TMA ผนึกกำลังองค์กรชั้นนำ ระดมสมองเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 2, 2010 10:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ก.ย.--TMA TMA สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และ IOD จัด Thailand Competitiveness Conference 2010 ระดมสมองผู้บริหารระดับสูงขององค์กรชั้นนำทั้งภาครัฐและเอกชน ผลักดันความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย หวังแซงหน้าเพื่อนบ้าน สร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีโลก ดันจุดแข็ง ดับจุดอ่อน พร้อมวางแนวทางพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศอย่างแท้จริง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความสมดุลระหว่างความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ โดยภาคประชาชน เอกชน และรัฐบาล ต้องร่วมมือกันในการสร้างวิธีการเจริญเติบโตรูปแบบใหม่ให้ยั่งยืน โครงสร้างเศรษฐกิจและสถานภาพความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของไทย ในปีนี้อยู่ในอันดับที่ 26 เทียบเท่าปีที่ผ่านมา หากพิจาณาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจและผลการพัฒนาประเทศ ในตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตจากเดิมซึ่งเป็นประเทศกสิกรรมมาสู่ประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สูงกว่าภาคเกษตรกรรมเป็นครั้งแรก มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 เป็นต้นมา และหากเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและผลิตภาพการผลิตโดยรวมของไทย การเติบโตจากจากการเพิ่มปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิต การขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีที่มาจากการเพิ่มปริมาณการใช้ปัจจัยการผลิตเป็นหลัก ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากร และหากประเทศไทยยังมีการพัฒนาตามแนวทางเดิม จะกลายเป็นข้อเสียเปรียบทางด้านความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป ทั้งนี้ ภาคประชาชน เอกชน และรัฐบาล ต้องร่วมมือกันในการสร้างสรรค์ ผลักดัน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน เน้นหนักการปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศด้วยการเชื่อมโยงธุรกิจภาคบริการ อุตสาหกรรม และเกษตรเข้าด้วยกันให้เป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มธุรกิจสุขภาพ อาหาร กับการท่องเที่ยว โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐาน “วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย” ที่เชื่อมโยงกับ “ความคิด” และ “เทคโนโลยีใหม่” และสร้างระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย เข้ากับองค์ความรู้ที่ครอบคลุมทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวขึ้น เป็นการสร้างมูลค่าและคุณค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ความสามารถในการแข่งขันของไทยปี 2546 - 2553 ประเทศไทยมีระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับปานกลาง (Middle Income Tier) ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับทรงตัว ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยแยกตามปัจจัยหลักของ IMD* ประเทศไทย ’50 ’51 ’52 ’53 อันดับโดยรวม 33 27 26 26 1. สมรรถนะเศรษฐกิจโดยรวม 15 12 14 6 2. ประสิทธิภาพของภาครัฐ 27 22 17 18 3. ประสิทธิภาพของภาคเอกชน 34 25 25 20 4. โครงสร้างพื้นฐาน 48 39 42 46 จุดแข็ง ได้แก่ สมรรถนะเศรษฐกิจโดยรวม จำนวนประเทศในการจัดอันดับของ IMD แต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 55-58 ประเทศ ปัจจัยเสี่ยง 1. ผลิตภาพการผลิตในภาคการผลิตและบริการยังอยู่ในระดับต่ำ 2. ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัดและมีแนวโน้มเสื่อมโทรมมากขึ้นเรื่อยๆ 3. ภาวะโลกร้อนส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกระทบต่อผลผลิตภาคการเกษตรและรูปแบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรม 4. ความสามารถในการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการให้ทันต่อการตอบสนองของความต้องการสินค้าและบริการของผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มมากขึ้นในประเทศพัฒนาแล้ว 5. การเปิดเสรีการค้าการลงทุนส่งผลให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น 6. กฎระเบียบและกฎ กติกาใหม่ๆ ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลก ภูมิคุ้มกัน และแนวทางการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1. พัฒนาเสริมสร้างทักษะความชำนาญองค์ความรู้ เทคโนโลยี และภูมิปัญญา รวมทั้งการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในการยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของภาคการผลิตและบริการ 2. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ 3. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 4. ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ รวมทั้งรักษาและใช้ประโยชน์จากความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ความมีเอกลักษณ์โดดเด่นของประเพณีวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นไทย 5. สร้างบรรยากาศการค้าและการลงทุน รวมทั้งปรับปรุงกฎ ระเบียบ และกฎหมายที่เอื้อต่อการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณพัชรี พวงศรี หรือ คุณเบญจมาศ บูรณ์เจริญ โทรศัพท์ 02-718-5601-4 ต่อ 253 หรือ 101 โทรสาร 02718-6144,02-319-5666 E-mail: patcharee@tma.or.th;benjamart@tma.or.th / www.tma.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ