ในระหว่างที่กำลังรอคอยการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจการมี
ส่วนร่วมของประชาชนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชนระดับตำบลหมู่บ้าน จำนวน 2360 คน
โดยเก็บข้อมูลช่วงเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับ
รากแก้ว” เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปการเมืองต่อไป
ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและมีภูมิลำเนาในภาคใต้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้วมากกว่า
ผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ โดยคนภาคใต้ร้อยละ 61.8 ร่วมให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนในชุมชน ร้อยละ 61.0 ร่วมรณรงค์
ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ร้อยละ 60.7 ร่วมพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน ร้อยละ 60.1 ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนในชุมชน ร้อย
ละ 57.7 ร่วมให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ชุมชน ร้อยละ 52.1 ร่วมทำประชาคมหมู่บ้าน และร้อยละ 44.0 ร่วมกลุ่มประท้วงทางการเมือง สะท้อนให้
เห็นว่าคนใต้สนใจในเรื่องการเมืองมากกว่าคนภาคอื่น ในขณะที่คนกรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมน้อยกว่าภาคอื่นทุกด้าน ยกเว้นด้านการประท้วงทางการ
เมืองซึ่งคนภาคเหนือมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือร้อยละ 28.3
นอกจากนี้ ยังพบว่าสัดส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้การศึกษาแก่คนในชุมชน การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนใน
ชุมชน การพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน และการทำประชาคมหมู่บ้านมากกว่าสัดส่วนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและคริสต์
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนไทยมุสลิมและคนภาคใต้ให้ความสำคัญกับการเมืองและชุมชนหรือ “อุมมะฮ์” อย่างมาก คนมุสลิมยึดมั่นใน
หลักความเป็นเอกภาพ ภราดรภาพ สิทธิและเสรีภาพอย่างเหนียวแน่น เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าต้องสูญเสียหลักการและวิถีการดำเนินชีวิตในชุมชนของตน
ไป เขาย่อมพยายามรักษาไว้อย่างเต็มที่ แต่แนวคิดและหลักการของศาสนาอิสลามก็สอดคล้องกับหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยด้วย ดังนั้น ถ้าคน
ไทยมุสลิมเข้าร่วมเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในแต่ละชุมชนให้เข้มแข็ง แผ่นดินไทยก็น่าจะมีสันติสุขมากขึ้น
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้วกับภูมิลำเนาเดิม
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้ว ภูมิลำเนา
กทม. ภาคกลางและตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้
การให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนในชุมชน 49.8 57.7 58.9 58.6 61.8
การรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง 50.5 57.5 50.5 54.9 61
การพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน 45.1 54.4 51.3 54.6 60.7
การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนในชุมชน 43.5 51 48.2 54.3 60.1
การให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ชุมชน 41.4 48.8 46.3 52.1 57.7
การให้ความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแก่ชุมชน 43.1 50.8 50.5 50.3 57
การทำประชาคมหมู่บ้าน 40.5 44.5 42.4 46.8 52.1
การรวมกลุ่มประท้วงทางการเมือง 38 35.7 28.3 34.5 44
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้วกับศาสนา
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้ว ศาสนา
พุทธ คริสต์ อิสลาม
การให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนในชุมชน 57.2 69.6 77.9
การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนในชุมชน 52.3 66.7 67.1
การพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน 50.6 58.3 65.7
การทำประชาคมหมู่บ้าน 45.7 52.2 65.7
การรวมกลุ่มประท้วงทางการเมือง 36.7 54.2 51.5
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ส่วนร่วมของประชาชนที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเกี่ยวกับการพัฒนาประชาธิปไตยในชุมชนระดับตำบลหมู่บ้าน จำนวน 2360 คน
โดยเก็บข้อมูลช่วงเดือนพฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ในหัวข้อ “การมีส่วนร่วมของผู้มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับ
รากแก้ว” เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิรูปการเมืองต่อไป
ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไปและมีภูมิลำเนาในภาคใต้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้วมากกว่า
ผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและภาคอื่นๆ โดยคนภาคใต้ร้อยละ 61.8 ร่วมให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนในชุมชน ร้อยละ 61.0 ร่วมรณรงค์
ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ร้อยละ 60.7 ร่วมพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน ร้อยละ 60.1 ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนในชุมชน ร้อย
ละ 57.7 ร่วมให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ชุมชน ร้อยละ 52.1 ร่วมทำประชาคมหมู่บ้าน และร้อยละ 44.0 ร่วมกลุ่มประท้วงทางการเมือง สะท้อนให้
เห็นว่าคนใต้สนใจในเรื่องการเมืองมากกว่าคนภาคอื่น ในขณะที่คนกรุงเทพมหานครมีส่วนร่วมน้อยกว่าภาคอื่นทุกด้าน ยกเว้นด้านการประท้วงทางการ
เมืองซึ่งคนภาคเหนือมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือร้อยละ 28.3
นอกจากนี้ ยังพบว่าสัดส่วนผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีส่วนร่วมในกิจกรรมการให้การศึกษาแก่คนในชุมชน การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนใน
ชุมชน การพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน และการทำประชาคมหมู่บ้านมากกว่าสัดส่วนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธและคริสต์
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนไทยมุสลิมและคนภาคใต้ให้ความสำคัญกับการเมืองและชุมชนหรือ “อุมมะฮ์” อย่างมาก คนมุสลิมยึดมั่นใน
หลักความเป็นเอกภาพ ภราดรภาพ สิทธิและเสรีภาพอย่างเหนียวแน่น เมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่าต้องสูญเสียหลักการและวิถีการดำเนินชีวิตในชุมชนของตน
ไป เขาย่อมพยายามรักษาไว้อย่างเต็มที่ แต่แนวคิดและหลักการของศาสนาอิสลามก็สอดคล้องกับหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยด้วย ดังนั้น ถ้าคน
ไทยมุสลิมเข้าร่วมเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในแต่ละชุมชนให้เข้มแข็ง แผ่นดินไทยก็น่าจะมีสันติสุขมากขึ้น
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้วกับภูมิลำเนาเดิม
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้ว ภูมิลำเนา
กทม. ภาคกลางและตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้
การให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนในชุมชน 49.8 57.7 58.9 58.6 61.8
การรณรงค์ต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง 50.5 57.5 50.5 54.9 61
การพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน 45.1 54.4 51.3 54.6 60.7
การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนในชุมชน 43.5 51 48.2 54.3 60.1
การให้ความรู้ด้านกฎหมายแก่ชุมชน 41.4 48.8 46.3 52.1 57.7
การให้ความรู้เกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยแก่ชุมชน 43.1 50.8 50.5 50.3 57
การทำประชาคมหมู่บ้าน 40.5 44.5 42.4 46.8 52.1
การรวมกลุ่มประท้วงทางการเมือง 38 35.7 28.3 34.5 44
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้วกับศาสนา
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากแก้ว ศาสนา
พุทธ คริสต์ อิสลาม
การให้การศึกษาหรือให้ความรู้แก่คนในชุมชน 57.2 69.6 77.9
การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของคนในชุมชน 52.3 66.7 67.1
การพัฒนาระบบข้อมูลสื่อสารในชุมชน 50.6 58.3 65.7
การทำประชาคมหมู่บ้าน 45.7 52.2 65.7
การรวมกลุ่มประท้วงทางการเมือง 36.7 54.2 51.5
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-