Summary of ‘Investment Opportunities in Indonesia for Thai Investors’

ข่าวทั่วไป Monday February 26, 2007 17:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.พ.--ธ.กรุงเทพ
เจ้าภาพโดย คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
จัดโดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
1. กล่าวต้อนรับโดยคุณวิบูลย์พรรณ จันทรโชติ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
นโยบายของ BOI สนับสนุนการลงทุนแบบสองทางคือ อินโดนีเซียมาไทย และ ไทยไปอินโดนีเซีย ซึ่งมูลค่าการลงทุนของไทยไปอินโดฯ มีมากกว่าในทางกลับกัน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในเชิงอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง ไก่ การประมง เหมืองแร่ และปิโตรเคมี เนื่องจากประเทศอินโดฯมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย และหลากหลาย เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ดีบุก ป่าไม้ สัตว์น้ำ ปาล์ม เครื่องเทศ กาแฟ ยางพารา แต่ขาดกระบวนการแปรรูปเพิ่มมูลค่า จึงมักมีการส่งออกแบบสินค้าปฐมภูมิ ดังนั้นจึงจัดให้มีการสัมมนาขึ้นเพื่อเปิดช่องทางให้นักลงทุนไทย เพื่อให้ทราบข้อมูลการลงทุน สภาพเศรษฐกิจ และโอกาสเพื่อการตัดสินใจ และนักลงทุนจะได้พบตัวแทนภาครัฐ และกลุ่มธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในอินโดฯ
2. ปาฐกถาพิเศษ โดย นายอิบราฮิม ยูซุฟ เอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย
ประเทศอินโดฯ ได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 1997 (2540) ทำให้ความยากจนเพิ่มมากขึ้น อัตราคนว่างงานพุ่งสูงขึ้นรวมทั้งหนี้ต่างประเทศ ดังนั้นหน้าที่ของรัฐในตอนนี้คือการฟื้นฟูประเทศจากวิกฤติ และเร่งสร้างเศรษฐกิจขึ้นใหม่ ซึ่งเราจะทำควบคู่ไปกับการปฏิรูปและสร้างความเป็นประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์และนโยบายต่างก็มุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญกาความยากจน อัตราว่างงานและหนี้ต่างประเทศ โดยการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของเศรษฐกิจมหภาค
รัฐบาลได้ใช้นโยบาย ‘triple track strategy’ (ยุทธศาสตร์ 3 ช่องทาง) เพื่อไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนผ่านการส่งออกและการลงทุน สร้างงาน และพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทและเกษตรกรรม ซึ่งก็คือ ‘pro-job’ ‘pro-growth’ ‘pro-poor’ : สร้างงาน การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ และลดความยากจน
เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถสร้างความเติบโตพร้อมๆกับความเท่าเทียม ซึ่งชุมชนท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของความเติบโตนี้ เราจึงเน้นลดความยากจนและสร้างงาน
เราเริ่มโดยจัดสรรงบประมาณมากกว่า 6 พันล้านต่อปี ในด้านการศึกษา สาธารสุข และโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาชนบท และสร้างงาน ซึ่งเรียกแผนงานชุดนี้ว่า ‘post-crisis new deal’ มาตรการใหม่หลังวิกฤติ
ผลทำให้ GDP ของเราอยู่ที่ 5.5 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านมา และคาดว่าในปีนี้จะอยู่ที่ 6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และรายจ่ายภาครัฐ
ปี 2006 รายได้ต่อหัวของประชากรอยู่ที่ 1,500 เหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤติ ค่าเงินรูเปียก็มีเสถียรภาพที่ 9,200 รูเปียต่อ 1 เหรียญสหรัฐ ในปีที่แล้วการค้าของเรายังเติบโตที่ ร้อยละ 17 เงินสำรองระหว่างประเทศ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา รวมทั้งตลาดหุ้นก็อยู่ในระดับ 1 ใน 3 ของเอเชีย ซึ่งมั่นใจว่าสถานการณ์จะดีขึ้นต่อไปตามลำดับ
ด้านความสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งในปี 2003 จดทะเบียนที่ 4.02 พันล้าน เหรียญ ปี 2004 ที่ 5.53 พันล้านเหรียญ ปี 2005 ที่ 7.13 พันล้านเหรียญ และ ม.ค.-พ.ย. ที่ 6.12 พันล้านเหรียญ
จากแนวโน้มดังกล่าวสามารถตั้งเป้าไว้ที่ 1 หมื่นล้านเหรียญในปี 2010
ด้านการลงทุน ในปีที่ผ่านมาจนถึง ต.ค. การลงทุนของไทยในอินโดฯ อยู่ที่ 123.9 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงที่สุดหลังวิกฤติ ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถมีศักยภาพเติบโตได้อีก
บลาๆๆๆ เรื่องประมง
รัฐบาลได้วางรากฐานทางเศรษฐกิจมหภาคเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการปฏิรูปเชิงโครงสร้างซึ่งจะนำไปสู่ความเติบโตทางศก. ต่อไป รัฐบาลเชื่อว่าการลงทุนจากไทยจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเนื่องจากแหล่งเงินทุนภายในประเทศไม่เพียงพอ การลงทุนจากต่างชาติ (FDI) จึงจำเป็นอย่างยิ่ง
3. ปาฐกถาพิเศษ โดย นายมูฮัมหมัด ลุตฟี ประธานBKPM (Indonesia’s Investment Coordination Board)
รัฐบาลใช้มาตรการทางภาษีเพื่อช่วยกระตุ้นการเข้ามาลงทุน 15 ภาค ตามชีทหน้า 2
ปัญหาปัจจุบันของอินโดฯ คืออัตราการว่างงานซึ่งอยู่ที่ ร้อยละ 10.6 รวมทั้งคนยากจนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนขั้นต่ำ (Poverty line) มีจำนวน 37 ล้านคน โดยตั้งเป้าอัตราว่างงาน ปี 2009 ที่ ร้อยละ 5.5 และจำนวนคนยากจนที่ต่ำกว่าเส้นความยากจนขั้นต่ำ ที่ 17 ล้านคน ส่วนอัตราการเติบโตทางศก. ปี 2004-2006 เฉลี่ยที่ร้อยละ 6.6 และต้องการเงินลงทุนทั้งสิ้น 426 พันล้านเหรียญ โดยได้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานไปแล้ว 24 พันล้านเหรียญ ปัจจุบันมีชาวอินโดฯที่เป็นชนชั้นกลางที่ 18 ล้านคน
เหตุใดจึงควรลงทุนในอินโดฯ
- รัฐบาลอินโด ฯ เร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ
- ข้อได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบจาก ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ
- ศักยภาพทางตลาดและการบริโภค
ลำดับการลงทุนจากต่างชาติในอินโดฯ
- น้ำมันปาล์มดิบ
- โกโก้
- ยาง
- เหล็ก
- ปิโตรเคมี
- รถยนต์ เป็นต้น
สินเชื่อต่อจีดีพี : มาเลเซีย สิงคโปร์ และฮ่องกง อินโดฯ อยู่ที่ ร้อยละ22 ของจีดีพี จำนวนผู้ลงทุนในตลาดหุ้นอินโด อยุ่ที่ 600,000 คน
แนวโน้มการลงทุนจากต่างชาติ ในปี 2006 ผ่านการอนุมัติจำนวน 1710 โครงการ มูลค่า 15.62 พันล้านเหรียญ และปฏิบัติจริง 867 โครงการ มูลค่า 5.97 พันล้านเหรียญ ซึ่งมีแนวโน้มที่สูง (แผนที่ได้รับการอนุมัติ) ขึ้นตั้งแต่ปี 2005
การลงทุนจากต่างชาติอันดับที่ 1 คือ ญี่ปุ่น จำนวน 1750 โครงการ มูลค่า 39.42 พันล้านเหรียญ
2 สหราชอาณาจักร 1016 โครงการ มูลค่า 35.19 พันล้านเหรียญ และ สิงคโปร์ 2315 โครงการ มูลค่า 28.43 พันล้านเหรียญ ส่วนไทยอยู่อันดับที่ 17 จำนวน 91 โครงการ มูลค่า 2.06 พันล้านเหรียญ จัดอันดับความนิยมในการลงทุนตามจำนวนโครงการ อันดับ 1-3 ได้แก่ การค้า, อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่โลหะและแร่ธาตุ และอุตสาหกรรมอาหาร หากจัดตามมูลค่า อันดับ 1-3 คือ อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่โลหะและแร่ธาตุ ประมง และอาหาร
การลงทุนของไทยในอินโดฯ โครงการที่ได้อนุมัติตั้งแต่ 2000-2006 มีโครงการใหม่เพิ่มขึ้น 5 มูลค่า 258.5 ล้านเหรียญ ขยายโครงการ 6 โครงการมูลค่า 12.3 ล้านเหรียญ และเปลี่ยนแปลงสถานะ 2 โครงการ มูลค่า 5.6 ล้านเหรียญ(รวมสถาบันการเงิน และ อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ)
4. นายสมยศ รุจิรวัฒน์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ — บมจ.บ้านปู ในประเทศอินโดนีเซีย
ผลิตถ่านหินได้อันดับที่ 4 ของ อินโดฯ
ปี 2006 มีจำนวนพนักงาน 4146 คนเป็นชาวอินโดฯ ร้อยละ 72 ไทย 10 จีน 18
ปัจจัยในการตัดสินใจลงทุน
1. กฎหมายการลงทุน
2. กม.แรงงาน
3. ภาษี
ความเสี่ยง
จากประเทศ - ความเสี่ยงทางการเมือง
จากอัตราแลกเปลี่ยน — เครื่องมือ เฮดจ์ฟันด์, ความสมดุลของรายรับ รายจ่าย, และรายจ่ายกับหนี้
จากการปฏิบัติงาน — ความแตกต่างหลากหลาย
การก่อการร้าย — การบริหารวิกฤติ
5. นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
เหตุผลในการลงทุนที่อินโดฯ
ตลาดขนาดใหญ่เอื้อต่อการเติบโต อินโดฯ มีจีดีพี 351 พันล้านเหรียญ จีดีพีเติบโต 5.2 จำนวนประชากร 222 ล้านคน มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติ 1896 พันล้านเหรียญ ราคาน้ำมันดีเซล 56 เซนต์ต่อลิตรซึ่งถูกกว่าไทย ที่ 68 เซนต์/ลิตร ค่าแรงขั้นต่ำ (แรงงานไร้ทักษะ)ที่ 89 เหรียญ/เดือน ของไทยที่ 145 เหรียญ/เดือน
แผนการลงทุนของรัฐในโครงสร้างพื้นฐาน รวม 16740 ล้านเหรียญ
บรรยากาศการลงทุนที่เอื้อมากขึ้น
- มาตรการกระตุ้นทางภาษีเพื่อการลงทุน (เช่น การอำนวยความสะดวกทางภาษีรายได้สำหรับบางภาคธุรกิจ)
- การทบทวนอัตราภาษีรายได้ (ลดจากร้อยละ 30 เหลือ ร้อยละ 28 และ ร้อยละ 25 ในปี 2010)
- สนับสนุนความโปร่งใสและการเปิดเผยในการบริหารงาน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ