กรุงเทพฯ--24 ก.ย.--Core & Peak
ในโอกาสที่คณะสื่อมวลชนจากประเทศไทยเข้าเยี่ยมชมนวัตกรรมด้านการพัฒนาโครงข่ายการเชื่อมโยงถนน ของสำนักงานการขนส่งทางบก (LTA=Land Transport Authority) ประเทศสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2553 ได้มองเห็นถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่สำนักงาน LTA เลือกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนชาวสิงคโปร์ได้รับประโยชน์สูงสุดในการเดินทาง
ในที่นี้ต้องขอกล่าวถึงความเป็นมาของสำนักงานการขนส่งทางบก LTA ของสิงคโปร์ไว้ด้วย สำนักงาน LTA ของสิงคโปร์เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1995 เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport) โดยรวมสี่หน่วยงานเดิม ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนควบคุมยานพาหนะ การวางแผนการขนส่ง ขยายผิวจราจร สร้างโครงข่ายการเชื่อมโยงของถนน รวมทั้งวางแผนควบคุมระบบการขนส่งมวลชนทั้งระบบราง รถโดยสารประจำทาง รถรับจ้างสาธารณะ และการขนส่งทางบกทั้งหมด โดยดูถึงอุปสงค์ อุปทานด้านต่างๆ ในการนำเทคโนโลยีต่างๆมาประยุกต์ใช้เพื่อให้ระบบขนส่งในสิงคโปร์มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งเห็นได้จากหลายๆ ระบบที่มีการใช้จริงอยู่ในขณะนี้
ระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System:ITS)
ระบบขนส่งอัจฉริยะ (ITS) คือระบบข้อมูลที่กรมการขนส่งทางบก (LTA) ใช้ในการบริหารจัดการการขนส่งทางถนนทำให้การจราจรปลอดภัย ลื่นไหล และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการ ITS จะกลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในระบบเครือข่ายของการขนส่งของประเทศไทยได้แก่
ระบบบริหารจัดการการจราจรบนทางด่วน
ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร
ระบบกล้องวงจรปิดบนทางแยก
ศูนย์ข้อมูลITS คือหัวใจของระบบขนส่งอัจฉริยะ ซึ่งทำงานตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อติดตามการจราจรบนถนนและเก็บรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งตามจุดต่างๆ บนท้องถนน ข้อมูลการจราจรจะถูกส่งผ่านไปยังผู้ใช้รถ โดยผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่
ป้ายสัญญาณที่ติดตั้งบนทางด่วน
คลื่นวิทยุ
สถานีโทรทัศน์
อินเทอร์เน็ต
ระบบบริหารจัดการการจราจรบนทางด่วน (Expressways Monitoring and Advisory System: EMAS)
ระบบบริหารจัดการ การจราจรบนทางด่วน (EMAS) คือเครื่องมือที่ใช้จัดการการจราจรบนทางด่วน ระบบนี้จะใช้กล้องตรวจจับในการตรวจสอบเหตุการณ์และปริมาณความหนาแน่นของการจราจรบนทางด่วนและแจ้งเตือนไปยังศูนย์ควบคุมการจราจร ในกรณีที่เกิดการจราจรขัดข้องทีมช่วยเหลือจะถูกส่งไปยังบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ เพื่อให้ความช่วยเหลือต่อผู้ขับขี่, เคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์, ช่วยลด ความแออัดในการจราจรและเพิ่มความปลอดภัยของการใช้รถบนทางด่วน
ประโยชน์จากการนำระบบบริหารจัดการ การจราจรบนทางด่วนมาใช้ได้แก่
ให้บริการที่รวดเร็วทันเหตุการณ์ต่อผู้ขับขี่ที่ต้องการความช่วยเหลือบนทางด่วน
ลดความแออัดที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ผ่านการแสดงข้อความแจ้งให้กับผู้ใช้รถถึงสภาพการจราจรบนทางด่วนและสถานที่เกิดเหตุเพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทาง
ทำให้การขับขี่บนทางด่วนปลอดภัย
ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร (Green Link Determining System:GLIDE)
ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร ควบคุมสัญญาณไฟจราจรตลอดแนวถนนเส้นหลัก โดยจัดสรรเวลา “สัญญาณไฟเขียว” สำหรับผู้ขับขี่และคนเดินถนนตามปริมาณการจราจร ระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรจะควบคุมการลื่นไหลของการจราจรที่ทางแยกและเป็นความปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่
GLIDE สามารถตรวจจับปริมาณการจราจร โดยใช้เครื่องตรวจจับที่ฝังอยู่ใต้พื้นผิวถนนและส่งสัญญาณจากการกดปุ่มที่ทางเดินเท้าของผู้ใช้ถนน จากนั้นระบบจะปรับเวลา “สัญญาณไฟเขียว” ให้เหมาะสมกับปริมาณการจราจรในแต่ละทิศทาง
GLIDE ยังเชื่อมโยงกับสัญญาณไฟจราจรบนทางแยกที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ช่วยให้เกิดการจราจรที่ลื่นไหลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ขับขี่สามารถเดินทางจากทางแยกต่างๆ โดยมีกรหยุดรถน้อยที่สุด
ประโยชน์ที่ผู้ใช้ถนนจะได้รับจากการนำระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจรมาใช้ได้แก่
ช่วงเวลาไฟเขียวที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณความหนาแน่นของการจราจร
สัญญาณไฟเขียวต่อเนื่องบริเวณทางแยกที่อยู่ติดกัน ช่วยให้การจราจรลื่นไหลสะดวกขึ้น
ช่วยแก้ไขอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์เมื่อสัญญาณไฟจราจรเกิดขัดข้อง
ระบบกล้องวงจรปิดบนทาแยก (Junction electronic Eyes: - Eye)
J — Eyes ประกอบด้วยกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งตามแยกถนนสายหลัก กล้องเหล่านี้ทำหน้าที่เสมือนดวงตาของผู้ควบคุมการจราจรที่ศูนย์ ITS
กล้องวงจรปิดจะถูกติดตั้งบนเสาสัญญาณหรือเสาไฟบนท้องถนนหรือบนอาคารใกล้เคียง ตัวกล้องสามารถเอียงและขยายการจับภาพวีดีโอของสถานการณ์การจราจรตามทางแยกได้อย่างชัดเจน ภาพเหล่านี้จะถูกส่งไปยังศูนย์ควบคุมเพื่อให้ผู้ควบคุมได้ตรวจสอบสถานการณ์และหาหนทางแก้ไขได้อย่างรวดเร็วต่อเหตุการณ์การจราจร
J — Eyes ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่การจราจรตามทางแยกสายหลัก โดย
การเพิ่มขีดความสามารถของผู้ควบคุมในการตรวจสอบเหตุการณ์
ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ควบคุมในการศึกษาผลกระทบของการปรับสัญญาณเวลาจราจรจากระยะไกล
ระบบการคิดเงินค่าธรรมเนียมการใช้ถนนแบบอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Road: ERP)
ERP คืออะไร
ERP คือระบบคิดราคาค่าใช้ถนนแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยคิดบนพื้นฐานของระยะเวลาที่ใช้ถนน ระบบนี้ถูกออกแบบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ขับขี่ โดยผู้ขับขี่ที่ใช้ถนนในชั่วโมงเร่งด่วนจะถูกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากปกติ
กรมการขนส่งทางบกหรือการทางพิเศษจะทบทวนราคาค่าธรรมเนียมเป็นรายไตรมาส และในช่วยระหว่างวันหยุดโรงเรียนอัตรา ค่าธรรมเนียมจะถูกปรับให้เหมาะสม เพื่อลดความแออัดบนท้องถนนให้แหลือน้อยที่สุด
หลังจากที่นำระบบการคิดเงินค่าธรรมเนียมการใช้ถนนแบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะช่วยรักษาอัตราความเร็วรถให้อยู่ระหว่าง 45-65 กม./ชม. สำหรับทางด่วน และ 20-30 กม./ชม. สำหรับถนนเส้นหลัก
ความเป็นมาก
ระบบคิดค่าธรรมเนียมการใช้ถนนหรือที่เรียกกันว่า Area Licensing Scheme(ALS) ถูกนำมาใช้ครั้งแรกปี 975 ในถนนสำคัญที่จำกัดปริมาณรถและได้ขยายครอบคลุมถึงทางด่วนสำคัญต่างๆ ภายใต้ชื่อโครงการ Road Pricing Scheme (RPS) ต่อมาในเดือนกันยายนปี 1998 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ ERP ซึ่งใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการทำงานแบบแมนนวล ในเดือนกันยายนปี 1999 ERP ได้ขยายครอบคลุมถนนสายหลักที่สำคัญทั้งหมด
วิธีการทำงาน
ระบบERPใช้คลื่นวิทยุความถี่สั้นในการหักค่าธรรมเนียมการใช้ถนนจากบัตรเงินสด การป้อนข้อมูลในบัตรนี้จะกำหนดเป้นหน่วยที่เรียกว่า In-vehicle Unit(IU)ก่อนที่จะเดินทางแต่ละครั้ง
เมื่อมียานพาหนะแล่นผ่านเครื่องอ่านสัญญาณ จำนวนเงินในบัตรเงินสดจะถูกหักโดยอัตโนมัติ
จุดมุ่งหมาย
หลักการคิดค่าธรรมเนียมของ ERP ช่วยให้ผู้ขับขี่ได้ตระหนักถึงต้นทุนที่แท้จริงของการใช้ถนนและช่วยปรับปริมาณการใช้ถนนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สุด
มีการปรับค่าธรรมเนียมการใช้ถนนตามสภาพจราจรที่เกิดขึ้น ณ จุดที่มีการคิดค่าธรรมเนียม
ผู้ขับขี่สามารถพิจารณาว่าควรใช้ถนนหรือไม่และพิจารณาเส้นทางตลอดจนระยะเวลาที่ใช้ด้วยตนเอง
ผู้ขับขี่อาจเลือกเส้นทางที่แตกต่าง รูปแบบการเดินทางและเวลาการเดินทางตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ผู้ขับขี่ที่ยินยอมค่าธรรมเนียมในชั่วโมงเร่งด่วน จะได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นโดยใช้เส้นทางที่การจราจรลื่นไหลมากกว่า
สิทธิประโยชน์
ค่าธรรมเนียมที่เป็นธรรม เนื่องจากค่าธรรมเนียมจะปรับตามปริมาณความแออัดบนถนน ผู้ขับขี่ที่ใช้ถนนในชั่วโมงเร่งด่วนย่อมที่จะจ่ายมากขึ้น ผู้ขับขี่ที่ใช้ถนนน้อยกว่าหรือใช้ถนนในช่วงเวลาไม่เร่งด่วนจะจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราที่น้อยลงหรือไม่ต้องจ่ายเลย
สะดวกรวดเร็ว ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องชำระเป็นรายวันหรือรายเดือน
เชื่อถือได้ เนื่องจากการคิดค่าธรรมเนียมเป็นระบบอัตโนมัติ จึงช่วยลดข้อผิดผาดจากการทำงานของพนักงานและลดจำนวนพนักงานเก็บค่าธรรมเนียม
อัตราค่าธรรมเนียมของERP และตำแหน่งของโครงติดตั้งอุปกรณ์
หมายเหตุ:
1. เวลาทำการขอระบบERP ทั้งหมดจะปิดการทำงานเวลา 13.00 น. ในวันก่อนปีใหม่, Hari Raya Puasa, Deepaval และวันคริสต์มาส รวมทั้งในวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ
2. ระยะเวลา 07.30-08.00 น. หมายความว่า อัตรา ERP จะเริ่มใช้ในเวลา 07.30 น. และใช้ไปจนถึงเวลา 08.00 น.
ระบบการคิดค่าธรรมเนียมตามลำดับ (Graduated Electronic Road Pricing)
ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2003 ผู้ขับขี่ได้รับความพึงพอใจจากการประหยัดเงินค่าธรรมเนียมการใช้ถนนตั้งแต่ 25 เซนต์ ถึง 2 ดอลลาร์ เมื่อรถวิ่งผ่านโครงติดตั้งอุปกรณ์
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการขับขี่ยานพาหนะเร็วหรือ้ากว่ากำหนดเพื่อจะหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมอัตราสูงๆ กรมขนส่งทางบกจึงได้นำระบบกาคิดค่าธรรมเนียมตามลำดับขึ้นมาใช้ โดยในช่วง 5 นาทีแรกของช่วงเวลาจะคิดอัตราสูงและในช่วง5นาทีสุดท้ายจะคิดอัตราที่ต่ำ โดยมีเงื่อนไขคอความแตกต่างของอัตราค่าธรรมเนียมของการใช้ช่วงเวลาต้องไม่น้อยกว่า 0.50 ดอลลาร์หรือ 1 ดอลลาร์ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล โดยรวมแล้วค่าธรรมเนียมสามารถช่วยให้ผู้ขับขี่มีค่าใช้จ่ายลดลง
การละเมิดการใช้ระบบERP
ผู้ขับขี่ที่ใส่บัตรเงินสดไม่ถูกต้องหรือมีจำนวนเงินไม่เพียงพอในบัตรที่จะจ่ายค่าERP จะได้รับจดหมายเรียกชำระเงิน โดยจ่ายค่าธรรมเนียมบวกกับค่าบริหารจัดการอีก 10 ดอลลาร์ภายใน 2 สัปดาห์นับจากวันที่ๆ แจ้งในจดหาย ค่าบริหารจัดการดังกล่าวจะปรับลดลงเหลือ 8 ดอลลาร์ หากทำการชำระผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้
เว็บไซต์ One.Motoring ของกรมการขนส่งทางบก (LTA)
AXS Stations
Self- service Automated machines (SAM)ที่ทำการไปรษณีย์
VPost
Automated Teller machine (ATM)
บริการโทรศัพท์และธนาคารทางอินเทอร์เน็ต
สำหรับผู้ใช้บริการที่เป็นลูกค้าของ Sing Tel สามารถใช้บริการ Easi — ERP เพื่อชำระค่าธรรมเนียมทางโทรศัพท์และได้รับส่วนลดค่าบริหารจัดการ 4 ดอลลาร์ต่อรายการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณปาริชาติ สุวรรณ์ (ปุ้ม) ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์โครงการSMART RFID
โทร. 0-2439-4600 ต่อ8204