กรุงเทพฯ--2 พ.ค.--นีลเส็น
จากผลการสำรวจของดัชนีการใช้สื่อตลอดปี 2549 จากบริษัทนีลเส็น พบว่าเศรษฐกิจที่ยังคงเฟื่องฟูในบางประเทศส่งผลให้ ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะจับจ่ายสอย ผลการวิจัยชี้ความต้องการเป็นเจ้าของรถยนตร์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ผลการวิจัยพบว่า นิวซีแลนด์ (82%) เป็นประเทศที่มีอัตราของคนที่เป็นเจ้าของรถยนต์เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ มากที่สุดในทวีปเอเชียแปซิฟิค อันดับต่อมาคือเกาหลีใต้ ( 74%) และออสเตรเลีย (70%) ตามลำดับ ส่วนในประเทศไทยพบว่าสามในสิบของชาวไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปมีรถยนตร์ในครอบครอง ซึ่งคิดเป็นจำนวนประชากรถึง 14 ล้านคนในประเทศ อันดับรองลงมาคือสิงคโปร์(21%), ฮ่องกง(16%) และฟิลิปปินส์ (10%) (ตารางที่ 1 และ 2.1)
หากเปรียบเทียบทั่วโลกพบว่า ชาวอเมริกันเกือบเก้าในสิบคน (89%) มีรถยนตร์เป็นของตนเองโดยคิดเป็นจำนวนผู้คนมากถึง 190.3 ล้านคน ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่พบอัตราของคนที่เป็นเจ้าของรถยนตร์และจำนวนรถยนต์มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในโลก นอกจากนี้ยังพบการเพิ่มขึ้นของอัตราดังกล่าวในสหรัฐอเมริกา จำนวน 8 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับห้าปีที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบีย (86%) คือประเทศที่ติดอันดับสองของโลกรองมาจากสหรัฐอเมริกาในอัตราของคนที่เป็นเจ้าของรถยนต์ (ตารางที่ 2)
หากเปรียบเทียบทั้งในเอเซียแปซิฟิคและนอกเอเซียแปซิฟิคพบว่าอัตราการเป็นเจ้าของรถยนต์ในนิวซีแลนด์ถูกจัดเป็นลำดับที่สามรองจากสหรัฐอเมริกาและซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้ยังพบว่าออสเตรเลียและมาเลเซียมีอัตราผู้คนเป็น เจ้าของรถยนต์มากขึ้นเป็นจำนวน 7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับห้าปีที่ผ่านมาในขณะที่ประเทศอื่นๆในทวีปยังคงพบอัตราดังกล่าวอยู่ในระดับเดิม
เมื่อสำรวจจำนวนรถยนต์ในประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ห้าของโลกที่มีจำนวนรถยนต์มากที่สุดนำหน้าซาอุดิอาระเบีย ออสเตรเลียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการเป็นเจ้าของรถยนตร์สูงกว่าประเทศไทยมาก (ตารางที่ 2.1)
โอกาสที่ดีที่สุดน่าจะเป็นประเทศอินเดียและจีนซึ่งถือเป็นสองประเทศที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด ถึงแม้ว่าอัตราการเป็นเจ้าของรถยนต์ในสองประเทศยังมีอัตราที่ค่อนข้างต่ำ แต่อินเดียและจีนยังคงติดลำดับท็อปเท็นของโลกในจำนวนรถยนต์ภายในประเทศ (ตารางที่ 1, 2.1)
นางสาวศิริพร กิตติชัชวาล ผู้อำนวยการ นีลเส็น มีเดีย รีเสริช ( ประเทศไทย ) หนึ่งในธุรกิจของบริษัทนีลเส็น กล่าวว่า “ด้วยจำนวนตัวเลขดังกล่าวนี้ ตลาดของประเทศจีนสำหรับชิ้นส่วนของรถยนต์ และเครื่องประดับยนตร์ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มากอยู่แล้ว กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์สามารถฉกฉวยศักยภาพดังกล่าว และด้วยอัตราการเป็นเจ้าของรถยนต์ในประเทศจีนยังคงติดลำดับที่ต่ำที่สุดในโลก โอกาสที่จะเจาะกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้เพื่อที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์นั้นมีมหาศาล และเนื่องจากขนาดของประเทศจีน การเพิ่มขึ้นเพียงหนึ่งหรือสองเปอร์เซ็นต์ของอัตราการเป็นเจ้าของรถยนตร์ของประชากรก็สามารถเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่ต่ออุตสาหกรรมรถยนต์”
จากข้อมูลทางด้านการใช้สื่อโฆษณาของนีลเส็นพบว่า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ลงทุนทางด้านโฆษณาในประเทศไทยในปี 2549 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,145 ล้านบาท (119 ล้านเหรียญสหรัฐ) ประเทศจีนเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางด้านสื่อโฆษณามากถึง 1,856 ล้านเหรียญสหรัฐเฉพาะในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นจำนวนเกือบครึ่งของการใช้งบประมาณในด้านสื่อโฆษณาของทวีปเอเชียแปซิฟิค เพื่อที่จะเพิ่มส่วนแบ่งที่สำคัญของประเทศและการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดรถยนต์ (ตารางที่ 3).
“ความสามารถในการครอบครองรถยนต์นั้นเห็นได้ชัดในบางประเทศที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ผู้คนในประเทศดังกล่าวจึงค่อนข้างที่จะสนองความต้องการของตนในการซื้อรถยนต์หรือเปลี่ยนรถยนต์รุ่นใหม่” นางสาวศิริพร กล่าวเสริม
กลุ่มบริษัทรถยนต์และบริษัทที่เกี่ยวข้องในทวีปเอเชียแปซิฟิคใช้งบประมาณในด้านสื่อโฆษณาเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น3,945 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าประเทศจีนกินส่วนแบ่งในทวีปถึง 47 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ออสเตรเลีย(17%), อินเดีย (15%)เกาหลีใต้ (6%) และประเทศไทย (3%) ประเทศที่กลุ่มผู้ผลิตรถยนตร์ลงทุนด้านการโฆษณาน้อยที่สุดในทวีปคือ ฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้งบประมาณเพียง 27 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปีที่แล้ว (ตารางที่ 3)
แบรนด์สิบลำดับแรกของรถยนตร์ใช้งบประมาณในด้านสื่อโฆษณามากกว่าหนึ่งในสามจากการใช้งบประมาณทั้งหมดในทวีป โตโยต้า ถือเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งซึ่งใช้งบประมาณมากถึง 292 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาอย่างห่างๆคือ ฮุนได (197ล้านเหรียญสหรัฐ) และนิสสัน(154 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในตลาดของประเทศไทย โตโยต้าถือเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งที่ใช้งบประมาณในด้านสื่อโฆษณามากถึง 1,296 ล้านบาทในปีที่แล้ว จากงบประมาณรวมทั้งสิ้น 4145 ล้านบาท ตามมาด้วย Isuzu (720 ล้านบาท) และ Chevrolet (393 ล้านบาท ) ( ตารางที่ 4)
ดัชนีการบริโภคสื่อ (Media Index) คือ การสำรวจการใช้สื่อต่างๆจากบริษัทนีลเส็น ซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับการบริโภคสื่อชนิดต่างๆของผู้บริโภค อาทิ การอ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร การดูทีวี การฟังรายการวิทยุ การชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ การใช้อินเทอร์เน็ต รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน ทัศนคติ การใช้ยานพาหนะ และการใช้ผลิตภัณฑ์ ภายใน14 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
Global TGI (Target Group Index) คือ ผู้ร่วมธุรกิจกับบริษัทนีลเส็น ซึ่งเป็นเครือข่ายทั่วโลกในการสำรวจการวิจัยทางการตลาด ซึ่งสามารถให้ข้อมูลและความเข้าใจทางการตลาดอย่างลึกซึ้งมากกว่า 50 ประเทศในหกทวีป โดย TGI บริหารโดยKMR Group (Kantar Media Research) www.kmr-group.com
เกี่ยวกับนีลเส็น
บริษัทนีลเส็น จำกัด เป็นบริษัทเกี่ยวกับสื่อและข้อมูลทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยแบรนด์ชั้นนำที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในแวดวงการตลาดเป็นอย่างดีอาทิ “เอซีนีลเส็น” ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางการตลาด , “นีลเส็นมีเดีย รีเสริช” ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลทางสื่อ “BASES” ให้บริการเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ( New product launch ) , สิ่งพิมพ์ทางธุรกิจอาทิ Billboard, The Hollywood Reporter และ Adweek รวมถึง Trade show และส่วนงานหนังสือพิมพ์ ( Scarborough ) โดยเป็นบริษัทเอกชนที่เปิดดำเนินการมากกว่า 100 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 42,000 คน โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Haalem เนเธอร์แลนด์ และ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nielsen.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net