MOVIE GUIDE: “Detective DEE : ตี๋เหรินเจี๋ย ดาบทะลุคนไฟ”

ข่าวบันเทิง Wednesday September 8, 2010 09:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ก.ย.--สหมงคลฟิล์ม ชื่อภาษาไทย - ประเภท Action / Mystery Tagline - กำหนดฉาย 30 กันยายน 2553 ความยาว - เว็บไซด์ภาพยนตร์ - บริษัทจัดจำหน่าย มงคลซีเนม่า กำกับ/อำนวยการสร้าง ฉีเคอะ (หวงเฟยหง, เดชคัมภีร์เทวดา, โปเยโปโลเย) เขียนบท เฉินกั๋วฟู (The Massage, Mei Lanfang) นำแสดง หลิวเต๋อหัว (ไตรภาค 2 คน 2 คม, 3 อหังการ์ เจ้าสุริยา) หลิวเจียหลิง (2 คน 2 คม, 2046, Ashes of Time) หลี่ปิงปิง (The Forbidden Kingdom) เหลียงเจียฮุย (5 พยัคฆ์พิทักษ์ซุนยัดเซน, The Myth) เนื้อเรื่อง ปีค.ศ. 690 นอกราชวังหลวงในเมืองลั่วหยาง เจดีย์ขนาดใหญ่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และในวันที่สร้างเสร็จก็จะเป็นวันที่จักรพรรดินีองค์แรกของจีน บูเช็กเทียน (หลิวเจียหลิง) จะขึ้นครองบัลลังก์อย่างเป็นทางการ และกลายเป็นผู้ที่มีอำนาจมากที่สุดของประเทศ โดยสถูปในเจดีย์นั้น เป็นพระพุทธเจ้าที่มีหน้าตาคล้ายกับองค์จักรพรรดินี แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นหลายครั้ง ซึ่งเป็นการท้าทายการครองราชย์ขององค์จักรพรรดินี โดยภายในช่วงระยะเวลา 8 ปี มีผู้ชาย 7 คนเกิดปรากฎการณ์ไฟลุกทั่วตัวต่อหน้าสาธารณะชน ร่างกายของพวกเขาถูกเผาไหม้จากข้างในสู่ข้างนอก และสิ่งที่เหลือมีเพียงแต่เถ้ากระดูกสีดำ สิ่งที่ทำให้ บูเช็กเทียน เป็นกังวลนั้นก็คือผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมด ต่างก็เป็นคนที่เธอจะเลื่อนตำแหน่งหลังได้ครองอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ ยิ่งมากไปกว่านั้น คดีล่าสุดก็เกิดขึ้นกับหัวหน้าคุมงานก่อสร้างสถูป แน่นอนที่เหตุครั้งนี้เป็นการท้าทายอำนาจของ บูเช็กเทียน เพื่อที่จะไขคดีลึกลับนี้ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ เธอจึงตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากนักสืบ ตี๋เหริ่นเจี๋ย (หลิวเต๋อหัว) ซึ่งถูกเธอเนรเทศออกไปจากเมืองหลวงเมื่อ 8 ปีที่แล้ว หลังจากที่เขาวิพากษ์วิจารณ์การครองอำนาจของเธอ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ถูกปล่อยตัวและกลับมายังเมืองลั่วหยางเพื่อเข้าเฝ้า บูเช็กเทียน เธอแต่งตั้งให้เขาเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาของมืองหลวง ตำแหน่งที่เขาปฏิเสธเมื่อ 8 ปีก่อน เธอเชื่อว่า ตี๋เหริ่นเจี๋ย เป็นผู้มีความรู้และไหวหริบ มีความสามารถทางการต่อสู้ และจะช่วยล้มแผนการโค่นบัลลังก์ของกลุ่มคนปริศนา เป่ยตงไหล ผู้รักษาความยุติธรรมที่อารมณ์รุนแรงและใจร้อน ได้รับมอบหมายให้ทำงานร่วมกับ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ซึ่งเขาก็ตั้งข้อสงสัยว่า เป่ย อาจเป็นสายให้กับจักรพรรดินี ทั้งคู่ต้องทำงานร่วมกันแบบไม่เต็มใจ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ยังออกไปขอความช่วยเหลือจาก ชาทา (เหลียงเจียฮุย) ซึ่งเคยออกแบบสถูป แต่ตอนนี้เป็นบวชเป็นพระสงฆ์ ซึ่งเขาก็เป็นผู้เห็นเหตุการณ์คนไฟลุกครั้งล่าสุดพอดี ความทรงจำจากอดีตตามกลับมาหา ตี๋เหริ่นเจี๋ย อีกเมื่อ จิงเอ๋อ (หลี่ปิงปิง) นางสนมของจักรพรรดินีที่ถูกส่งมาเพื่อปรนนิบัติ ตี๋เหริ่นเจี๋ย จำได้ว่าเธอคือลูกสาวของเพื่อนเก่าที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์น่าสลด ทำให้ จิงเอ๋อ กลายเป็นเด็กกำพร้า จนถูกส่งเข้าวังและได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี เธอได้ทำตามประสงค์ก่อนตายของพ่อด้วยการมอบกระบองที่มีค่าให้กับ ตี๋เหริ่นเจี๋ย การสืบสวนของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย พาเขาเข้าไปในตลาดมืด ซึ่งทำให้ค้นพบกับหลักฐานถึงวิธีการเผาไหม้จากภายในร่างกายเหยื่อ ซึ่งทั้งหมดก็โยงไปที่ พ่อมดวังหลวง ที่ปรึกษาคนสำคัญขององค์จักรพรรดินี แต่นั้นก็หมายถึงการที่เขาต้องท้าทายกับอำนาจของประมุขของประเทศอีกครั้ง อย่างไรก็ตามครั้งนี้ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ก็มั่นใจว่า ไม่ว่ามันจะแลกด้วยชีวิตของตัวเองหรือไม่ เขาก็จะต้องขุดค้นเอาความจริงออกมาให้ได้ ตัวละครใน Detective Dee ตี๋เหริ่นเจี๋ย นักสืบตี๋เหริ่นเจี๋ย เป็นที่รู้จักของชาวจีนเป็นอย่างดี โดยชื่อเสียงของเขายังถูกชาวตะวันมาเขียนเป็นนวนิยายชุดอีกด้วย ชีวิตจริงของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย เกิดในปี ค.ศ. 630 เป็นบุตรของข้าราชการ เสียชีวิตในปี ค.ศ. 700 โดยมีหลักฐานในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาในฐานะข้าราชการระดับสูง ที่ถูกจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง (ฉบับเก่า) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 945 และหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง (ฉบับใหม่) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1060 อย่างไรก็ตามก็ไม่มีใครรู้มากนักถึงจุดเริ่มต้นในอาชีพของเขา นักสืบตี๋เหริ่นเจี๋ย ได้รับความนิยมจากคนในยุคปัจจุบัน เมื่อนักการทูต โรเบิร์ต แวน กูลิค (1910-1967) ประจำอยู่ในประเทศจีนและญี่ปุ่น แวน กูลิค มีความหลงไหลในนวนิยายอาชญากรรม และหวังว่าจะเขียนมันขึ้นมาบ้าง โดยเขาได้แปลนวนิยายในศตวรรษที่ 18 อย่าง "Celebrated Cases of Judge Dee" และรู้สึกหลงไหลในโลกของราชวงศ์ถัง แวน กูลิค เขียนนวนิยายที่มี ตี๋เหริ่นเจี๋ย เป็นตัวละครนำจำนวน 25 เล่ม โดยถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นภาษาจีนและญี่ปุ่น ก่อนที่จะถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในเวลาต่อมา หนังสือของ แวน กูลิค ได้ครอบคลุมชีวิตของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 663 จนถึงปี ค.ศ. 681 ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขาเป็นผู้พิพากษาในมณฑลชานตุง ย้ายไปยังสี่มณฑล ก่อนที่จะกลายเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาประจำวังหลวง โดยตามระยะเวลาแล้ว เหตุการณ์ในภาพยนตร์ Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาประมาณ 8-9 ปีหลังจากนวนิยายชุดของ แวน กูลิค จบ โดย ตี๋เหริ่นเจี๋ย กลับไปรับตำแหน่งในพระราชวัง หลังจากที่เขาถูกจองจำ หลังจากวิพากษ์วิจารณ์การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดินี บูเช็กเทียน จักรพรรดินีบูเช็กเทียน เกิดในค.ศ. 625 บูเช็กเทียน เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลวงตั้งแต่อายุได้ 13 เธอเป็นนางสนมเอกของทั้งจักรพรรดิ ถังไท่จง และจักรพรรดิ ถังเกาจง ด้วยความกระหายอำนาจ เธอสถาปนาตัวเองขึ้นเป็นจักรพรรดินีคนแรกของจีน ตั้งแต่ปี 665 จนถึง 690 หลังจากที่เธอแย่งชิงอำนาจมาจากจักรพรรดิ ถังเกาจง และบุตรชาย โดยนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า เธอสังหารลูกในไส้ไปสองคน และเนรเทศอีกคนไปจากเมืองหลวง เพื่อรักษาอำนาจบนบัลลังก์ของตัวเอง เรื่องราวใน Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame เกิดขึ้นก่อนที่ บูเช็กเทียน จะขึ้นครองราชย์ในปีค.ศ 690 ที่เธอพยายามก่อตั้งราชวงศ์โจวขึ้นมา โดยแปดปีก่อนหน้านี้ เธอมีคำสั่งให้กักขังตัว ตี๋เหริ่นเจี๋ย เอาไว้ในเมืองอันห่างไกลที่ชื่อ เฟินซูหยวน ในข้อหาที่เขาตั้งคำถามกับการขึ้นครองราชย์ของเธอ อย่างไรก็ตาม บูเช็กเทียน รู้สึกว่าเขาอาจเป็นคนเดียวที่สามารถเปิดโปงแผนลอบสังหาร ที่จะยุติเส้นทางการขึ้นครองราชย์ของเธอ จนในที่สุดก็ตัดสินใจนำตัวเขากลับมายังพระราชวังหลวง ซั่งกวน จิงเอ๋อ ตัวละครของ จิงเอ๋อ อ้างอิงมาจากคนในประวัติศาสตร์อย่าง ซั่งกวน ว่านเอ๋อ นักกวีและนักการเมืองหญิงที่รับใช้จักรพรรดินี บูเช็กเทียน อย่างไรก็ตามใน Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame จิงเอ๋อ ยังมีความสามารถในเรื่องวิทยายุทธ โดยแปดปีก่อนหน้านี้ ตอนที่เธออายุได้ 12 ปี พ่อของเธอที่เป็นตำรวจถูกสังหารในหน้าที่ เธอถูกรับเลี้ยงดูโดย บูเช็กเทียน และเติบโตขึ้นมาเป็นองค์รักษ์มือขวาสุดอันตราย จิงเอ๋อ ได้ถูก บูเช็กเทียน ส่งมาให้หาตัวของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ว่าเขายังมีชีวิตอยู่หรือไม่หลังจากการถูกทรมาณกว่า 8 ปี และให้นำตัวเขากลับมายังเมืองหลวง เพื่อไขคดีฆาตกรรมที่ไม่สามารถอธิบายได้ อย่างไรก็ตาม จิงเอ๋อ ก็ยังมีความลับที่ดำมืด ที่เชื่อมเธอเข้ากับตัวของพ่อมดหลวง ที่ขึ้นมามีอำนาจหลังจากที่ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ถูกเนรเทศออกไป และเธอยังมีความสับสนในหัวใจกับ นักสืบตี๋เหริ่นเจี๋ย ที่ขัดแย้งกับหน้าที่ที่เธอได้รับมาจากองค์จักรพรรดินี เป่ยตงไหล เป่ยตงไหล เป็นทหารส่วนพระองค์ที่ได้รับมอบหมายให้ช่วย ตี๋เหริ่นเจี๋ย ในการสืบสวน เขาเป็นเจ้าแห่งศิลปะการต่อสู้ มีความสามารถในการใช้อาวุธทุกชนิดที่อยู่ในมือ เขายังเป็นคนที่ทะเยอทะยาน ใจร้อน และชอบใช้ความรุนแรง ซึ่งเป็นบุคลิกที่ตรงกันข้ามกับ ตี๋เหริ่นเจี๋ย อย่างสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันเขาก็ยังมีความดีที่ซ่อนอยู่ เป่ย มีลักษณะภายนอกที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร เขาเป็นคนเผือก ซึ่งเกิดจากการขาดเม็ดสีบนผิวหนัง ร่างกายของเขาไม่สามารถทนทานแสงอาทิตย์ได้ โดยเราจะได้เห็นเขาในผิวที่ขาวซีดและผมสีขาวโผลน ซึ่งซ่อนอายุที่แท้จริงของเขาเอาไว้ เขายังแต่งชุดสีดำตลอดเวลา ซึ่งเน้นให้เห็นถึงความขาวของเขามากขึ้น โดยเพื่อที่จะทำให้เป็นแบบนี้ เติ้งเชา นักแสดงที่รับบทเป็น เป่ยตงไหล ต้องใช้เวลาเมคอัพ 2-3 ชั่วโมงทุกวันก่อนการถ่ายทำ ซาทา ซาทา เป็นคนที่มีสองบุคลิก เขาเป็นนักวิชาการโดยธรรมชาติ ที่มีความใส่ใจในรายละเอียดจนมองไม่เห็นภาพรวม เขาเป็นเพื่อนกับ ตี๋เหริยเจี๋ย ตั้งแต่ก่อนที่ถูกเนรเทศออกไปเมื่อ 8 ปีก่อน โดยเขาเองก็ถูกลงโทษด้วยการถูกตัดมือซ้าย โดยหลังจากนั้นเขาก็กลายเป็นพระสงฆ์ และกลายเป็นสถาปนิกสำหรับการสร้างสถูปยักษ์ ที่ถูกทำขึ้นตามคำสั่งของจักรพรรดินี บูเช็กเทียน เบื้องหลังการสร้าง Detective Dee สำหรับผู้กำกับ ฉีเคอะ ราชวงศ์ถังสามารถถ่ายทอดความโรแมนติก และเป็นยุคที่แตกต่างจากยุคสมัยอื่นๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม การค้า ดนตรี บทกลอน และวรรณกรรมที่อยู่จุดสูงสุดด้วยกันทั้งนั้น ฉีเคอะ ร่วมงานกับ เจมส์ ชู ผู้ออกแบบงานสร้าง โดยพวกเขาไปเยี่ยมชมวัดในเมืองซีอาน ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของราชวงค์ถัง และศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ และรวมถึงการออกแบบหม้อไหจานชามจากยุคนั้น ชู ได้พบว่าโทนสีแดง ถือว่าเป็นสิ่งนำสมัยในยุคนั้น และเขาก็ใช้องค์ประกอบเหล่านี้ในการออกแบบงานสร้าง ยกตัวอย่างเช่นตอนที่จักรพรรดินี บูเช็กเทียน ประกาศราชโองการ ศาลาของเธอก็ถูกออกแบบด้วยสีดำและขาว เป็นลายทางที่ ประดับด้วยลวดลายนกฟินิกซ์ แม้กระทั่งองค์รักษ์ที่อยู่กายก็ยังถือหอกสีแดงที่เข้ากับโทนสีของห้องอีกด้วย เมื่อ ฉีเคอะ และ ชู เรียนรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของราชวงศ์ถัง ยุคสมัยที่ไม่เพียงคิดค้นนาฬิกาที่ส่งเสียงทุกชั่วโมง แต่ยังรวมถึงตุ๊กตากลไก ระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้แรงน้ำ และคบเพลิงที่ควบคุมได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งทั้งหมดได้ถูกใช้มาเสริมสร้างความน่าตื่นตาในภาพยนตร์ เมืองลั่วหยาง เรื่องราวเกิดขึ้นในเมืองลั่วหยาง เมืองหลวงที่ใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นเมืองที่จักรพรรดินี บูเช็กเทียน โปรดปรานที่สุด โดยงานแรกของทีมงานออกแบบงานสร้าง นั้นก็คือการวาดผังเมืองโบราณ และการสร้างสถานที่สำคัญของหนังตามที่บทภาพยนตร์เขียนเอาไว้ โดยในแต่ละฉากก็ได้มีบรรยากาศและแนวทาง ทางทีมงานก็ตั้งเป้าหมายที่ถ่ายทอดธรรมชาติและวิถีชีวิตของคนในยุคราชวงศ์ถังให้ได้อย่างเที่ยงตรงที่สุด เขตหู ถือเป็นศูนย์กลางของคนเมืองลั่วหยาง ถูกออกแบบใก้อยู่เลียบชายแม่น้ำจากมุมมองของพระราชวัง และสถูปขนาดยักษ์ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ทีมงานสร้างได้ออกแบบร้านรวงมากมาย เช่นร้านหมวก ร้านตีเหล็ก และร้านขายเครื่องเทศ โดยมีคนประกอบอาชีพต่างๆมากมาย เช่น พระสงฆ์ พ่อค้าผลไม้ วนิพก ขอทาน และแม่หมอดูลายมือ ทั่วท้องถนน รวมถึงสัตว์นานาชนิด เช่น อูฐ ช้าง ม้า แม้กระทั่งเสือ สถูปยักษ์ การสร้างสถูปพระพุทธรูปปางอิสตรีขนาดมหึมาในเจดีย์ ถือเป็นงานที่ท้าทายที่สุดของทีมงาน โดยไม่เพียงแต่สถูปจะเป็นสถานที่สำคัญของเรื่องราว แต่ยังถูกใช้เป็นอาวุธชิ้นสำคัญในแผนการลอบสังหารของจักพรรดินี บูเช็กเทียน โดยใบหน้าของพระพุทธเจ้านั้นได้แกะตามรูปหน้าของ หลิวเจียหลิง ผู้รับบทเป็น บูเช็กเทียน ในเรื่อง ในบทภาพยนตร์สถูปถูกอธิบายว่ามีความสูง 120 เมตร ซึ่งสูงมากพอที่จะทะลุผ่านสวรรค์ 32 ชั้นจนเอื้อมไปถึงนิพพาน โดยถูกสร้างด้วยเหล็กกล้านับร้อยตัน ทั้งหมดถูกตรึงเอาไว้เอาไว้ด้วยสายเคเบิ้ลที่เอาไว้ป้องกันจากแผ่นดินไหวและพายุ และใจกลางที่หนักก็เป็นจุดศูนย์ถ่วงของรูปปั้น แรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมในยุคสมัยของราชวงศ์ถังผสมผสานกับพระพุทธรูปสไตล์ญี่ปุ่น ทีมงานออกแบบได้สร้างสถูปที่มีอยู่จริงในเมืองนาระ ซึ่งเป็นเมืองโบราณในประเทศญี่ปุ่น ทีมงานได้สร้างโมเดลขึ้นมาหลายขนาด ที่เอาไว้ใช้ถ่ายทำภายนอก โดยส่วนบน กลาง และล่าง ภายในของสถูป ก็ถูกสร้างแยกกันเป็นสามส่วนในสตูดิโอถ่ายทำ ฉากที่ซับซ้อนภายในสถูปถูกถ่ายทำในช่วงเริ่มต้นของหนัง คดีคนไฟลุกเกิดขึ้นภายในสถานที่ก่อสร้าง โดยมันยังเป็นสถานที่สำหรับฉากต่อสู้ไคลแม็กซ์ ระหว่าง ตี๋เหริ่นเจี๋ย กับหัวหน้าผู้วางแผนลอบสังหาร โดยสถูปจะต้องพังตั้งแต่ส่วนคอลงมาทีละชั้น และเส้นเหล็กที่ใช้เป็นโครงสร้างก็จะร่วงหล่นลงมาดั่งธนูที่ยิงลงมาจากท้องฟ้า ตลาดผี สถานที่ถ่ายทำที่น่าประทับใจที่สุดแห่งหนึ่งก็คือตลาดผี โลกใต้ดินที่ถูกลืมและถูกฝังมากหลายศตวรรษตั้งแต่แผ่นดินไหวรุนแรงในยุคราชวงศ์ฮั่น ที่นี่เต็มไปด้วยผู้คนนอกสังคม คนบ้า และอาชญากร ที่แลกแปลี่ยนซื้อขายวัตถุต้องห้ามและมนต์ดำ โดย นักสืบตี๋เหริ่นเจี๋ย ที่ได้ยินข่าวลือการมีอยู่จริงของโลกแห่งนี้ ก็ได้ค้นพบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ที่อยู่เบื้องหลังของปรากฎการณ์คนไฟลุก ที่จะได้จับบรรยากาศที่ลึกลับวังเวงของตลาดผี ทีมงานสร้างก็ได้เช่าถ้ำจำลอง ที่ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและตอนนี้ปิดเพราะเป็นช่วงหน้าหนาว โดยในถ้ำนี้ต้องเดินทางด้วยเรือแจว ที่ไหลไปตามเส้นทางในคลอง ทีมงานสร้างความลึกลับและสับสนด้วยแสงไฟหลากหลายสี โดยเฉพาะเมื่อสะท้อนจากผิวน้ำ เสริมสร้างด้วยวิชวลเอฟเฟ็คบนเพดานถ้ำ และบรรยากาศที่เต็มไปด้วยหมอกควัน ไม่มีทางเข้าหรือทางออกที่ชัดเจน ไม่มีเส้นทางการเดินทางที่แน่นอน อันตรายสามารถเกิดขึ้นกับ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ได้ตลอดเวลา ศาลาต้องห้าม สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งก็คือศาลาต้องห้าม ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่พักอาศัยของพ่อมดวังหลวง ผู้ต้องสงสัยคนเดียวที่ ตี๋เหริ่นเจี๋ย แตะต้องไม่ได้ โดยเขาค้นพบระหว่างการตามล่ามือสังหารในตลาดผี ว่าศาลาแห่งนี้เป็นสถานที่ที่พ่อมดหลวงใช้ประกอบพิธีกรรม รูปปั้นหัวของสัตว์สิบสองชนิด ซึ่งเป็นตัวแทนของ 12 นักษัตร ยืนเป็นเทพอารักขารอบๆศาลาต้องห้าม โดยพวกมันมีส่วนคล้ายกับเกมหมากรุกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมเล่นกันในยุคราชวงศ์ถัง แต่เป็นตัวแทนของการต่อสู้ด้วยไหวพริบที่เกิดขึ้นระหว่าง ตี๋เหริ่นเจี๋ย และพ่อมดหลวง ภายในสถานที่แห่งนี้ ก็จะมีสัญลักษณ์ห้าธาตุที่เน้นให้เรารู้สึกถึงพลังเหนือธรรมชาติ โดยมีการ์ดรักษาความปลอดภัยเดินตรวจภายในที่มืดสนิท ใช้เพียงแค่เซ้นส์ของการได้ยินในการเดินตรวจ โดยแสดงสว่างเพียงหนึ่งเดียวก็มาจากบ่อขนาดไม่ใหญ่มาก ที่จะมีแสงสีเขียวส่องสว่างออกมาตลอดเวลา การออกแบบฉากต่อสู้ บุคลิกของแต่ละตัวละคร ถูกสะท้อนออกมาด้วยอาวุธที่พวกเขาใช้ โดยมีอาวุธหลายชนิดที่ถูกใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ หลายชนิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่นและชาวอาราบิก ที่บ่งบอกถึงธรรมชาติของเมือลั่วหยางที่ผสมผสานหลายชนชาติ และก็ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นเจ้าวิทยายุทธของผู้ที่ใช้อาวุธ อาวุธของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย คือ คทา ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงไหวพริบของเขา มันถูกใช้เหมือนกับตัวจูนสายเปียโน การสั่นไหวของมันแสดงให้เห็นถึงจุดที่เปราะบางที่สุดในอาวุธของฝ่ายตรงข้าม ซึ่งเขาสามารถทำให้หอกที่แข็งแกร่งที่สุดหักได้ เป่ยตงไหล ใช้อาวุธหลายชนิด รวมถึงขวานสองคมที่แสดงให้เห็นถึงสไตล์การต่อสู้ที่ดุดัน จิงเอ๋อ ใช้แส้ที่สามารถโจมตีกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่พ่อมดหลวงก็ได้ใช้ดาบที่มีความยาว ที่สามารถโจมตีคู่ต่อสู้ได้จากระยะไกล ในขณะที่เหล่าองค์รักษ์ตาบอดของเขาก็ใช้ตะขอรูปวงพระจันทร์เป็นอาวุธสังหาร เพราะความสร้างสรรค์ของหนัง ทำให้อาวุธมาในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น สถูปยักษ์ที่ถูกสร้างเพื่อเป็นเครื่องมือลอบสังหารจักรพรรดินิ บูเช็กเทียน และยาที่ทำให้ร่างกายเผาไหม้จากภายในเมื่อถูกแสงอาทิตย์ ตี๋เหริ่นเจี๋ย และ เป่ยตงไหล ยังถูกโจมตีโดยตุ๊กตากลไก 4 ตัวระหว่างที่พวกเขาสืบสวนในตลาดผี หงจินเป่า คือผู้ออกแบบคิวบู๊ให้กับ Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame โดยความท้าทายของเขาก็คือการต่อสู้ในตลาดผี เพราะด้วยว่าพื้นที่อันขรุขระและฉากการต่อสู้บนน้ำ ทำให้ทีมงานต้องอยู่ในน้ำเย็บเฉียบ และบางช็อตต้องใช้เวลาถึง 16 ชั่วโมงในการเตรียมตัวและถ่ายทำ ก่อนเริ่มการถ่ายทำ หงจินเป่า ได้ศึกษาในเรื่องราวและแนวทางการถ่ายทำ ก่อนที่เขาจะออกแบบฉากต่อสู้ให้กับตัวละคร โดยเขาได้อ้างอิงถึงบุคลิกของตัวละครและอาวุธที่พวกเขาใช้ อย่างเช่นตัวของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย ก็สะท้อนให้เห็นถึงสไตล์การต่อสู้ที่มีการควบคุม ซึ่งตรงกันข้ามกับ เป่ยตงไหล ที่มีสไตล์การต่อสู้ที่บ้าคลั่ง การออกแบบเครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกายในภาพยนตร์ได้รับแรงบันดาลใจ จากหลักฐานต่างๆที่ค้นพบในยุคราชวงศ์ถัง ทั้งถ้วยไหจามชาม รวมถึง จดหมายเหตุและบันทึกต่างๆที่ถูกเก็บรักษาไว้ในถ้ำที่ตุนหวง อย่างไรก็ตาม เพราะข้อจำกัดในความรู้ในเรื่องการแต่งกายของคนในยุราชวงศ์ถัง บรูซ ยู ผู้ดูแลเครื่องแต่งกายและ เจมส์ ชู ผู้ออกแบบงานสร้าง จึงค่อนข้างมีอิสระในการสร้างสรรค์ เพราะความแตกต่างกันในเรื่องความหมายของความงาม คนในยุคของราชวงศ์ถังจะถูกมองว่าอุดมสมบูรณ์เกินกว่าปกติ การแต่งกายของผู้หญิงในยุคถังจะเต็มไปด้วยเสื้อผ้าที่เน้นส่วนเว้าโค้งของร่างกาย และเพราะความหลากหลายในเรื่องวัฒนธรรมของเมืองลั่วหยาง ชาวต่างชาติจึงมีบทบาทในเครื่องแต่งกายเช่นกัน โดยเฉพาะความต้องการในการแต่งตัวให้เหมือนผู้ชายของ จิงเอ๋อ เสื้อผ้าและทรงผมของสมาชิกในราชวงศ์ อ้างอิงโดยตรงจากจดหมายเหตุของราชวงศ์ถัง ที่มีจุดประสงค์ในการตีแผ่ผู้คนในระดับชั้นสูงสุด ลวดลายที่เป็นเส้นพาดถือเป็นสิ่งที่นำสมัยในขณะนั้นจักพรรดินี บูเช็กเทียน ก็แต่งตัวด้วยอาภรณ์ที่มีความยาวและหนัก โดยเธอต้องใส่ชุดมากกว่าห้าชั้นเพื่อบ่งบอกถึงสถานะทางอำนาจ องค์ประกอบที่ร่วมสมัยขึ้นมาหน่อย ถูกเติมแต่งให้กับตัวละครหลักเพื่อทำให้แตกต่างจากตัวละครอื่น และช่วยถ่ายทอดบุคลิกภาพที่แตกต่างจากประชาชนทั่วไป นักสืบตี๋เหริ่นเจี๋ย มักแต่งตัวทะมัดทะแมงและพร้อมที่จะต่อสู้ตลอดเวลา เป่ยตงไหล จิงเอ๋อ และ ซาทา ก็แต่งตัวในโทนสีที่เป็นกลาง ในขณณที่จักรพรรดินี บูเช็กเทียน แต่งตัวในลักษณะที่ยิ่งใหญ่อลังการ ไม่เว้นแม้แต่ตอนที่ปลอมตัวเป็นคนธรรมดาตอนกลางคืน ประวัตินักแสดง หลิวเต๋อหัว (รับบทเป็น ตี๋เหริ่นเจี๋ย) เขาคือนักแสดงในตำนานของเกาะฮ่องกง แสดงหนังมามากกว่า 100 เรื่องนับตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาอย่าง Boat People ของผู้กำกับ แอน ฮุย เขารับบทนำในหนังคลาสสิคมากมายอย่าง Days of Being Wild ของผู้กำกับ หว่องการ์ไว, House of Flying Daggers ของผู้กำกับ จางอี้โหมว, ไตรภาค Infernal Affairs ของ แอนดรูว เลา รวมถึง The Warlords ของผู้กำกับ ปีเตอร์ ชาน โดย หลิวเต๋อหัว เป็นนักแสดงที่มีการแสดงอารมณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบทในหนังโรแมนติก-คอมเมดี้ หนังแอ็คชั่นมหากาพย์ จนไปถึงหนังดราม่าคล้ำน้ำตา ฉีเคอะ ต้องการที่จะร่วมงานกับ หลิวเต๋อหัว ในภาพยนตร์มานานแล้ว โดยทั้งสองเคยร่วมงานกันมาในมิวสิควีดีโอและหนังสั้น ฉีเคอะ เชื่อว่าภาพลักษณ์ของ หลิวเต๋อหัว และภาพลักษณ์ของเขาจะเหมาะกับวิสัยทัศน์และตัวตนของ ตี๋เหริ่นเจี๋ย อย่างแน่นอน โดย ฉีเคอะ ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ หลิวเต๋อหัว ในการตีความบุรุษซึ่งเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้ชมรุ่นใหม่ได้รู้จัก หลืวเต๋อหัว ยังเริ่มที่จะมีบทบาทสำคัญในเบื้องหลัง โดยมอบโอกาสให้กับผู้กำกับรุ่นใหม่แสดงความสามารถ โดยในปี 1997 เขาก็ได้อำนวยการสร้างหนังดังเรื่อง Made in Hong Kong ให้กับผู้กำกับ ฟรุ๊ต ชาน เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง Focus First Cuts ที่ช่วยเลือกผู้กำกับหน้าใหม่ โดยมีผลงานที่ถูกสร้างอย่าง The Shoe Fairy ของ โรบิน ลี, Rain Dogs ของ โฮหยู่หาง และ Crazy Stone ของ หนิงเฮา หลิวเจียหลิง (รับบทเป็น จักรพรรดินีบูเช็กเทียน) หลิวเจียหลิง เกิดในซูโจว ประเทศจีน ปี 1965 เธออพยพไปเกาะฮ่องกงตั้งแต่อายุ 14 และเริ่มเป็นนักแสดงละครโทรทัศน์ให้กับทาง TVB เธอเริ่มมีผลงานภาพยนตร์ครั้งแรกในเรื่อง Naughty Boys ก่อนที่จะมาโด่งดังในหนังตลกสลับร่าง He's a Woman, She's a Man ของผู้กำกับ ปีเตอร์ ชาน คู่กับ เลสลี่ จาง และเรื่อง The Eagle Shooting Heroes ที่แสดงคู่กับ โจวซิงฉือ อย่างไรก็ตาม หลิวเจียหลิง เป็นที่รู้จักกับการแสดงในหนังดราม่าที่ทำได้อย่างยอดเยี่ยม ตั้งแต่บทบาทแจ้งเกิดของเธอเรื่อง I am Sorry โดยเธอยังทำงานร่วมกับผู้กำกับชื่อดังมากมาย เช่น สแตนลี่ย์ กวาน, แอน ฮุย และ โหวเชี่ยวเฉียน ผลงานการแสดงของเธอมีมากกว่า 2 ทศวรรษ รวมถึงบทนักเต้นสุดเซ็กซี่ใน Days of Being Wild และหัวหน้าแก๊งท์มาเฟียใน Infernal Affairs II หลี่ปิงปิง (รับบทเป็น จิงเอ๋อ) หลี่ปิงปิง เกิดในปี 1976 ที่เมืองฮาร์บินในเขตเฮยหลงเจียง เธอสำเร็จการศึกษาจาก Shanghai Theater Academy ในปี 1993 และแจ้งเกิดอย่างเต็มที่จากเรื่อง Seventeen Years ของผู้กำกับ จางหยวน ที่เข้าฉายในสายประกวดของเทศกาลหนังเมืองเวนิส โดยเธอรับบทเป็นผู้คุมที่ต้องพานักโทษไปพักร้อน จากนั้นเธอก็ได้รับบทเป็นโอเปอร์เรเตอร์ในหนังสงครามเรื่อง Purple Butterfly ที่เข้าฉายในเทศกาลหนังเมืองคานส์ หลี่ปิงปิง ยังมีผลงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหนังตลก, โรแมนติก, แอ็คชั่น เธอทำงานร่วมกับผู้กำกับชื่อดังมากมาย เช่น จอห์นนี่ โท, เฟิงเสี่ยวกัง, เท็ดดี้ เฉิน และ ดาเนียล ลี และยังมีบทบาทสำคัญในหนังฮอลลิวู้ดเรื่อง The Forbidden Kingdom ที่เธอแสดงร่วมกับ เฉินหลง และ เจ็ท ลี ฉีเคอะ ก็มองหาโอกาสร่วมงานกับ หลี่ปิงปิง มานาน โดยเขาคิดถึงเธอตั้งแต่แรก ในบทบาทมือขวาของจักรพรรดินี บูเช็กเทียน โดย ฉีเคอะ เชื่อว่า หลี่ปิงปิง คือนักแสดงหญิง ที่มีความยืดหยุ่นทางการแสดงมากที่สุดคนหนึ่งในวงการหนังจีน และเธอก็ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วกับบทบาทในหนังแอ็คชั่นมากมาย เหลียงเจียฮุย (รับบทเป็น ซาทา) เหลียงเจียฮุย เกิดบนเกาะฮ่องกง ปี 1958 เป็นลูกของคนฉายหนัง หลังจากที่ก้าวเข้ามาในวงการในฐานะนักแสดงของ TVB เขาก็ได้แสดงหนังกับผู้กำกับในตำนานอย่าง หลี่ฮั่นเซียง เรื่อง The Burning of the Imperial Palace และ Reign Behind the Curtain ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลนักแสดงชายยอดเยี่ยมจาก Hong Kong Film Awards เหลียงเจียฮุย เป็นที่รู้จักจากบทบาทอันทรงพลัง แต่เขาก็ยังมีด้านที่เป็นอารมณ์ขันอีกด้วย เขาได้รับรางวัลนักแสดงนำยอดเยี่ยมจาก Hong Kong Film Awards ในบทบาทเรื่อง 92 The Legendary Rose Noire และยังไปแสดงหนังยุโรปของผู้กำกับ ฌอง ฌาค อองโนลด์ ที่เขาต้องแสดงคู่กับ เจน มาร์ช นอกจากนี้ เพลียงเจียฮุย ยังปรากฏตัวหนังในมากกว่า 100 เรื่อง ประกอบคู่กับนักแสดงสาวชั้นนำของฮ่องกงมากมาย เช่น หลิวเจียหลิง, จางหมั่นอวี้, กวนจือหลิน, เหมยเยี่ยนฟาง, หลินชิงเสีย, หวังเฟย, กงลี่, เจิ่งซิ่วเหวิน และ ฟ้านปิงปิง เติ้งเชา (รับบทเป็น เป่ยตงไหล) ผลงาน >>> Assembly, The Equation of Love and Death, The Founding of a Republic ประวัติทีมสร้าง ฉีเคอะ (ผู้กำกับ/ผู้อำนวยการสร้าง) ฉีเคอะ เกิดที่ประเทศเวียดนามในปี 1950 โดยพ่อแม่เป็นชาวจีนอพยพ เขามีความสนใจในเรื่องภาพยนตร์ตั้งแต่เด็ก และย้ายไปฮ่องกงต้งแต่อายุ 13 ก่อนที่เขาจะเดินทางไปเรียนทำหนังที่รัฐเท็กซัสและเมืองนิวยอร์ค โดย ฉีเคอะ กลับมาที่ฮ่องกงในปี 1977 เพื่อทำงานกับ TVB ฉีเคอะ กำกับภาพยตร์เรื่องแรกชื่อ The Butterfly Murders ก่อนที่จะสร้างชื่ออย่างแท้จริงในปี 1983 กับภาพยนตร์เรื่อง ศึกเทพยุทธเขาซูซัน (Zu: Warriors from the Magic Mountain) หลังจากนั้นเขาก็ได้ก่อตั้งสตูดิโอหนัง Film Workshop ซึ่งได้สร้างหนังคลาสสิคมากมาย เช่น โหด เลว ดี (A Better Tomorrow), โปเยโปโลเย (A Chinese Ghost Story), หวงเฟยหง (Once Upon a Time in China) และทำให้ชื่อของ โจวเหวินฟะ, เลสลี่ จาง และ เจ็ท ลี กลายเป็นซุปเปอร์สตาร์จนถึงปัจจุบัน ใน Detective Dee and the Mystery of the Phantom Flame ฉีเคอะ ได้นำเอาบุคคลที่สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติจีน มาผสมผสานกับเรื่องราวที่แต่งขึ้นมาใหม่เป็นครั้งแรก ก่อให้เกิดเรื่องราวที่อยู่บนเส้นแบ่งระหว่างโลกวิทยาศาสตร์และเวทย์มนต์ บนพื้นหลังของหนังแอ็คชั่นกำลังภายในที่ตื่นเต้นเร้าใจ หงจินเป่า (ผู้ออกแบบคิวบู๊) ครอบครัวของ หงจินเป่า อยู่ในวงการภาพยนตร์ ทำให้เขาอยากเป็นนักแสดงตั้งแต่เด็ก ตอนอายุ 8 ขวบ เขาก็ไปเรียนที่สอนศิลปะการต่อสู้ในกรุงปักกิ่ง ก่อนที่ในช่วงทศวรรษ 1970 เขาก็เป็นสตั๊นต์แมนที่มีชื่อของฮ่องกงจนได้เซ็นสัญญากับบริษัทโกลเด้น ฮาร์เวสต์ หงจินเป่า พยายามที่จะเริ่มมีบทบาทในการแสดงให้มากขึ้น โดยในช่วงปี 1978 ถือว่า หงจินเป่า และทีมได้รับการยอมรับว่าเป็นสตั๊นต์แมนที่ดีที่สุดในวงการ ปี 1983 หงจินเป่าจับมือกับ เฉินหลง และ หยวนเปียว สร้างหนังบู๊เรื่อง Winners and Sinners หรือ “7 เพชฌฆาตสัญชาติฮ้อ” ทำให้วงการหนังบู๊กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังซบเซาไปนานจากการเสียชีวิตของบรูซ ลี ทั้ง 3 คนได้รับฉายาว่า "3พี่น้องร่วมสาบาน" และได้แสดงภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จร่วมกันอีก อาทิ เอไกหว่า Project A (1984) ขาตั้งสู้ Wheels On Meals (1984) สองพี่น้องตระกูลบิ๊ก Heart of The Dragon (1984) มังกรหนวดทอง Dragon Forever (1988) และอื่นๆอีกมาก ยุคกลางของทศวรรษที่ 1990 หงจินเป่า เริ่มทำหน้าเบื้องหลังด้วยการกำกับคิวบู๊ให้ เฉินหลง เรื่อง เร็วฟ้าผ่า Thunderbolt (1995) และใหญ่ฟัดใหญ่ Mr. Nice Guy (1997) นอกจากนี้ ยังมีผลงานกำกับหนังบู๊ของ เจ๊ต ลี เรื่อง หวงเฟยหง Once Upon A Time In China And America (1997) สามารถทำรายได้สูงสุดในฮ่องกง ปี 1998 หงจินเป่า ยังเคยรับแสดงซีรีส์เรื่องในอเมริกาเรื่อง ยอดมือปราบมหากาฬ 3 ภาค Law of Honour โดยยังมีผลงานการแสดงและกำกับ อีกมากมาย เช่น ผีกัดอย่ากัดตอบ ภาค 1-4 Mr.Vampire (1985-1988) ปล้นป่วนขบวนการฮ้อ Millionaire"s Express (1986) โหดห้ามอุทธรณ์ Sworn Brothers (1987) หน่วยปฏิบัติการสายฟ้าแลบ Eastern Condors (1989) ทะลุฟ้าทั้งบ้าทั้งใหญ่ Shanghai Shanghai (1990) มังกรสะท้านฟ้า พยัคฆ์สะท้านภพ Flying Dragon Leaping Tiger (2002) มือเหล็กพิฆาตผ่าศตวรรษ The Avenging Fist (2002) มี วังลีฮอม ดาราวัยรุ่นชื่อดังร่วมแสดงด้วย และยังเป็นผู้กำกับคิวบู๊ในคนเล็กหมัดเทวดา ของโจวซิงฉือ Kung Fu Hustle (2004) 80 และ วันจารกรรมฟัดข้ามโลก Around the world in 80 days (2004) ของ เฉินหลง อีกด้วย เฉินกั๋วฟู (ผู้เขียนบท) ผลงาน >>> The Massage, Mei Lanfang เฉินฉื่ออิ๋ง (ผู้กำกับภาพ) ผลงาน >>> Twins Effect II, Tokyo Raiders, DOA: Dead or Alive เจมส์ ชู (ผู้ออกแบบงานสร้าง) ผลงาน >>> Infernal Affairs, New Police Story, The Duel

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ