ผลการบริหารจัดการหนี้สาธารณะภาครัฐ ประจำเดือนกรกฎาคม 2553 และรายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 3, 2010 11:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ก.ย.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ขอสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐประจำเดือนกรกฎาคม 2553 พร้อมทั้งรายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 ดังนี้ 1. การกู้เงินภาครัฐ 1.1เดือนกรกฎาคม 2553 กระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 3,003 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล 3,000 ล้านบาท และพันธบัตร ออมทรัพย์ 3 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เบิกเงินกู้ภายใต้ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 17,000 ล้านบาท ในส่วนของรัฐวิสาหกิจได้มีการกู้เงินในประเทศ วงเงินรวม 6,946 ล้านบาท โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้กู้เงินรวม 2,350 ล้านบาท แบ่งเป็นการกู้เพื่อการลงทุน 1,552 ล้านบาท กู้เงินบาทสมทบ 45 ล้านบาท กู้ทดแทนเงินกู้ต่างประเทศ 3 ล้านบาท และกู้เพื่อดำเนินกิจการทั่วไป 750 ล้านบาท การกู้เงินของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การประปานครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อดำเนินกิจการทั่วไปจำนวน 1,569 ล้านบาท 327 ล้านบาท และ 2,700 ล้านบาท ตามลำดับ 1.2 ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 ภาครัฐได้กู้เงินในประเทศรวม 470,476 ล้านบาท โดยเป็นการกู้เงินของกระทรวงการคลัง 417,575 ล้านบาทและของรัฐวิสาหกิจ 52,900 ล้านบาท 2. การปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ 2.1 เดือนกรกฎาคม 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้โดยการแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล 35,000 ล้านบาท รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ โดยทำการ Refinance และ Roll over วงเงินรวม 4,071 ล้านบาท โดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ได้ทำการ Refinance และ Roll over 1,259 ล้านบาท และ 812 ล้านบาท ตามลำดับ และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้ทำการ Roll over 2,000 ล้านบาท 2.2 ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศ วงเงินรวม 244,670 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 1) การแปลงตั๋วเงินคลังเป็นพันธบัตรรัฐบาล 58,000 ล้านบาท 2) การปรับโครงสร้างตั๋วสัญญาใช้เงินที่ครบกำหนด 25,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญา ใช้เงิน 3) การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) ที่ครบกำหนด 69,440 ล้านบาท โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 55,000 ล้านบาท และตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 14,440 ล้านบาท 4) การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ที่ครบกำหนด 10,000 ล้านบาท โดยการออกตั๋วสัญญา ใช้เงิน และ 5) การปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 โดยการออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 82,230 ล้านบาท สำหรับรัฐวิสาหกิจนั้นได้ทำการปรับโครงสร้างหนี้รวม 125,990 ล้านบาท 3. การชำระหนี้ภาครัฐ 3.1 เดือนกรกฎาคม 2553 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการชำระหนี้โดยใช้เงินงบประมาณ รวม 14,539 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการชำระคืนเงินต้น 136 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม รวม 14,403 ล้านบาท 3.2 ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2553 กระทรวงการคลังได้ชำระคืนต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมโดยเงินงบประมาณรวม 138,187 ล้านบาท รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2553 มีจำนวน 4,202,410 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.19 ของ GDP โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,864,687 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,095,341 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 180,467 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 61,915 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 58,150 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 58,030 ล้านบาท 2,069 ล้านบาท และ 275 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลง 2,225 ล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมานั้น ที่สำคัญเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ 1. หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้นสุทธิ 58,030 ล้านบาท รายการที่สำคัญเกิดจาก - รัฐบาลได้ออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ วงเงิน 17,000 ล้านบาท - รัฐบาลได้เบิกเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จำนวน 35,000 ล้านบาท - รัฐบาลได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ออกภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) ที่ครบกำหนดในเดือนเมษายน 2553 จำนวน 9,000 ล้านบาท 2. หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) เพิ่มขึ้นสุทธิ 2,069 ล้านบาทโดยมีรายละเอียด ดังนี้ - หนี้ในประเทศเพิ่มขึ้น 2,000 ล้านบาท โดยเกิดจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ออกพันธบัตรมากกว่าการ ไถ่ถอนพันธบัตร จำนวน 2,000 ล้านบาท - หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 69 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก (1) ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.68 ล้านเหรียญ (2) รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีการเบิกจ่ายจากแหล่งเงินกู้ต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 0.88 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินลดลงสุทธิ 2,225 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันลดลง 1,982 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - หนี้ต่างประเทศลดลง 1,141 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐลดลงจากเดือนก่อน 21.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก (1) รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลไม่ค้ำประกัน) มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ น้อยกว่าการชำระคืนต้นเงิน 29.99 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.20 ล้านเหรียญสหรัฐ - หนี้ในประเทศลดลง 841 ล้านบาท โดยเกิดจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ไถ่ถอนพันธบัตร 357.96 ล้านบาท และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ ต่ำกว่าชำระคืนต้นเงิน 482.98 ล้านบาท 2. หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันลดลง 243 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ - หนี้ในประเทศลดลง 4,014 ล้านบาท โดยเกิดจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ไถ่ถอนพันธบัตร 2,000 ล้านบาท 1,000 ล้านบาท และ 2,000 ล้านบาท ตามลำดับ และรัฐวิสาหกิจอื่นๆ มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ สูงกว่าชำระคืนต้นเงินกู้ 986.02 ล้านบาท - หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 3,771 ล้านบาท หากพิจารณาในรูปเงินเหรียญสหรัฐ หนี้ต่างประเทศในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 131.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก (1) ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ยอดหนี้คงค้างในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 153.37 ล้านเหรียญสหรัฐ (2) รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งต่างๆ น้อยกว่าชำระคืนต้นเงิน 22.03 ล้านเหรียญสหรัฐ หนี้สาธารณะ จำนวน 4,202,410 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ต่างประเทศ 374,247 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.91 และหนี้ในประเทศ 3,828,163 ล้านบาท หรือร้อยละ 91.09 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,992,125 ล้านบาท หรือร้อยละ 95 และหนี้ระยะสั้น 210,285 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5512

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ