“โทรศัพท์มือถือ ใช้ได้ต้องถูกที่ ถูกเวลา และถูกกาลเทศะ “ เสียงสะท้อน จาก นศ.มทร.ธัญบุรี

ข่าวทั่วไป Tuesday September 21, 2010 11:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ก.ย.--มทร.ธัญบุรี Clip ครูขว้างโทรศัพท์นักศึกษาในห้องเรียน ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในอินเทอร์เน็ต อย่างหนัก สำหรับนักศึกษา มทร.ธัญบุรี เข้ามีความคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ ไปฟังกันเลยจ้า “เขต” นายเขตรัตน์ ม่วงสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม นายกองค์การนักศึกษา บอกว่า การแชทพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย สะดวกสบาย ซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในเรื่องของข้อดี ทำให้การติดต่อสื่อสารรวดเร็วขึ้น สามารถคุยได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ส่วนในเรื่องข้อเสีย ทำให้คนในสังคมห่างเหินกันมากขึ้น จากที่เคยเจอกันพูดคุย กลับไม่มองหน้าไม่คุยกัน “ชินกับการใช้โทรศัพท์สื่อสาร” โดยสังคมนักศึกษาเป็นวัยที่น่ากลัว เพราะว่า ขณะที่นั่งเรียนในห้องเรียน ก็หยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเล่น เพราะว่า สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ไม่สนใจว่า ครูที่สอนหน้าห้องเรียนจะสอนอะไร “ค่านิยมในการใช้โทรศัพท์ของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป มองว่าการใช้โทรศัพท์ในโรงเรียนหรือว่ามหาวิทยาลัยเป็นเรื่องปกติ มีอิสระในการใช้” ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคน “ก่อนเข้าห้องเรียน ปิดเสียงหรือว่าปิดเครื่องไปเลยก็ได้ เวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือยังมีอีกเยอะ ดังนั้นในเวลาเรียนควรจะเรียนให้เต็มที่” “อิง” น.ส.ชุติกัญญา สิงห์รักษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน บอกว่า การใช้โทรศัพท์ทุกวันนี้ อิสระมากขึ้น เพราะว่า สะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร รวดเร็ว ปัจจุบันโทรศัพท์เครื่องเดียว ทำอะไรได้หลายอย่าง บนความสะดวกของมือถือ ก็มีโทษตามมามากมาย วัยรุ่นทุกวันนี้ จะใช้โทรศัพท์จนบางครั้งไม่สนใจ บุคคลรอบข้าง “ในห้องเรียนไม่คุยกัน จะใช้โทรศัพท์คุยกันนอกห้องเรียนมากกว่า” และตอนนี้โทรศัพท์สามารถแชทพูดคุยได้ทุกที่ทุกเวลา ค่านิยมพวกนี้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้การพูดคุยระหว่างกัน หมดไป สังคมไทยจะเป็นสังคมของการแชทผ่านมือถือ ภาษาพูดก็จะไม่มี ปฏิสัมพันธ์ของเด็กไทยก็จะหมดไป “จุ๊บ” น.ส.เชิญพร ลาภเจริญ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ บอกว่า สำหรับตนเองโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เนื่องจากจะต้องใช้ติดต่อกับแม่และพ่อ เพราะว่า ต้องมาพักที่หอพัก ทุกวันแม่จะต้องโทรมา แต่โทรศัพท์มือถือก็ไม่ได้มีแอปฟิเคชั่นมากมาย “ส่วนใหญ่จะไม่มีเวลาในการเล่นมากเท่าไร เพราะว่า การบ้านเยอะ” เพื่อนๆในกลุ่มก็มีโทรศัพท์ที่ทันสมัย เพื่อนชวนให้ซื้อเพื่อใช้ในการติดต่อกัน แต่ตนเองคิดว่าไม่สำคัญเท่าไร เพราะว่า ถ้าอยากเจอก็นัดกินข้าวดีกว่า เห็นหน้ากันด้วย ไม่ต้องติดต่อผ่านพูดคุยผ่านโทรศัพท์ “ความบันเทิงต่างๆที่มีในโทรศัพท์มือถือ ช่วยผ่อนคลายได้ แต่บางครั้งก็ไม่ควรจะยึดติดมากจนเกินไป” “โพค” นายพัทธนันท์ ไชยชวคุปต์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ บอกว่า “บนรถเมล์ รถตู้ ภาพที่ผมเห็นจนชินตา คือ ทุกคนต้องหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมา หัวเราะกับหน้าจอโทรศัพท์ ” ปัจจัยที่ 5 ของคนในสังคมก็คือ โทรศัพท์มือถือ โลกของสื่อไร้สายที่สะดวกสบาย “ผมมองว่าโทรศัพท์มือถือสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย” เพราะว่า นอกจากใช้โทรและฟังเพลง ก็ไม่ได้ใช้โทรศัพท์ทำอะไร ส่วนเพื่อนๆที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้โทรศัพท์มือถือท่องโลกบันเทิง เล่นอินเทอร์เน็ตเพื่อผ่อนคลาย แชทพูดคุยกับเพื่อน ถ้าอยู่ในที่สาธารณะก็ควรจะเปิดสั่น เสียงจะได้ไม่รบกวนคนอื่น “วาเลนไทน์” นายธัญลักษณ์ แสงสว่าง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรนานาชาติ (IBBA) คณะบริหารธุรกิจ บอกว่า เป็น 1 คน ที่ชอบในเรื่องของเทคโนโลยี โดยซื้อตามเพื่อน เพราะว่า เพื่อนใช้กันเยอะ ใช้พูดคุยกับเพื่อน ประหยัดในเรื่องของค่าโทรศัพท์ “นอกจากคุย ยังใช้หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต” นักศึกษามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับโทรศัพท์มือถือจนบางครั้ง ติดเป็นนิสัย “เวลาที่นั่งเรียนก็ต้องนั่งเล่นโทรศัพท์ไปพร้อมกับเรียน โดยไม่สนใจอาจารย์ที่ยืนสอนหน้าห้องเรียน” ความเหมาะสมของเทคโนโลยีสมัยใหม่กับยุคโลกดิจิตอล แต่ความเหมาะสมก็ต้องมากับกาลเทศะ “เทคโนโลยีมีทั้งโทษและประโยชน์ ขึ้นอยู่ว่า เราจะเลือกเอาสิ่งไหนมาใช้” การให้เกียรติผู้อื่น จะทำให้สังคมไทยน่าอยู่ขึ้นนะค่ะ ดังนั้นถ้าอยู่ในห้องเรียนก็ควรปิดโทรศัพท์ ตั้งใจเรียน การปฏิสัมพันธ์พูดคุยโดยเห็นหน้ากัน จะสื่อความหมายได้ดีว่า การพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนะจ๊ะ กองประชาสัมพันธ์ มทร.ธัญบุรี 0-2549-4994

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ