กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
รายการแดนสนธยา เสนอสารคดีชุดพิเศษ
ตอน โลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (THE LIFE OF MAMMALS)
วันที่ 23 - 27 กรกฎาคม 2550 ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
พบโลกที่เต็มไปด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมครองโลก ภาพอันตื่นตาตื่นใจของชีวิตสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั่วทุกมุมโลก การอยู่รอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความลับในการใช้ชีวิตท่ามกลางอันตรายรอบด้าน จากบนฟากฟ้าถึงใต้มหาสมุทร ร่วมเปิดบันทึกโลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
วันจันทร์ที่ 23 ก.ค. 50 พบการค้นพบที่เป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อ ค้างคาว เป็น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรกที่บินได้ ที่วิวัฒนาการมาจาก ชรูว์ ซึ่งปีนต้นไม้ไล่จับแมลงจากกิ่งหนึ่งไปอีกกิ่งหนึ่ง แผ่นพังผืดระหว่างง่ามนิ้วก็ขยายขึ้นเรื่อยๆ จนมันบินได้ในที่สุด พร้อมปรับกลยุทธ์ในการคลำทาง และล่าเหยื่อใน ตอนกลางคืน โดยปล่อยคลื่นเสียงความถี่สูงออกมา และฟังเสียงสะท้อน ทำให้มันรับรู้สภาพแวดล้อมรอบๆ ในแบบ 3 มิติ และดักจับเหยื่อได้ พบการจับ ผีเสื้อกลางคืน และแมงมุม ของค้างคาว โดยใช้คลื่นโซน่าร์ตรวจจับความผิดปกติของเหยื่อ
วันอังคารที่ 24 ก.ค. 50 พบสัตว์ยอดนักแทะ หนูอะกูติ ที่สามารถจัดการลูกนัทที่มีเปลือกแข็งที่สุดได้ ด้วยฟันหน้าคู่ที่แข็งแรง และคมมาก ตัวกระรอกอาเบิร์ต ที่หาวิธีการเพิ่มอาหารนอกเหนือจากการแทะเปลือกลูกไม้ โดยใช้ฟันแทะปลายกิ่งของต้นสนพอนเดอโรซา พบการเตรียมพร้อมเข้าสู่ฤดูหนาวของกระรอกสีเทา ด้วยการกักตุนลูกโอ๊ค ซึ่งใช้ความสามารถพิเศษในการดมกลิ่นเพื่อแยกแยะว่าลูกไหน คือโอ๊คขาว หรือโอ๊คแดง และเทคนิคในการเก็บ ลูกโอ๊คขาวให้ได้นาน โดยกระรอกจะแทะส่วนปลายเพื่อทำลายต้นอ่อนที่อยู่ข้างใน และหนูจิงโจ้ ที่สามารถขนย้ายเมล็ดพืชได้หลายร้อยเม็ดในคราวเดียว เพราะกระพุ้งแก้มของมันที่ยืดได้
วันพุธที่ 25 ก.ค. 50 พบการจำศีลของตัวมาร์ม็อต ที่นอนเบียดกัน โดยให้พวกลูกๆ อยู่ตรงกลาง เพื่อ ลดการสูญเสียพลังงาน ตัวบีเวอร์ ที่สร้างบ่อน้ำขนาดใหญ่เสมือนเขื่อน สำหรับว่ายน้ำเพื่อไปยังแหล่งอาหาร และ ยังนำอาหารไปเก็บไว้ในส่วนที่ลึกที่สุดของก้นบ่อ เพื่อให้พืช หรืออาหารที่หามาได้คงความสดตลอดฤดูหนาว และเม่นยักษ์แอฟริกัน ที่มีอาวุธป้องกันตัว คือ หนามแหลม นักแทะที่กินรากไม้ และหัวของพืชใต้ดินเป็นอาหารหลัก กระรอกเบลดิ้งส์ กราวด์ ที่มีกลยุทธ์การเฝ้าระวัง โดยส่งเสียงให้รู้ว่าศัตรูกำลังมา
วันพฤหัสบดีที่ 26 ก.ค. 50 พบสัตว์ฟันแทะ หนูฮาร์เวสต์ ที่สามารถเพิ่มจำนวนประชากรหนูมหาศาลในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว ซึ่งหนู 1 คู่มีลูกปีละ 30 ตัว และหนูยักษ์ คาปีบาร่า ที่คล่องแคล่วว่องไวทั้งบนบก และในน้ำ กับต่อมกลิ่นพิเศษบนสันจมูก ที่ช่วยมันทำเครื่องหมายอาณาเขตขับไล่ตัวผู้ตัวอื่นที่เข้าใกล้ครอบครัวของมัน พบลักษณะพิเศษของสัตว์กินเนื้อไม่ว่าเล็ก หรือใหญ่ ที่ใช้เขี้ยวด้านหน้าคู่คล้ายมีดปลายแหลม และฟันรูปสามเหลี่ยมที่เลาะเนื้อออกจากกระดูก เป็นอาวุธปราบเหยื่อที่ไม่มีทางสู้ และเผ่าพันธุ์สัตว์กินเนื้อตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แมวป่าแอฟริกา เสือโคร่งไซบีเรีย ตัวมาร์เท็น และสุนัขตัวเล็กที่สุดในตระกูลจิ้งจอก เฟ็นเน็ค ที่อยู่ท่ามกลางทะเลทราย ร้อนระอุ ซาฮาร่า ด้วยการปรับสภาพโดยใช้หูขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ระบายความร้อน
วันศุกร์ที่ 27 ก.ค. 50 พบลักษณะพิเศษของจิ้งจอกขั้วโลก ที่มีหูสั้น ขนยาว และหนา เพื่อรักษาความอบอุ่นในตัว และนาทีการล่าอาหารโอชะ ลูกนกทะเลกิลเลอม็อท กับการบินเป็นครั้งแรก วิธีเก็บอาหาร ไว้ได้นานของจิ้งจอกขั้วโลก ที่ฝังอาหารไว้ใต้น้ำแข็ง นักกินซากศพเน่า ไฮยีน่า ที่สื่อสารระหว่างกลุ่มโดยใช้กลิ่นที่ผลิตจากถุงใต้หาง เพื่อแสดงถึงอาณาเขตของตนเอง และนักล่าลึกลับ อเมริกัน บุช ด็อก ที่ใช้ช่วงขาสั้นในการวิ่งฝ่า พุ่มไม้รกทึบ และพังผืดที่เท้า ช่วยให้พวกมันว่ายน้ำได้
ติดตามชม “โลกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” ในรายการแดนสนธยา
วันที่ 23 - 27 กรกฎาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 18.00 — 18.30 น.ทางโมเดิร์นไนน์ ทีวี
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์ จำกัด
โทร. 0-2434-8300 คุณสุจินดา, คุณแสงนภา และคุณวิภาวัลย์
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net