“ง่วงหลับใน “ รับกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุฟรี!!!!

ข่าวทั่วไป Wednesday September 1, 2010 12:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--Great minds โครงการรณรงค์ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ ทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี โดย นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ รณรงค์โครงการร่วมกับภาคเอกชนอย่างเป็นทางการ ภายใต้การบริหารและแนวความคิดแผนงานของบริษัท ดิอายส์ดีท์ จำกัด (The Eye D Co.,Ltd.) และในครั้งนี้ อาร์ ตอบคำถามเกี่ยวกับ “ง่วงหลับใน “ รับกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุฟรี!!!! “ซึ่งเป็นกิจกรรมก่อให้เกิดความสุข สนุกสนานเพลิดเพลิน อีกทั้งเสริมสร้างประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองเมื่อมีอาการง่วงหลับใน และได้กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการรณรงค์กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ ได้เน้นแผนเชิงรุการรณรงค์ กิจกรรมRoad Show และกำหนดแผนยุทธศาสตร์ช่องทางการแจกกระเป๋ากันง่วง....ลดอุบัติเหตุจนถึงปลายปี 2553 ตามวัตถุประสงค์ของ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี และคุณสิริกิติยา ทัศนวิสุทธิ์ ผู้บริหารแผนงานโครงการรณรงค์กนะเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ ได้กล่าวถึงความสำคัญของ “ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ” ว่าจาการรณรงค์ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553 ได้จัดกิจกรรม Road Show มาตลอด และจะดำเนินกิจกรรม Road Show จนกระทั่งถึงปลายปี 2553 ประเด็นการมุ่งนำเสนอสื่อที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพจากตัวกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ ซึ่งข้างกระเป๋าจะมีข้อความมีข้อความกระชับ ชัดเจน บอกถึงอันตรายของการง่วงแล้วขับ และมีวิธีป้องกันง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพื่อให้คนขับหยิบใช้ได้ทันทีเมื่อเกิดอาการง่วงหรือต้องการพักผ่อน ข้อความของสื่อกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ สามารถช่วยเตือนสติผู้ขับขี่ได้ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายคนขับรถได้โดยตรง อีกทั้งการรณรงค์โครงการดังกล่าว เน้นยุทธศาสตร์การรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัวร่วมกับทางภาคเอกชน เสริมสร้างขยายฐานเครือข่ายสนับสนุนการผลิตกระเป๋ากันง่วง... ลดอุบัติเหตุ และมีบทบาทร่วมรณรงค์การลดอุบัติเหตุอันเกิดจาก ง่วงหลับใน กับทางภาครัฐบาลอย่างเป็นทางการ จากการรณรงค์ที่ผ่านมาเป็นการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ของภาครัฐบาล รวมถึงการสนับสนุนในช่องทางเดิมที่ดีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพราะ อุบัติเหตุที่เกิดจากการง่วงแล้วหลับในเป็นสาเหตุสำคัญอย่างน้อย 20 % ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทั่วโลก กิจกรรมรณรงค์การแจกกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุฟรี แก่กลุ่มเป้าหมายที่ขับรถโดยตรง เพื่อให้ตรงกับนโยบายแผนงานการรณรงค์ คือ เน้นภาพความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นหลัก จากแผนงานจะเป็นกลไกผลักดันสื่อซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนงานการสื่อสารที่หนักแน่น เพื่อการรณรงค์ให้ประชาชนมีความปลอดภัยจากการ “เมื่อมีอาการง่วงแล้ว ไม่ควรขับ” กลุ่มเป้าหมายและช่องทางการแจกกระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุในปี 2553 มุ่งเน้นกลุ่มคนขับรถนักเรียน, คนขับรถโดยสารสาธารณะ, บขส., รถร่วม บขส, ขสมก, รถประจำทาง, รถทัวร์, รถแท๊กซี่ รถตู้, รถบรรทุกวัตถุอันตราย เช่น รถบรรทุกน้ำมัน,บรรทุกก๊าซ, รถจักรยานยนต์รับจ้าง และพนักงานขับรถไฟ เป็นต้น นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ กล่าวว่าอุบัติเหตุจาก ง่วงหลับในอาจถึงตายได้ทันทีหลับในขณะขับรถเป็นเรื่องใกล้ตัวและเป็นปรากฏการณ์ที่พบบ่อยจากการศึกษาของมูลนิธินอนหลับแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามากถึงหนึ่งในสามของคนอเมริกัน เคยหลับในขณะขับรถทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี ได้สำรวจคนไทยโดยใช้แบบสอบถามคนขับรถหลายประเภททั้งคนขี่จักรยานยนต์ คนขับ รถเก๋ง รถบรรทุกน้ำมัน รถทัวร์ รถโดยสาร บขส. และ ขสมก. พบว่าร้อยละ 28-53 เคยหลับในขณะขับรถหลับในเป็นการหลับสั้นๆ แวบเดียวไม่เกิน 10 วินาที เป็นการหลับตื้นๆ ปลุกตื่นได้ง่ายหรืออาจสะดุ้งตื่นเอง ตายังอาจเปิดอยู่ขณะหลับในหลับในอันตรายมาก เพียงหลับ 4 วินาที ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็ว 90 กม/ชม รถจะวิ่งต่อไปอีก 100 เมตรโดยที่ไม่มีคนควบคุมรถ ลักษณะการชนจะรุนแรงมาก เพราะคนขับไม่ได้หักหลบหรือเหยียบเบรกทำให้บาดเจ็บบาดเจ็บสาหัส หรือเสียชีวิตได้ทันที หลับในเป็นสาเหตุสำคัญอย่างน้อยร้อยละ 20 ของการเสีย ชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรของประเทศที่เจริญแล้ว แต่ในประเทศไทย รายงานอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2550 มีอุบัติเหตุจากการหลับในเพียง 500 กว่าราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของอุบัติเหตุทั้งหมด สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับทุนง่วงอย่าขับฯไว้ในพระอุปถัมภ์ พ.ศ.2548ทรงห่วงใย คนที่ง่วงและฝืนขับแล้วเกิดหลับใน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและผู้อื่น ทรงมีรับสั่งให้ทุนง่วงอย่าขับประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อทุกประเภทให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการหลับ คนที่ง่วงและฝืนขับแล้วเกิดหลับใน ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุต่อตัวเองและผู้อื่น ทรงมีรับสั่งให้ทุนง่วงอย่าขับประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อทุกประเภทให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการหลับ อาการง่วงหลับในเกิดขึ้นได้จาก 4 สาเหตุใหญ่ๆ 1. อดนอน นอนไม่พอ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด 2. ยาที่ทำให้ง่วง เช่นยาแก้หวัด ยาแก้ภูมิแพ้ 3. แอลกอฮอล์ 4. โรคประจำตัวที่นอนเท่าไรก็ยังง่วง เช่นโรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ หลับในไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ไม่ได้เกิดขึ้นทันที จะมีอาการง่วงเป็นสัญญาณเตือนมาก่อนเสมอ ถ้าคนขับเพิกเฉยไม่สนใจทนฝืนขับต่อไป ความง่วงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเกิดการหลับในไม่มีเครื่องมือ อะไรจะตรวจวัดความง่วงได้ดีเท่ากับความรู้สึกของตนเอง คนขับต้องหมั่นถามตัวเองว่าง่วงหรือยังเป็นระยะๆ สาเหตุ—แนวทางแก้ไข “ ความง่วง ” น.พ. มนูญ ลีเชวงวงศ์ ได้อธิบายถึงปัจจัย 4 ประการ ที่เป็นสาเหตุของความง่วงว่า เกิดจากการอดนอนหรือ พักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการกินยาบางประเภทที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอน และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกทั้งการมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น นอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะหลับ ล้วนเป็นสาเหตุหนึ่งของความง่วงเนื่องจากโรคเหล่านี้มีผลต่อการนอน สำหรับแนวทางป้องกันและแก้ไข “ความง่วง” น.พ. มนูญ ได้ให้คำแนะนำว่า “ผู้ขับขี่รถยนต์ในช่วงเทศกาลวันหยุด ยาวและเทศกาลปีใหม่ ควรจอดพักทุกๆ ชั่วโมงครึ่ง และหมั่นสังเกตอาการเตือนของสัญญาณง่วง เช่น หาวนอน ไม่หยุด ตาลืมไม่ค่อยขึ้น และเมื่อความ ง่วงนั้นรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การบังคับรถจะเริ่มทำได้ยาก ผู้ขับรถจะมีอาการจิตใจล่องลอย และจำไม่ได้ว่าขับรถผ่านอะไรมาบ้าง ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าผู้ขับนั้นง่วงนอนมากจนควร .ที่จะจอดรถเพื่อดื่มกาแฟ และงีบสัก 15 นาที ก่อนที่จะขับรถต่อ เพื่อความปลอดภัย” ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับฯ กล่าวทิ้งท้าย Great minds and partnership Corporate Public Affairs Communications &Social Responsibility Program การสื่อสารเชิงรุกการตลาดและภาพลักษณ์กิจกรรมสังคม Public Relations Head Office : For more information, please contact : Tel./ Fax 02-728-1732 (Auto lines) E-mail : great.5614@gmail.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 027281732 Great minds

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ