การสัมมนาและประชุมเพื่อปรึกษาหารือ เรื่อง “กลไกเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ”

ข่าวทั่วไป Wednesday September 8, 2010 13:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การสัมมนาและประชุมเพื่อปรึกษาหารือ เรื่อง “กลไกเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคและระดับระหว่างประเทศ” วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2553 เวลา 09.30 — 16.30 น. ณ ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการชั้น 4 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลักการและเหตุผล นอกเหนือจากกลไกสิทธิมนุษยชนในระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกลไกภายใต้สหประชาชาติแล้ว คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน-ไอชาร์ (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights -AICHR) ได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดผู้นำสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียนซัมมิท) ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2552 ณ ชะอำ-หัวหิน ซึ่งเป็นการจัดตั้งตามมาตรา 14 ของกฎบัตรอาเซียน AICHR ถือเป็นกลไกสิทธิมนุษยชนกลไกใหม่ในภูมิภาคโดยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกนี้ในหมู่ประชาชนคนไทยและองค์กรต่างๆ ในสังคมไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการเพิ่มพูนความเข้าใจและสร้างการตระหนักรู้ในสาธารณชนเกี่ยวกับ AICHR รวมถึงบทบาทของ AICHR ที่จะช่วยส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนอาเซียนโดยทั่วไป และกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และกลุ่มคนที่อยู่ชายขอบของสังคม ด้วยตระหนักในเรื่องดังกล่าว ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการฯ จึงจะจัดให้มีการจัดเวทีสัมมนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกลไกสิทธิมนุษยชนระดับระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กับถือเป็นโอกาสจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือ และรับความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมาธิการฯ ไปในคราวเดียวกัน รูปแบบของโครงการ ในการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จะเป็นการดำเนินการในรูปแบบของเวทีสาธารณะ (เรียก “ไอชาร์โรดโชว์”) โดยจะเริ่มที่กรุงเทพมหานครเป็นแห่งแรก และจะต่อด้วยการจัดเวียนไปอีก 4 ภูมิภาคในประเทศไทย คือในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ คาดหมายว่าจะมีผู้เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูลในประเด็นสิทธิมนุษยชน ประมาณ 200 คนต่อครั้ง ซึ่งผู้เข้าร่วมจะมีทั้งองค์กรภาคประชาสังคม ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายเยาวชน นักเรียน/นักศึกษา, ครู/อาจารย์ผู้สอน และรวมถึงสื่อต่างๆ ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก องค์กรร่วมจัดงาน มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ร่วมกับคณะทำงานไทยเพื่อกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (CESD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1) สาธารณชนได้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาและบทบาทของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกลไกสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ 2) สาธารณชนเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน 3) ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการฯ 4) หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสาธารณชนซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแสดงบทบาทและท่าทีไทยด้านสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศในแนวทางที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชน 09.00 - 09.30 ลงทะเบียน 09.30 — 10.00 กล่าวต้อนรับและเปิดงาน โดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการ พัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) และศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (CESD) ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 10.00 - 10.15 พักรับประทานอาหารว่าง 10.15 — 12.30 อภิปราย เรื่อง “กลไกเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในอาเซียน และในระดับระหว่างประเทศ” โดย - ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน - ผู้แทนจากกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ * ดำเนินรายการโดย ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) และศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (CESD) 12.30 - 13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30 - 14.45 ประชุมหารือเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย สิทธิมนุษยชน โดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี 14.45 - 16.00 ประชุมหารือเพื่อนำกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและกลุ่มคนที่อยู่สังคมชายขอบ (กลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง แรงงานข้ามชาติ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับพม่า ฯลฯ ) ให้คำปรึกษาโดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดำเนินรายการโดย ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา นักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา 16.00 — 16.30 สรุปผลการประชุม และปิดการประชุม โดย ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) และศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา (CESD)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ