กรุงเทพฯ--5 ต.ค.--สมาคมการจัดการธุรกิจฯ
โครงการพัฒนาความรู้ด้าน โลจิสติกส์ (Logistics) และซัพพลายเชน (Supply Chain)เพื่อความได้เปรียบทางธุรกิจ (Module 4: Information Technology &Key Performance Indicators In Logistics & Supply Chain Management) วันที่ 18 ตุลาคม 2553 เวลา 09.00-16.00 น. ณ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย รามคำแหง 39 (ซ.วัดเทพลีลา)
วิทยากร
ดร.วาทิต ตมะวิโมกษ์
ตำแหน่งปัจจุบัน
- ประธาน บริษัท WT CORPORATION , Management Consulting Company
- ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท Philips Electronics (Thailand) Ltd.
- อาจารย์พิเศษ : ภาควิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย กรุงเทพ,
ภาควิชาบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
BBA INTERNATIONAL PROGRAM มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาควิชา Logistic and Supply Chain ที่ Asian Institute of Logistics
หลักการและเหตุผล
การบริหาร Logistics ที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องใช้ระบบสารสนเทศที่เหมาะสมมาเป็นเครื่องมือ ระบบสารสนเทศที่ดี ต้องมีวิธีที่ไม่ซับซ้อน สะดวก และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานทำให้มีข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงธุรกิจ นอกจากนั้นแล้ว การบริหารโลจิสติกส์ที่ดี จะต้องมีการวัดผลงานที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และเป้าหมายทางธุรกิจ ผลจากการประเมิน จะถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่จะนำมาวัดความสำเร็จของการบริหารโลจิสติกส์ จะต้องเหมาะสมกับสภาวะสิ่งแวดล้อมและศักยภาพขององค์กร เป้าหมายในการวัดต้องเป็นเป้าหมายที่ชัดเจนเหมาะสม และท้าทาย เพื่อการทำงานที่เป็นรูปธรรม
ประโยชน์ที่จะได้รับ
- เข้าใจหน้าที่ของหน่วยงานสารสนเทศ
- ระบบที่ใช้ในการติดต่อกับลูกค้า และคู่ค้า
- ระบบที่ใช้ในการบริหารคลังสินค้า และสินค้าคงคลัง
- ระบบที่ใช้ในการบริหารการขนส่ง
- ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการบริหารธุรกิจ
- ทำความเข้าใจกับวิธีการ LPAT(Logistics Performance Assessment Tool)
- ทำความเข้าใจกับวิธีการ SCOR (Supply Chain Operation Reference)
- วิธีการเลือกปัจจัยในการวัดผลงานด้านโลจิสติกส์ (KPI)
- การตั้งเป้าหมายในการวัด
ผู้เข้าสัมมนา
1) พนักงานหลักในการแต่ละแผนก
2) พนักงานที่กำลังจะเตรียมตัวเป็นผู้จัดการแผนก
3) ผู้บริหารเริ่มต้นในทุกแผนก
หัวข้อการสัมมนา
- คำจำกัดความของศัพท์เทคนิคที่ใช้ในระบบสาสนเทศ
- ระบบสารสนเทศกับการบริหารการจัดซื้อ
- ระบบการจัดซื้อกับการบริหารคลังสินค้า
- ระบบสารสนเทศกับการบริหารสินค้าคงคลัง
- ระบบสารสนเทศกับการบริหารการขนส่ง
- ปัจจัยที่ใช้วัดผลงานจาก LPAT
- ปัจจัยที่ใช้วัดผลงาน จาก SCOR
- การสร้างตัวชี้วัด (KPI) ที่เหมาะสม
- วิธีการตั้งเป้าหมายของ KPI
- การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบในการสัมมนา
1) การศึกษาจากการบรรยายจากวิทยากรในห้องเรียนสรุปภาคทฤษฎี คำจำกัดความ และความรู้ ทางเทคนิคที่ เกี่ยวข้องกับวิชาโดยใช้ตัวอย่าง จากการปฏิบัติการในชีวิตการทำงานที่เกิดขึ้นจริง
2) กิจกรรมการทดลองทำงานเป็นกลุ่มย่อยเพื่อนำความรู้ทางทฤษฎีมาลองปฏิบัติจริง ผลงานจะเน้นไปในการนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ
ค่าลงทะเบียน
สมาชิก TMA 3,600 บาท บุคคลทั่วไป 4,000 บาท
(ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %)
พิเศษ!! สมัครและชำระเงินภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2553 ลด 10%
วิธีการชำระเงิน
- เช็คสั่งจ่าย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย 276 ถนนรามคำแหง ซอย 39 วังทองหลาง กทม. 10310
- โอนเงินเข้าบัญชี สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย
ธนาคารกรุงเทพ สาขาหัวหมาก บัญชี สะสมทรัพย์ เลขที่ 180-4-315255
(กรุณาแฟกซ์ 0-2319-5666,0-2718-6144 สำเนาใบฝากเงิน ไปยังสมาคมเพื่อยืนยันการชำระเงิน)
หมายเหตุ : สมาคมฯ เสียภาษีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ผู้จ่ายเงินเข้าสัมมนาจึงมิต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามข้อ 8(2) แห่งคำสั่งอธิบดีกรมสรรพากร ที่ ทป.4/2528 ลงวันที่ 26 ก.ย 2528
การยกเลิก ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมการอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าก่อนการอบรม 7 วัน มิฉะนั้น สมาคมฯขอสงวนสิทธิ์ในการคืนเงินค่าธรรมเนียม 50% ของราคาค่าอบรม
ติดต่อสอบถาม : สำรองที่นั่ง
แจ่มจันทร์ ยะมงคล
Tel.02-319-3312 (เบอร์ตรง)
02-319-7675-8 /02-718-5601-4 ต่อ 110
Fax.02-319-5666/02-718-6144