หลังจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แล้ว งานสำคัญที่ประเทศชาติกำลังรอคอยก็คือรูปร่างหน้าตาของรัฐ
ธรรมนูญใหม่ที่จะออกมา ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในทุกภาคของ
ประเทศจำนวน 2374 คน เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2549 — 2 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในทัศนะบัณฑิต” เพื่อทราบว่าผู้ที่มี
ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญพอสมควรคิดอย่างไรกับการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น
คำถามประเด็นแรกคือนายกรัฐมนตรีควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ 63.2 เห็นว่าควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ด่างพร้อยทาง
จริยธรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 21.0 เห็นว่าควรเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก
ในสภา ร้อยละ 8.9 เห็นว่าควรเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา และร้อยละ 6.9 เห็นว่าควรเป็นสมาชิก
พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรค
ประเด็นที่สองการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรทำอย่างไร ร้อยละ 70.6 เห็นว่าควรใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นแบบ และ
ปรับปรุงแก้ไขบางมาตราที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ร้อยละ 16.6 เห็นว่าควรยกร่างใหม่ทั้งฉบับ และร้อยละ 12.8 เห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
พ.ศ. 2549 มาดัดแปลงเพิ่มเติมบางมาตรา
ประเด็นที่สาม ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่ ร้อยละ 58.3 เห็นว่าควรเป็น ร้อยละ 36.7 เห็นว่าไม่จำเป็น
และร้อยละ 5.0 เห็นว่าไม่ควรเป็น
ประเด็นที่สี่นักการเมืองควรเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระต่างๆ หรือไม่ ร้อยละ 60.3 เห็นว่าไม่ควร ร้อยละ
30.4 เห็นว่าควร และร้อยละ 9.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่ห้าสมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ 59.8 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 29.0 เห็นว่าส่วนหนึ่งควรมาจาก
การเลือกตั้ง อีกส่วนหนึ่งควรมาจากการแต่งตั้ง และร้อยละ 11.2 เห็นว่าควรมาจากการแต่งตั้ง
ประเด็นที่หกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีการลงประชามติก่อนนำไปใช้จริงหรือไม่ ร้อยละ 87.9 เห็นว่าควร ร้อยละ 6.1 ไม่แน่ใจ
เพราะไม่ทราบเรื่องการลงประชามติ และร้อยละ 6.0 เห็นว่าไม่ควร
คำถามสุดท้าย เชื่อมั่นว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยทำให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือไม่ ร้อยละ 63.4 เชื่อมั่นและร้อยละ 36.6 ไม่เชื่อมั่น
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่ยังพอใจรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ต้องการให้แก้ไขจุดบกพร่องบางมาตราเท่านั้น
โดยให้ความสำคัญกับการมีผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเกินกว่าครึ่ง ยกเว้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เสียง
ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และมุ่งเน้นไปที่คุณธรรมกับความรู้ความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด
นายกรัฐมนตรีควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ
-เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ด่างพร้อยทางจริยธรรม -
ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 63.2
-เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา 21.0
-เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา 8.9
-เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรค 6.9
รวม 100.0
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรทำอย่างไร ร้อยละ
-ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นแบบ และปรับปรุงแก้ไขบางมาตราที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ 70.6
ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ 16.6
-นำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 มาดัดแปลงเพิ่มเติมบางมาตรา 12.8
รวม 100
ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่ ร้อยละ
ควรเป็น 58.3
ไม่จำเป็น 36.7
ไม่ควรเป็น 5
รวม 100
นักการเมืองควรเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระต่างๆ ร้อยละ
ไม่ควร 60.3
ควร 30.4
ไม่มีความเห็น 9.3
รวม 100.0
สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ
การเลือกตั้ง 59.8
ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง 29
การแต่งตั้ง 11.2
รวม 100
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีการลงประชามติก่อนนำไปใช้ ร้อยละ
ควร 87.9
ไม่แน่ใจเพราะไม่ทราบเรื่องการลงประชามติ 6.1
ไม่ควร 6
รวม 100
ท่านเชื่อมั่นว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยทำให้การเมืองไทยดีขึ้น ร้อยละ
เชื่อมั่น 63.4
ไม่เชื่อมั่น 36.6
รวม 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ธรรมนูญใหม่ที่จะออกมา ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปในทุกภาคของ
ประเทศจำนวน 2374 คน เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2549 — 2 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในทัศนะบัณฑิต” เพื่อทราบว่าผู้ที่มี
ความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญพอสมควรคิดอย่างไรกับการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น
คำถามประเด็นแรกคือนายกรัฐมนตรีควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ 63.2 เห็นว่าควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ด่างพร้อยทาง
จริยธรรม ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร้อยละ 21.0 เห็นว่าควรเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมาก
ในสภา ร้อยละ 8.9 เห็นว่าควรเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา และร้อยละ 6.9 เห็นว่าควรเป็นสมาชิก
พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรค
ประเด็นที่สองการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรทำอย่างไร ร้อยละ 70.6 เห็นว่าควรใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นแบบ และ
ปรับปรุงแก้ไขบางมาตราที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ ร้อยละ 16.6 เห็นว่าควรยกร่างใหม่ทั้งฉบับ และร้อยละ 12.8 เห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว
พ.ศ. 2549 มาดัดแปลงเพิ่มเติมบางมาตรา
ประเด็นที่สาม ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่ ร้อยละ 58.3 เห็นว่าควรเป็น ร้อยละ 36.7 เห็นว่าไม่จำเป็น
และร้อยละ 5.0 เห็นว่าไม่ควรเป็น
ประเด็นที่สี่นักการเมืองควรเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระต่างๆ หรือไม่ ร้อยละ 60.3 เห็นว่าไม่ควร ร้อยละ
30.4 เห็นว่าควร และร้อยละ 9.3 ไม่มีความเห็น
ประเด็นที่ห้าสมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ 59.8 เห็นว่าควรมาจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 29.0 เห็นว่าส่วนหนึ่งควรมาจาก
การเลือกตั้ง อีกส่วนหนึ่งควรมาจากการแต่งตั้ง และร้อยละ 11.2 เห็นว่าควรมาจากการแต่งตั้ง
ประเด็นที่หกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีการลงประชามติก่อนนำไปใช้จริงหรือไม่ ร้อยละ 87.9 เห็นว่าควร ร้อยละ 6.1 ไม่แน่ใจ
เพราะไม่ทราบเรื่องการลงประชามติ และร้อยละ 6.0 เห็นว่าไม่ควร
คำถามสุดท้าย เชื่อมั่นว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยทำให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือไม่ ร้อยละ 63.4 เชื่อมั่นและร้อยละ 36.6 ไม่เชื่อมั่น
จะเห็นได้ว่าผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปส่วนใหญ่ยังพอใจรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ต้องการให้แก้ไขจุดบกพร่องบางมาตราเท่านั้น
โดยให้ความสำคัญกับการมีผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองและสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งเกินกว่าครึ่ง ยกเว้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เสียง
ส่วนใหญ่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และมุ่งเน้นไปที่คุณธรรมกับความรู้ความสามารถของผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด
นายกรัฐมนตรีควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ
-เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ไม่ด่างพร้อยทางจริยธรรม -
ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 63.2
-เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา 21.0
-เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา 8.9
-เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา ไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าพรรค 6.9
รวม 100.0
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรทำอย่างไร ร้อยละ
-ใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นแบบ และปรับปรุงแก้ไขบางมาตราที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ 70.6
ยกร่างใหม่ทั้งฉบับ 16.6
-นำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 มาดัดแปลงเพิ่มเติมบางมาตรา 12.8
รวม 100
ผู้สมัครรับเลือกตั้งควรเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่ ร้อยละ
ควรเป็น 58.3
ไม่จำเป็น 36.7
ไม่ควรเป็น 5
รวม 100
นักการเมืองควรเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคณะกรรมการองค์กรอิสระต่างๆ ร้อยละ
ไม่ควร 60.3
ควร 30.4
ไม่มีความเห็น 9.3
รวม 100.0
สมาชิกวุฒิสภาควรมีที่มาอย่างไร ร้อยละ
การเลือกตั้ง 59.8
ส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง 29
การแต่งตั้ง 11.2
รวม 100
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรมีการลงประชามติก่อนนำไปใช้ ร้อยละ
ควร 87.9
ไม่แน่ใจเพราะไม่ทราบเรื่องการลงประชามติ 6.1
ไม่ควร 6
รวม 100
ท่านเชื่อมั่นว่าการร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะช่วยทำให้การเมืองไทยดีขึ้น ร้อยละ
เชื่อมั่น 63.4
ไม่เชื่อมั่น 36.6
รวม 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-