กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
ประเด็นสำคัญ
อินเทล คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ โนเกีย และ มหาวิทยาลัยแห่งอูลู ประเทศฟินแลนด์ ประกาศความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมกันเป็นแห่งแรก
หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของห้องปฏิบัติการแห่งใหม่นี้คือ การสร้างสรรค์ประสบการณ์การใช้งานรูปแบบใหม่ที่มีความโดดเด่น บนอุปกรณ์โมบายล์ชนิดต่างๆและดึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของอุปกรณ์โมบายล์มาใช้ประโยชน์สูงสุด
ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ถือเป็นเป็นสมาชิกล่าสุดของ Intel Labs Europe ซึ่งเป็นเครือข่ายศูนย์วิจัยและนวัตกรรมของอินเทลที่กระจายอยู่ทั่วยุโรป
เมื่อเร็วๆ นี้ อินเทล คอร์ปอเรชั่น ร่วมกับ โนเกีย และ มหาวิทยาลัยแห่งอูลู ประกาศเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือระหว่างอินเทลและโนเกีย หรือ Intel and Nokia Joint Innovation Center โดยศูนย์วิจัยแห่งนี้จะประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาที่ปฏิบัติการอยู่ประมาณ 24 คน และจะกลายเป็นศูนย์วิจัยที่เป็นสมาชิกล่าสุดของ Intel Labs Europe ซึ่งเป็นเครือข่ายศูนย์วิจัยและนวัตกรรมของอินเทลที่กระจายอยู่ทั่วยุโรป
ในระยะเริ่มต้น ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิจัยแห่งนี้จะดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับประสบการณ์ การใช้งานรูปแบบใหม่ บนอุปกรณ์โมบายล์ชนิดต่างๆซึ่งสามารถนำเอาสมรรถนะการทำงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์โมบายล์มาใช้ประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ การสร้างสรรค์รูปแบบการใช้งานที่มีความคล้ายคลึงกับการมีปฏิสัมพันธ์ในโลกแห่งความเป็นจริง ยังช่วยให้สามารถสร้างประสบการณ์การใช้งานที่เป็นธรรมชาติและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้มากกว่าเดิม เช่นเดียวกับการเล่นเกมและชมภาพยนตร์แบบกราฟิก 3 มิติที่สมจริง ซึ่งจะทำให้ได้อรรถรสมากขึ้น
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยแห่งใหม่นี้ได้รับการปรับแนวทางเป็นอย่างดีเพื่อให้รองรับแพลตฟอร์มระบบปฏิบัติการแบบเปิด ที่มีชื่อว่า มีโก (MeeGo) ซึ่งอินเทลและโนเกียร่วมกันเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้ โดยระบบปฏิบัติการมีโกจะมีความยืดหยุ่นสูงสุดในการทำงาน เพื่อรองรับการประสบการณ์การรับชมแบบ 3 มิติผ่านทางอุปกรณ์โมบายล์ต่างๆ ขณะที่กิจกรรมการวิจัยส่วนใหญ่ของศูนย์วิจัยแห่งนี้จะเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดเช่นกัน
จัสติน แรทเนอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และผู้อำนวยการบริหารของอินเทล กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นว่าจากการผสานรวมเอาความชำนาญทางด้านเทคนิคที่เราสั่งสมมา จะทำให้ทั้งอินเทลและโนเกียประสบความสำเร็จร่วมกันได้มากกว่าการดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ การเสริมรากฐานความเชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยแห่งอูลู ยังเป็นโอกาสที่ดีและน่าตื่นเต้น ที่จะได้ประสานความร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่ล้ำสมัยเพิ่มมากขึ้น”
การวิจัยอีกด้านหนึ่งที่ถือว่ามีศักยภาพอาจเป็นการคิดค้นเทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถแสดงภาพโฮโลแกรมของคู่สนทนาทางโทรศัพท์แบบ 3 มิติได้ ซึ่งปัจจุบันนั่นเป็นสมรรถนะที่อยู่ใน ภาพยนตร์แนวไซไฟเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะทำให้ผู้บริโภครู้สึกมีส่วนร่วมและทึ่งกับประสบการณ์การใช้งานแบบโมบายล์ได้อย่างเต็มอรรถรสมากกว่าเดิม
“ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยร่วมแห่งใหม่นี้เป็นการต่อยอดความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งระหว่างอินเทล และโนเกีย โดยมุ่งเน้นโครงการวิจัยโครงการแรกที่ว่าด้วยเทคโนโลยีกราฟิกแบบ 3 มิติ ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการใช้งานของอุปกรณ์โมบายล์ต่อไป เนื่องจากความสามารถในการนำเสนอประสบการณ์การใช้งานเสมือนจริงได้ เราได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ในการพัฒนารูปแบบการใช้งานแบบโมบายล์แบบไม่ซ้ำใครอย่างแท้จริง” ริช กรีน รองประธานอาวุโส และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของโนเกีย กล่าว
“ห้องปฏิบัติการวิจัยนี้ ตั้งอยู่ภายในศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต (Center for Internet Excellence) ของมหาวิทยาลัยแห่งอูลู โดยจะทำหน้าที่ประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกับทางห้องปฏิบัติการอูลู เออร์เบิร์น ลีฟวิ่ง (Oulu Urban Living Labs) ซึงนับว่าเป็นสภาพแวดล้อมการดำเนินการที่มีความโดดเด่น สำหรับการทำวิจัยอุปกรณ์เซ็นเซอร์ (Sensor Research) การทดสอบและทดลองนวัตกรรรมเชิงเทคโนโลยีและสังคม ทั้งนี้ ศูนย์นวัตกรรมภายใต้ความร่วมมือของอินเทลและโนเกีย ถือกำเนิดขึ้นขึ้นจากความสำเร็จของโมเดลความร่วมมือเชิงอุตสาหกรรม และด้านผลงานวิชาการระดับอุดมศึกษา ที่คล้ายคลึงกับหนึ่งในโครงการ Intel Labs Barcelona ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Universitat Polit?cnica de Catalunya แห่งแคว้นคาเทโลเนีย ประเทศสเปน สถาบัน Intel Visual Computing Institute ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยซาร์ลันด์ (Saarland) ในเยอรมนี หรือ Intel Labs Berkeley ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เมืองเบิร์กเลย์ ในสหรัฐอเมริกา
เกียวกับ Intel Labs Europe
หน่วยงานวิจัยและพัฒนา/นวัตกรรม ของอินเทล ในยุโรป ได้รับการขับเคลื่อนโดยเครือข่าย ศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และ นวัตกรรมของอินเทลที่กระจายอยู่ทั่วยุโรป รวมทั้งหน่วยธุรกิจอันหลากหลายของอินเทล เครือข่ายศูนย์วิจัย พัฒนาแห่งภูมิภาคยุโรป หรือ Intel Labs Europe ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการประสารความร่วมมือด้านกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทั้งเครือข่ายวิจัยที่หลากหลายและครอบคลุมของอินเทล และ ยัง ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ตลอดจนพัฒนาการปรับแนวทางของอินเทลให้เข้ากับ งานวิจัยและพัฒนาของยุโรป ณ วันนี้เครือข่ายศูนย์วิจัย พัฒนาแห่งภูมิภาคยุโรปของอินเทล หรือ Intel Labs Europe ประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการวิจัยจำนวน 22 แห่ง โดยมีผู้เชียวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาปฏิบัติงานจำนวนทั้งสิ้นกว่า 900 คน
เกี่ยวกับอินเทล
อินเทล เป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผล รวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยี ที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถดูได้ที่ www.intel.com/pressroom, www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand
Intel และ Intel logo เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ อินเทล คอร์ปอเรชั่น หรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์
ติดต่อ:
สุภารัตน์ โพธิวิจิตร คุณอรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์
โทรศัพท์: (66 2) 648-6000 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501
eMail: suparat.photivichit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk