อธิบดีกรมธนารักษ์ แถลงผลงาน 2 ปี ดีเด่น PMQA ของประเทศ ลดต้นทุนผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน กว่า 1,500 ล้านบาท

ข่าวทั่วไป Thursday September 16, 2010 14:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ก.ย.--กรมธนารักษ์ อธิบดีกรมธนารักษ์ แถลงผลงาน 2 ปี ดีเด่น PMQA ของประเทศ ลดต้นทุนผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน กว่า 1,500 ล้านบาท หารายได้เข้ารัฐเกือบ 8,000 ล้านบาท นายเทวัญ วิชิตะกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ สรุปผลงานในช่วง 2 ปี ที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ โดยในปี 2552 ได้ผลงานดีเด่น PMQA ของประเทศ ลดต้นทุนการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนประมาณ1,550 ล้านบาท หารายได้เข้ารัฐกว่า 8 พันล้านบาท โดยเฉพาะการบริหารที่ราชพัสดุ นอกจากหารายได้แล้วยังช่วยสังคมและสิ่งแวดล้อม เกือบ 2 แสนไร่ นายเทวัญ วิชิตะกุล อธิบดีกรมกธนารักษ์ ได้แถลงผลงานในภาพรวมนับตั้งแต่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ 1 ตุลาคม 2551ถึงปัจจุบัน โดยผลการดำเนินการที่ผ่านมาในแต่ละด้านมีดังนี้ ด้านที่ราชพัสดุ ปีงบประมาณ 2552 หารายได้ จำนวน 3,800 ล้านบาท จากการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุ โครงการใหญ่ๆ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ท่าเรือน้ำลึกภูเก็ตและสงขลา ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดให้เกษตรกรเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงาน หรือโครงการ 1 ล้านไร่ มิติใหม่ที่ราชพัสดุ ดำเนินการได้ 114,376 ไร่ การสนับสนุนที่ดินราชพัสดุตามโครงการพระราชดำริ ประมาณ 20,000 ไร่ เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการปลูกชาน้ำมัน จ.เชียงราย เนื้อที่ 364 ไร่ โครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและการศึกษาวิจัยตามแนวทางพระราชดำริ 14,800 ไร่ เป็นต้น โครงการช่วยเหลือราษฎรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเช่าที่ดินราชพัสดุ ตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ จำนวนเกือบ 10,000 ครอบครัว เนื้อที่ 26,400 ไร่ การจัดสร้างสวนสาธารณะ จำนวน 397 แห่ง ทั่วประเทศโดยร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) การเคหะแห่งชาติ เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองที่อยู่ในที่ราชพัสดุให้มีคุณภาพชีวิตและมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้น จำนวน 16 ชุมชน ใน 13 จังหวัด ส่วนปีงบประมาณ 2553 หารายได้ จำนวน 3,400 ล้านบาท จากการจัดให้เช่าที่ราชพัสดุ โครงการใหญ่ๆ เช่นเดียวกับปี 2552 ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการสนับสนุนที่ราชพัสดุเพื่อปลูกพืชอาหารและพืชทดแทนพลังงาน คาดว่าจะดำเนินการได้ 56,000 ไร่ ตามแผน การสนับสนุนที่ดินราชพัสดุตามโครงการพระราชดำริในจังหวัดกาญจนบุรีตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เนื้อที่ 17,000 ไร่ การจัดให้ราษฎรที่ไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินเช่าที่ดินราชพัสดุ ตามโครงการรัฐเอื้อราษฎร์ จำนวนเกือบ 7,000 ครอบครัว เนื้อที่ 14,000 ไร่ การจัดสร้างสวนสาธารณะ จำนวน 300 แห่ง ทั่วประเทศและร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) การเคหะแห่งชาติ พัฒนาที่อยู่อาศัยในชุมชนเมืองในที่ดินราชพัสดุให้มีคุณภาพชีวิตและมีปัจจัยพื้นฐานที่ดีขึ้น จำนวน 20 ชุมชน ใน 15 จังหวัด ด้านเหรียญกษาปณ์ ปีงบประมาณ 2552-2553 สามารถลดต้นทุนการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ได้ประมาณ 1,550 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2553 ได้ผลิตและจำหน่ายเหรียญที่ระลึก 60 ปี บรมราชาภิเษก ได้คิดเป็นมูลค่าประมาณ 250 ล้านบาท จำหน่ายจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกรางวัลผู้นำโลกด้านทรัพย์สินทางปัญญา (WIPO) มีรายได้ประมาณ 81 ล้านบาท สำหรับการบริหารเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนได้มีการก่อสร้างศูนย์กระจายเหรียญในภูมิภาค จำนวน 6 แห่ง ที่จังหวัดอุบลราชธานี ขอนแก่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ สุราษฎ์ธานี และสงขลา ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2554 นอกจากนี้ ยังได้มีความร่วมมือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และธนาคารออมสินในการบริหารจัดการเหรียญในภูมิภาคด้วย ซึ่งจะทำให้เหรียญถึงมือประชาชนได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน ปีงบประมาณ 2552 และ 2553 ดำเนินการอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน จำนวน 20,051 ชิ้น มีผู้เข้าชมศาลาเครื่องราชอิสริยยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกษาปณ์ ทั้งชาวไทยและต่างประเทศเกือบ 1 ล้าน 2 แสนคน มีรายได้ประมาณ 12 ล้านบาท ด้านประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ ปีงบประมาณ 2552 ประเมินราคาที่ดิน จำนวน 5 ล้านแปลง ประเมินราคาห้องชุด จำนวน 287 อาคาร ปี 2553 ประเมินราคาที่ดิน จำนวน 6 ล้านแปลง ประเมินราคาห้องชุด จำนวน 332 อาคาร นายเทวัญ กล่าวต่ออีกว่า ในปี 2552 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองของกรมธนารักษ์ได้คะแนน 4.8520 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งมีผลคะแนนการปฎิบัติราชการสูงสุดในกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาคุณภาพกรบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) ได้รับผลคะแนนดีเยี่ยมระดับ 4.9729 คะแนน สูงสุดในประเทศจาก 137 ส่วนราชการ ซึ่งในปี 2553 คาดว่าผลการปฏิบัติราชการของทุกตัวชี้วัดของกรมธนารักษ์ก็จะยังคงรักษามาตรฐานไว้เช่นเดียวกับปี 2552

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ