แท็ก
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ร่างรัฐธรรมนูญ
รามคำแหงโพลล์
โรงแรมคอนราด
กัมพูชา
ซีเกท
ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาตราที่ 39 และ 40 บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและจะได้รับโทษทางอาญาเมื่อได้กระทำการ
อันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ นอกจากนี้ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย แต่สิทธิของผู้ต้องขังมิได้มีการตราไว้ในรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความต้องการของผู้ต้องขังจำนวน 750 คน ซึ่งร้อยละ 20.6 ต้องขังใน
กรุงเทพมหานคร และร้อยละ 79.4 ต้องขังในต่างจังหวัด เป็นผู้ชายร้อยละ 77.3 และผู้หญิงร้อยละ 22.7 ในหัวข้อ “สิทธิคนคุก: ความต้องการที่
รัฐธรรมนูญใหม่อาจขาดหาย” เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคนขาดอิสรภาพที่มีต่อสิทธิของตนเอง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่
ผู้ต้องขังเหล่านี้ร้อยละ 60.8 ทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 10.1 ลักทรัพย์ ร้อยละ 9.1 ฆ่าคนตาย ร้อยละ 7.0 ทำความผิด
เกี่ยวกับเพศ เช่น ข่มขืน อนาจาร ร้อยละ 2.0 ทำร้ายร่างกายคนอื่น และร้อยละ 11.0 ทำความผิดอื่นๆ เมื่อกระทำความผิดสิ้นสุดลง ร้อยละ
84.6 เสียใจและรู้สึกผิด ร้อยละ 6.4 รู้สึกตกใจและหวาดกลัว ร้อยละ 5.4 รู้สึกเฉยๆ ที่เหลือมีความรู้สึกอื่นๆ
สิทธิที่ผู้ต้องขังต้องการให้ปรับปรุงอันดับ 1 ร้อยละ 66.2 คือโอกาสในการนอนกับสามีหรือภรรยา อันดับ 2 ร้อยละ 65.7 การช่วย
เหลือเรื่องเงินจ้างทนายความ อันดับ 3 ร้อยละ 62.3 การช่วยเหลือเรื่องเงินค่าโทรศัพท์ อันดับ 4 ร้อยละ 61.4 การได้รับความรู้เรื่องการใช้
ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (อีเมล์) อันดับ 5 ร้อยละ 58.1 โอกาสในการรับโทรศัพท์ อันดับ 6 ร้อยละ 51.4 โอกาสรู้จักทนายความที่เหมาะสมกับคดี
อันดับ 7 ร้อยละ 48.8 การช่วยเหลือจากทนายความ อันดับ 8 ร้อยละ 46.9 โอกาสในการกลับไปอยู่กับครอบครัว อันดับ 9 ร้อยละ 43.0 การได้
รับความช่วยเหลือจากรัฐหากติดคุกฟรี อันดับ 10 ร้อยละ 38.6 การได้รับความรู้ความเข้าใจในสิทธิใหม่ๆ อันดับ 11 ร้อยละ 36.4 โอกาสในการ
พบปะลูกสำหรับผู้ต้องขังสตรี อันดับ 12 ร้อยละ 36.0 การได้รับข้อมูลข่าวสาร และอันดับ 13 ร้อยละ 31.3 การช่วยเหลือให้อยู่ในบ้านกึ่งวิถี
สำหรับผู้ที่จะออกจากคุก
จะเห็นได้ว่าผู้ต้องขังส่วนใหญ่คือเกือบร้อยละ 85 รู้สึกเสียใจและสำนึกผิดในการกระทำของตนเอง ซึ่งโดยมากกระทำความผิดในคดียา
เสพติด มีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย เกษตรกรรม และว่างงาน แต่นักการเมืองที่กระทำความผิดฉ้อโกงประชาชนจะรู้สึกเสียใจและสำนึกผิดเช่นเดียวกับผู้
ต้องขังเหล่านี้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องรอพิสูจน์กันต่อไป บางทีอาจจะต้องรอให้กลายเป็นผู้ต้องขังเสียก่อนก็เป็นได้
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังจำแนกตามความรู้สึกเมื่อกระทำความผิดสิ้นสุดลง
อันดับ ความรู้สึกเมื่อกระทำความผิดสิ้นสุดลง ร้อยละ
1 เสียใจและรู้สึกผิด 84.6
2 รู้สึกตกใจและหวาดกลัว 6.4
3 รู้สึกเฉยๆ 5.4
4 อื่นๆ 3.6
รวม 100.0
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังจำแนกตามสิทธิที่ผู้ต้องขังต้องการให้ปรับปรุง
อันดับ สิทธิที่ผู้ต้องขังต้องการให้ปรับปรุง ร้อยละ
1 โอกาสในการนอนกับสามีหรือภรรยา 66.2
2 การช่วยเหลือเรื่องเงินจ้างทนายความ 65.7
3 การช่วยเหลือเรื่องเงินค่าโทรศัพท์ 62.3
4 การได้รับความรู้เรื่องการใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (อีเมล์) 61.4
5 โอกาสในการรับโทรศัพท์ 58.1
6 โอกาสรู้จักทนายความที่เหมาะสมกับคดี 51.4
7 การช่วยเหลือจากทนายความ 48.8
8 โอกาสในการกลับไปอยู่กับครอบครัว 46.9
9 การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหากติดคุกฟรี 43.0
10 การได้รับความรู้ความเข้าใจในสิทธิใหม่ๆ 38.6
11 โอกาสในการพบปะลูกสำหรับผู้ต้องขังสตรี 36.4
12 การได้รับข้อมูลข่าวสาร 36.0
13 การช่วยเหลือให้อยู่ในบ้านกึ่งวิถี สำหรับผู้ที่จะออกจากคุก 31.3
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
อันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ นอกจากนี้ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย แต่สิทธิของผู้ต้องขังมิได้มีการตราไว้ในรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความต้องการของผู้ต้องขังจำนวน 750 คน ซึ่งร้อยละ 20.6 ต้องขังใน
กรุงเทพมหานคร และร้อยละ 79.4 ต้องขังในต่างจังหวัด เป็นผู้ชายร้อยละ 77.3 และผู้หญิงร้อยละ 22.7 ในหัวข้อ “สิทธิคนคุก: ความต้องการที่
รัฐธรรมนูญใหม่อาจขาดหาย” เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคนขาดอิสรภาพที่มีต่อสิทธิของตนเอง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่
ผู้ต้องขังเหล่านี้ร้อยละ 60.8 ทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ร้อยละ 10.1 ลักทรัพย์ ร้อยละ 9.1 ฆ่าคนตาย ร้อยละ 7.0 ทำความผิด
เกี่ยวกับเพศ เช่น ข่มขืน อนาจาร ร้อยละ 2.0 ทำร้ายร่างกายคนอื่น และร้อยละ 11.0 ทำความผิดอื่นๆ เมื่อกระทำความผิดสิ้นสุดลง ร้อยละ
84.6 เสียใจและรู้สึกผิด ร้อยละ 6.4 รู้สึกตกใจและหวาดกลัว ร้อยละ 5.4 รู้สึกเฉยๆ ที่เหลือมีความรู้สึกอื่นๆ
สิทธิที่ผู้ต้องขังต้องการให้ปรับปรุงอันดับ 1 ร้อยละ 66.2 คือโอกาสในการนอนกับสามีหรือภรรยา อันดับ 2 ร้อยละ 65.7 การช่วย
เหลือเรื่องเงินจ้างทนายความ อันดับ 3 ร้อยละ 62.3 การช่วยเหลือเรื่องเงินค่าโทรศัพท์ อันดับ 4 ร้อยละ 61.4 การได้รับความรู้เรื่องการใช้
ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (อีเมล์) อันดับ 5 ร้อยละ 58.1 โอกาสในการรับโทรศัพท์ อันดับ 6 ร้อยละ 51.4 โอกาสรู้จักทนายความที่เหมาะสมกับคดี
อันดับ 7 ร้อยละ 48.8 การช่วยเหลือจากทนายความ อันดับ 8 ร้อยละ 46.9 โอกาสในการกลับไปอยู่กับครอบครัว อันดับ 9 ร้อยละ 43.0 การได้
รับความช่วยเหลือจากรัฐหากติดคุกฟรี อันดับ 10 ร้อยละ 38.6 การได้รับความรู้ความเข้าใจในสิทธิใหม่ๆ อันดับ 11 ร้อยละ 36.4 โอกาสในการ
พบปะลูกสำหรับผู้ต้องขังสตรี อันดับ 12 ร้อยละ 36.0 การได้รับข้อมูลข่าวสาร และอันดับ 13 ร้อยละ 31.3 การช่วยเหลือให้อยู่ในบ้านกึ่งวิถี
สำหรับผู้ที่จะออกจากคุก
จะเห็นได้ว่าผู้ต้องขังส่วนใหญ่คือเกือบร้อยละ 85 รู้สึกเสียใจและสำนึกผิดในการกระทำของตนเอง ซึ่งโดยมากกระทำความผิดในคดียา
เสพติด มีอาชีพรับจ้าง ค้าขาย เกษตรกรรม และว่างงาน แต่นักการเมืองที่กระทำความผิดฉ้อโกงประชาชนจะรู้สึกเสียใจและสำนึกผิดเช่นเดียวกับผู้
ต้องขังเหล่านี้หรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องรอพิสูจน์กันต่อไป บางทีอาจจะต้องรอให้กลายเป็นผู้ต้องขังเสียก่อนก็เป็นได้
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังจำแนกตามความรู้สึกเมื่อกระทำความผิดสิ้นสุดลง
อันดับ ความรู้สึกเมื่อกระทำความผิดสิ้นสุดลง ร้อยละ
1 เสียใจและรู้สึกผิด 84.6
2 รู้สึกตกใจและหวาดกลัว 6.4
3 รู้สึกเฉยๆ 5.4
4 อื่นๆ 3.6
รวม 100.0
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างผู้ต้องขังจำแนกตามสิทธิที่ผู้ต้องขังต้องการให้ปรับปรุง
อันดับ สิทธิที่ผู้ต้องขังต้องการให้ปรับปรุง ร้อยละ
1 โอกาสในการนอนกับสามีหรือภรรยา 66.2
2 การช่วยเหลือเรื่องเงินจ้างทนายความ 65.7
3 การช่วยเหลือเรื่องเงินค่าโทรศัพท์ 62.3
4 การได้รับความรู้เรื่องการใช้ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (อีเมล์) 61.4
5 โอกาสในการรับโทรศัพท์ 58.1
6 โอกาสรู้จักทนายความที่เหมาะสมกับคดี 51.4
7 การช่วยเหลือจากทนายความ 48.8
8 โอกาสในการกลับไปอยู่กับครอบครัว 46.9
9 การได้รับความช่วยเหลือจากรัฐหากติดคุกฟรี 43.0
10 การได้รับความรู้ความเข้าใจในสิทธิใหม่ๆ 38.6
11 โอกาสในการพบปะลูกสำหรับผู้ต้องขังสตรี 36.4
12 การได้รับข้อมูลข่าวสาร 36.0
13 การช่วยเหลือให้อยู่ในบ้านกึ่งวิถี สำหรับผู้ที่จะออกจากคุก 31.3
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-