อุตสาหกรรมเหมืองแร่ปรับตัวเข้าสู่การเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และการประกอบกิจการควบคู่ไปกับการเอาใจใส่ดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม

ข่าวทั่วไป Friday September 3, 2010 08:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--กระทรวงอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอจัดการสัมมนาเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและมอบเกียรติบัตร โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ให้มีมาตรฐานสากลเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม ในวันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2553 เวลา 08:30 — 12:00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายปณิธาน จินดาภู รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและสรุปผลการดำเนินงานของสถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ 11 แห่ง ที่ปฎิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ พ.ศ. 2553 (CSR-DPIM 2553) ได้แก่ 1.) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด 2.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (เหมืองแม่เมาะ) 3.) บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 4.) บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) 5.) บริษัท เคมีแมน จำกัด 6.)บริษัท บ้านปูมินเนอรัล จำกัด 7.) บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) 8.) บริษัท เหล็กสยาม (2001) จำกัด 9.) บริษัท ศิลาเลิศจิต จำกัด 10.) ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงโม่หินชุมแพรุ่งเรือง 11.) บริษัท ศิลาอารี จำกัด จากที่สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ ดำเนินงานด้วยการผสมผสานความรับผิดชอบต่อสังคม ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งผลลัพท์ที่ได้คือ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพราะ CSR มิใช่เพียงการบริจาคเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการกำกับดูแลองค์กรด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในมิติต่างๆ ทั้งด้านการสื่อสารภายใน และการมีส่วนร่วมในการใช้ขีดความสามารถในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความมีส่วนร่วมกันในการพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในองค์กร และการดำเนินงานที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในการทำกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเททุนทรัพย์ แต่สามารถช่วยเหลือสังคมด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะของบริษัท ด้วยทรัพยากร หรือองค์ความรู้ของบริษัท ซึ่งถือเป็นต้นแบบที่ดีในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะส่งผลให้เกิดความสมดุลทั้งผลประกอบการ ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศของเราสืบไป สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม “ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแร่ กับการประยุกต์ใช้มาตรฐาน CSR-DPIM และ นำเสนอผลการจัดทำแผนงานชุมชน และแผนงานสิ่งแวดล้อม” และการเสวนา“การทำ CSR-DPIM ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ มีประโยชน์อย่างไร ” และพิธีมอบเกียรติบัตรแก่สถานประกอบการอุตสาหกรรมแร่ 11 แห่ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 6171727 SR

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ