ปภ. รายงานสถานการณ์อุทกภัย ๒๔ จังหวัด คลี่คลาย ๙ จังหวัด

ข่าวทั่วไป Tuesday September 7, 2010 08:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.ย.--ปภ. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถานการณ์อุทกภัย มีพื้นที่ประสบภัย ๒๔ จังหวัด รวม ๘๗ อำเภอ ๓๕๗ ตำบล ๒,๒๑๒ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๑๕๖,๘๔๗ ครัวเรือน ๕๔๘,๕๗๙ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๒๔๘,๓๓๗ ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๙ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยใน ๑๕ จังหวัด ได้แก่สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มุกดาหาร สระบุรี นครนายก ลพบุรี ชัยภูมิ อุดรธานี สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากอิทธิพลของพายุมินดอนเล ทำให้หลายพื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีฝนตกชุกหนาแน่น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร มีพื้นที่ประสบภัย ๒๔ จังหวัด รวม ๘๗ อำเภอ ๓๕๗ ตำบล ๒,๒๑๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๑๕๖,๘๔๗ ครัวเรือน ๕๔๘,๕๗๙ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๒๔๘,๓๓๗ ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ๙ จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ ๑๕ จังหวัด ดังนี้ สุโขทัย แม่น้ำยมเอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่ ๘ อำเภอ ๗๑ ตำบล๕๔๒ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๒๕,๔๑๕ ครัวเรือน ๙๕,๗๙๖ คน ได้แก่ อำเภอเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง กงไกรลาศ คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม และบ้านด่านลานหอย พิษณุโลก น้ำในลำน้ำยมเอ่อล้นบริเวณริมฝั่งในพื้นที่อำเภอบางระกำ และวังทอง ๓ ตำบล เพชรบูรณ์ ในพื้นที่ ๔ อำเภอ ๑๒ ตำบล ๗๙ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี หล่มเก่า หนองไผ่ และวังโป่ง มุกดาหาร ในพื้นที่ ๗ อำเภอ ๓๕ ตำบล ๓๖๗ หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน ๘,๘๒๗ ครัวเรือน ๒๒,๕๐๐ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๗๓,๑๖๔ ไร่ ได้แก่ อำเภอเมืองมุกดาหาร นิคมคำสร้อย ดอนตาล ดงหลวง คำชะอี ว่านใหญ่ และหนองสูง สระบุรี ในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๑๖ ตำบล ๒๓ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองสระบุรี บ้านหมอ วิหารแดง หนองแค และแก่งคอย นครนายก ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๘ ตำบล ราษฎรเดือดร้อน ๕๑ ครัวเรือน ๑๕๓ คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย ๕๐ ไร่ ได้แก่ อำเภอปากพลี และบ้านนา ลพบุรี น้ำท่วมขังในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกสำโรง ๑๓ ตำบล อำเภอเมืองลพบุรี ๕ ตำบล ชัยภูมิ ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๖ ตำบล ๑๐๑ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอหนองบัวระเหว และภักดีชุมพล อุดรธานี ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ๒ ตำบล ได้แก่ อำเภอน้ำโสม และนายูง สกลนคร ในพื้นที่ ๗ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุดรธานี โคกศรีสุพรรณ โพนนาแก้ว อากาศอำนวย บ้านม่วง สว่างแดนดิน และวานรนิวาส ขอนแก่น ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอแวงใหญ่ และชนบท มหาสารคาม ในพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเชียงยืน และโกสุมพิสัย ร้อยเอ็ด ในพื้นที่ ๕ อำเภอ ๒๒ ตำบล ๑๑๔ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ จังหาร เชียงขวัญ โพธิ์ชัย และโพนทอง ราษฎรเดือดร้อน ๙,๖๘๔ คน ๓,๒๒๘ ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร ๒๖,๑๗๓ ไร่ กาฬสินธุ์ ในพื้นที่ ๑๐ อำเภอ ๗๙ ตำบล ๗๐๓ หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กมลาไสย ร่อง นาคู ฆ้องชัย ดอนจาน เ ขาวง ยางตลาด สหัสขันธ์ กุฉินารายณ์ ราษฎรเดือดร้อน ๓๓๕,๗๓๓ คน ๙๑,๘๓๔ ครัวเรือน อุบลราชธานี ในพื้นที่ ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเหล่าเสือโกก โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ และดอนมดแดง ราษฎรเดือดร้อน ๑๑,๖๔๓ คน ๒,๙๘๘ ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร๑,๖๐๙ ไร่ ปัจจุบันสถานการณ์อุทกภัยใน ๑๔ จังหวัด ระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องและคาดว่า หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม จะเข้าสู่ภาวะปกติใน ๑ - ๒ วันนี้ สำหรับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ๗ สกลนคร เขต ๙ พิษณุโลก เขต ๑๐ลำปาง และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดที่ประสบภัยได้ประสานความร่วมมือกับจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย จัดส่งรถผลิตน้ำ ๒ คัน รถบรรทุกน้ำ ๕ คัน สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมทั้งเรือท้องแบน ๑๒ ลำ สำหรับใช้ในการอพยพราษฎร และขนย้ายทรัพย์สินสิ่งของออกจากพื้นที่ประสบภัย พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ ๓๗ นาย เข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยด่วนแล้ว ตลอดจนเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือทางสายด่วนนิรภัย ๑๗๘๔ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อประสานและให้ความช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ