กรุงเทพฯ--29 ส.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
ขอเชิญร่วมอบรมและสัมมนาเรื่อง ไขปัญหาการจ่ายค่าจ้าง ค่าตอบแทน และวิธีปรับค่าจ้าง Wages and Salary Payment and Adjustment Solutions
วันอังคารที่ 18 กันยายน 2550 เวลา 9.00-16.00 น.
ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสหลานหลวง ถนนหลานหลวง
ความสำคัญ : ในการบริหารทรัพยากรบุคคล หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของฝ่ายนายจ้างตามสัญญาจ้าง คือ การจ่ายค่าจ้าง ซึ่งในกิจการต่าง ๆ มักจะมีการจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 1 ชื่อ เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่านายหน้า เงินเบี้ยขยัน เงินรางวัล ฯลฯ
เงินต่างๆ ที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้าง หากเงินนั้นเข้าข่ายเป็นเงินค่าจ้างเมื่อไรปัญหาจะติดตามมาและมีผลกระทบทำให้นายจ้างต้องจ่ายเงินตามที่กฎหมายกำหนดเป็นก้อนใหญ่ได้ เพราะกฎหมายจะบังคับให้นำเงินทุกประเภทที่เป็นค่าจ้างมารวมกันก่อนจากนั้นจึงคูณด้วย 1.5 เท่า 2 เท่า หรือ 3 เท่า เพื่อจ่ายเป็นค่าล่วงเวลา
ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือถ้าจะต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้างซึ่งมี 5 อัตราคือไม่น้อยกว่า 1 เท่า, 3 เท่า , 6 เท่า , 8 เท่า และ 10 เท่าของค่าจ้างที่จะต้องนำเงินทุกรายการมารวมกัน มิใช่คูณจากอัตราเงินเดือนตัวเดียว
ปัญหาสำคัญคือ ปัจจุบันนายจ้าง ผู้แทนนายจ้าง ฝ่ายบุคคลของนายจ้างฝ่ายบัญชีและการเงินของ นายจ้างแม้กระทั่งฝ่ายกฎหมายของนายจ้าง มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องใรเรื่องดังกล่าวเพียงไร ถ้ารู้จริงก็ดีไป หากรู้ไม่จริง เวลาถูกฟ้อง ศาลบังคับให้จ่ายค่าชดเชย หรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วง หน้าหรือค่าเสียหายจะกี่เท่าของค่าจ้างก็ตามอาจกลายเป็นว่านายจ้างต้องเอาเงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายมารวมกัน ก่อนคูณจำนวนเท่าของค่าจ้าง สิ่งสำคัญประการต่อมา คือถ้านายจ้างไม่ต้องการให้เงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นค่าจ้าง จะกระทำได้แค่ไหนเพียงไรมีโอกาสเป็นไปได้มากน้อยเพียงไรซึ่งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานและคำพิพากษา
ฏีกาคดีแรงงาน จะได้มาชี้แจงแนะนำให้ในวันสัมมนาต่อไป
อีกประการหนึ่ง กิจการท่านทราบไหมว่า ในภาคเอกชนนั้น มีการปรับค่าจ้างด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย ท่านไม่สนใจมาศึกษาเรียนรู้วิธีการต่างๆ ดังกล่าวเพื่อนำมาใช้ในกิจการของท่านหรือ หากไม่เข้าร่วมรายการสัมมนากิจการของท่านอาจสูญเสียโอกาสที่ดีในการเลือกวิธีการปรับค่าจ้างที่เป็นประโยชน์มากกว่าวิธีการที่กิจการของท่านทำอยู่ในปัจจุบันก็ได้
กำหนดการ
08.30-09.30 ลงทะเบียน
09.00-16.00
1. ความหมายของ ค่าจ้าง/ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ/ ค่าล่วงเวลา/ ค่าทำงานในวันหยุด/ ค่าล่วงเวลาในวัน หยุด/ และค่าชดเชย
2. เงินที่นายจ้างจ่าย จะต้องเป็นค่าจ้าง ถ้าเข้า 4 เกณฑ์ใดที่ศาลฎีกากำหนด
3. องค์ประกอบ 5 ประการ ของเงินประเภทใด ที่ไม่ถือเป็นค่าจ้าง
4. เงินที่นายจ้างจ่าย อย่างน้อย 35 ซึ่ง มีเงินใดบ้างที่ศาลฎีกาถือเป็นค่าจ้าง (จาก ฎีกาประมาณ 40 คดี)(ซึ่งอาจเป็นเงิน
ที่บริษัท ของท่านจ่ายอยู่ในปัจจุบันก็ได้ ที่ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าเป็นค่าจ้าง อาทิ เงินค่า นายหน้า/ เงินค่าคอมมิชชั่น/ เงินค่าครองชีพ/ เงินส่วนแบ่งการขาย/ เงินค่าพาหนะ/ เงินค่าน้ำมันรถ/ เงินค่ารับรอง/ เงินค่าเบี้ยเลี้ยง/ เงินค่าที่พัก/ เงินรางวัลพิเศษ/ เงินค่าเข้ากะ/ เงินค่าอาหาร/ เงินประจำตำแหน่ง ฯลฯ เป็นต้น)
5. สิทธิของนายจ้าง ในเรื่องค่าจ้างมีเพียงไร
6. หลักเกณฑ์ในการขึ้นเงินเดือน หากแก้ไขในทางที่ไม่เป็นคุณ ไม่มีผลใช้บังคับ (ยกตัวอย่างฎีกา ประกอบ)
7. การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณต่อลูกจ้าง ทำได้อย่างไร และมีผลผูกพันลูกจ้างเพียงไร (จากคำพิพากษาฎีกา
4 เรื่อง 4 กรณี)
8. ลูกจ้างทดลองงานรับค่าจ้างอัตราเริ่มจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ — ผิดกฎหมาย (ตัวบท)
9. ลูกจ้างทำงานมา 2 ปี ตกลงรับค่าจ้างต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ — ไม่ผิดกฎหมาย (มี 2 ฎีกาคดีตัวอย่าง)
10. ลูกจ้างตกลงไม่รับค่าจ้าง เมื่อนายจ้างหยุดงาน — มีผลใช้บังคับ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ) ปรับแก้ด้วยตัวบทใหม่
จ่าย 50%
11. เดิมจ่ายเงินรางวัล จะใช้มติการประชุมยกเลิกมิได้ (ตัวอย่าง 2 ฎีกา)
12. ทำสัญญาถ้าลาออกภายใน 18 เดือน ยอมจ่ายเบี้ยปรับ มีผลใช้บังคับ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
13. ทำไมลูกจ้างขาดงาน งดจ่ายค่าจ้างในวันขาดงานมิได้ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
14. ทำไมทำงานครบปีแล้วนายจ้างไม่ขึ้นค่าจ้างให้จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
15. ทำไมนายจ้างหักภาษีจากเงินบำเหน็จและค่าชดเชยมิได้ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
16. ทำไมนายจ้างไม่จ่ายโบนัส จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
17. ทำไมเปลี่ยนหลักเกณฑ์และงบฯขึ้นเงินเดือน จึงทำได้โดยชอบ (ยกตัวอย่างฎีกาประกอบ)
18. สาระสำคัญของค่าจ้างขั้นต่ำมีอย่างไร
19. คณะกรรมการค่าจ้าง ใช้เกณฑ์ใดกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
20. หลักเกณฑ์การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีอย่างไร
21. สาเหตุ 6 ประกอบ ที่มีการปรับค่าจ้าง มีอะไรบ้าง
22. เมื่อมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ภาคเอกชน มีวิธีการปรับถึง 25 วิธี แต่ละวิธีแตกต่างกันอย่างไร
23. ข้อควรระวัง 6 ประการ ในการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ มีอะไรบ้าง
24. ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุด มีอายุความกี่ปี/ เหตุใดหมดอายุความแล้ว ก็ยังฟ้องร้องได้
25. นายจ้าง ไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา และทำงานในวันหยุด กรณีใดบ้างถ้าฝ่าฝืน นายจ้างมีความผิด (ตัวบท)
26. นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยไม่ต้องถามความสมัครใจ ลูกจ้างฝ่าฝืน ลูกจ้างมีความผิดกรณี
ใดบ้าง(ตัวบท)
27. นายจ้างมีสิทธิสั่งให้ลูกจ้างกิจการใดบ้าง ที่ต้องมาทำงานในวันหยุด โดยไม่ต้องถามความสมัครใจได้โดยชอบ (ตัวบท)
28. สัญญาจ้างเหมา ไม่มีค่าล่วงเวลา (เป็นโมฆะ) — (ตัวอย่าง ฎีกาประกอบ)
29. สัญญาจ้างเหมา โดยรวมค่าล่วงเวลา (มีผลใช้บังคับ) — (ตัวอย่าง ฎีกาประกอบ)
30. ลูกจ้างขับรถประจำตำแหน่ง ฟ้องเรียกค่าล่วงเวลาย้อนหลังได้ (ตัวอย่าง ฎีกาประกอบ)
31. ลูกจ้างตกลงสละค่าล่วงเวลา มีผลใช้บังคับ กรณีใด (ตัวอย่าง ฎีกาประกอบ)
วิทยากร
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
ฯลฯ
ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนต่อหลักสูตร ต่อท่าน
ท่านละ 2,800 บาท + ภาษี 7 % = 2,996 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29
แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
วิธีการสำรองที่นั่ง
- โทรสำรองที่นั่ง ที่ โทร.0-29062211-2
- แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127,029062231 แผนที่สถานที่อบรม ใบสมัครอบรม
- E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
วิธีการชำระเงิน
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส แลชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 0-29062127
การแจ้งยกเลิกการอบรม
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น
กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วัน หากไม่แจ้งตามกำหนด
ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน