดบีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนตลาดเซอร์วิส อพาร์ทเม้นต์นั้น มีโครงการเปิดดำเนินการใหม่ 15 โครงการ จำนวน 1,490 ยูนิต ส่วนใหญ่เปิดดำเนินการในพื้นที่สุขุมวิทชั้นใน (ซ.สุขุมวิท1-71) ตอบรับกับอุปสงค์ที่มีความต้องการต่อเนื่องในพื้นที่นี้ อัตราการเช่าเฉลี่ยรวมอยู่ในภาวะทรงตัว เติบโตขึ้นเล็กน้อยเพียง 1% ค่าเช่าเฉลี่ยครึ่งปีแรก 2553 ยังทรงตัวจากปี 2552 และส่วนสุดท้ายตลาดอาคารสำนักงาน จากการสำรวจตลาดอาคารสำนักงานช่วงครึ่งปีแรก 2553 พบการเติบโตของอุปทานเปิดใหม่ จำนวน 5 อาคาร ได้แก่ อาคารโกลเด้นแลนด์ บิวดิ้ง, อาคารปิยะเพลส, อาคารเอ็มเค บิวดิ้ง, อาคารพหลโยธิน เซ็นเตอร์ และอาคารทศพลแลนด์ 3 ปริมาณการเช่าเฉลี่ยเพิ่ม 1% จากปีก่อนหน้า อัตราการเช่าพื้นที่สำนักงานในศูนย์กลางธุรกิจ ทั้งเกรดเอและเกรดบี ยังทรงตัว ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานรวมเฉลี่ยยังทรงตัวในเกรดเอ แต่ค่าเช่าเฉลี่ยของตลาดเกรดบีลดลง 7% ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในครึ่งปีหลัง 2553 คาดว่า ตลาดทาวน์เฮ้าส์ จะมีอุปทานใหม่อีกกว่า 8,000 ยูนิต ซึ่งจะสามารถดูดซับได้ภายใน 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบและทำเลที่อยู่ในความต้องการของผู้ซื้อ ด้านตลาดคอนโดมิเนียม ประเมินแนวโน้มใน1-2 ปีนับจากนี้ จะมีอุปทานใหม่ที่เตรียมเสนอขายอีกไม่ต่ำกว่า 40,000 ยูนิต คาดว่าจะดูดซับได้หมดภายใน 5 เดือน หากอุปสงค์ยังเติบโตดีในระดับนี้ แนวโน้มการพัฒนาโครงการใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่สุขุมวิท รัชดาภิเษก และธนบุรี และคาดว่ายังมีอุปทานใหม่อีกส่วนหนึ่งที่เตรียมเสนอขายตอบสนองความต้องการของผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ตามการส่งเสริมการลงทุนของ BOI. และคาดว่าไม่ส่งผลกระทบกับราคาขายเฉลี่ยโดยรวมของทั้งตลาด ซึ่งหากสถานการณ์เติบโตได้ดีขึ้นตามลำดับ ระดับราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียม โดยภาพรวมจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 3-7% ตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ด้านตลาดบ้านเดี่ยว ในอนาคตช?วงครึ่งป?หลัง 2553 คาดว?า ตลาดบ?านเดี่ยว ยังมียูนิตเตรียมเสนอขายอีกกว?า 2,000 ยูนิต อยู?ในพื้นที่หทัยราษฏร? วัชรพล และรามอินทรา ราคาขายอยู? ในช?วง 3 — 5 ล?านบาท ส่วนตลาดอพาร์ทเม้นต์ เซอร์วิส อพาร์ทเม้นต์ และอาคารสำนักงานนั้น คาดว่าจะยังทรงตัวต่อเนื่องไปอีกระยะ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ