จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรากฐานการพัฒนาประเทศไทย ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสร้างดัชนีวัดความพอเพียง
ของคนไทยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไป โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4911 คน ช่วงเดือนมกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความพอเพียงของคนไทยเดือนมกราคม 2550” ทั้งนี้
กำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความพอเพียงมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความพอเพียงน้อยลง และถ้าต่ำกว่า
0.500 แสดงว่าตกเกณฑ์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความพอเพียงด้านเศรษฐกิจตกเกณฑ์ มีค่าดัชนี 0.458 โดยมีค่าดัชนีความเพียงพอด้านรายได้ 0.518 สูงกว่า
ดัชนีความเพียงพอเงินออมที่มีค่า 0.429 แสดงให้เห็นว่ามีเงินออมไม่เพียงพอ โดยเฉลี่ยมีรายได้ต่อเดือน 13,667.82 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน
9,110.94 บาท หนี้สินเฉลี่ยปัจจุบัน 222,705.09 บาท และเงินออมเฉลี่ยปัจจุบัน 80,192.78 บาท บ่งชี้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีความพอเพียง
ด้านเศรษฐกิจต่ำกว่าเกณฑ์ก็คือหนี้สินมาก แต่เงินออมน้อย
ส่วนความพอเพียงด้านสังคม ถือว่าผ่านเกณฑ์ มีค่าดัชนี 0.585 โดยมีความพอเพียงในโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลสูงสุด รองลงมาคือ
ความพอเพียงที่ได้รับการยกย่องให้เกียรติจากคนอื่น โอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น การได้รับความคุ้มครองด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สินจากเจ้าหน้าที่รัฐ วุฒิการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่การงาน ตามลำดับ โดยมีดัชนีความเพียงพอด้านตำแหน่งหน้าที่การงาน 0.502 ซึ่งผ่านเกณฑ์
เพียงเล็กน้อย
สำหรับความเพียงพอด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าดัชนี 0.603 โดยมีความพอเพียงสูงสุดในเรื่องโทรศัพท์สาธารณะใกล้ที่อยู่อาศัย รองลงมาคือการ
ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ความสะอาดของที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม สถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายในชุมชนที่อาศัยอยู่ บริการรถสาธารณะในเขตที่อยู่
อาศัย ความสงบปราศจากเสียงรบกวน และสวนสาธารณะกับสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติใกล้ที่อยู่อาศัย ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบความพอเพียงแต่ละระดับ พบว่า คนไทยมีความพอเพียงในระดับครอบครัวสูงสุด ค่าดัชนี 0.748 เนื่องจากมีความรัก
ความอบอุ่นในครอบครัว รองลงมาคือความพอเพียงในระดับบุคคล มีค่าดัชนี 0.645 โดยมีความพอเพียงด้านเครื่องนุ่งห่มเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ
เพื่อน อาหาร ที่อยู่อาศัย โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน และรถส่วนตัว ตามลำดับ
ระดับชุมชนมีค่าดัชนีความพอเพียง 0.597 มากกว่าระดับประเทศซึ่งมีค่าดัชนี 0.562 ทั้งนี้ ระดับชุมชนมีความพอเพียงมากที่สุดด้านความ
สนิทสนมกับเพื่อนบ้าน และน้อยที่สุดด้านการได้รับความช่วยเหลือจากผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ เมื่อเกิดปัญหา ส่วนระดับประเทศมี
ความพอเพียงในการมีสิทธิเสรีภาพมากที่สุด ค่าดัชนี 0.742 และมีความพอเพียงด้านความมั่นคงทางการเมืองน้อยที่สุด ค่าดัชนี 0.500 คาบเส้นพอดี
และที่น้อยรองลงมาคือด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ค่าดัชนี 0.504
โดยภาพรวมความพอเพียงของคนไทยเดือนมกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.598 ซึ่งจัดเป็นความพอเพียงในระดับปานกลาง และมีความพอ
เพียงด้านเศรษฐกิจต่ำกว่าเกณฑ์ จากดัชนีแต่ละด้านแต่ละระดับบ่งชี้ว่ารัฐบาลจะต้องเร่งพัฒนาประเทศด้านความมั่นคงทางการเมืองเป็นอันดับแรก รอง
ลงมาคือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยจากการคุกคามของต่างประเทศ การมีผู้นำท้องถิ่นที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ การมีข้า
ราชการที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ ความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมประเพณีไทย และความปลอดภัยจากยาเสพติด ตามลำดับ
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความพอเพียงของคนไทยเดือนมกราคม 2550
อันดับ ด้าน ความพอเพียงเกี่ยวกับเรื่อง ค่าดัชนี
1 เศรษฐกิจ รายได้ 0.518
2 เศรษฐกิจ เงินออม 0.429
รวมด้านเศรษฐกิจ 0.458
หมายเหตุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 13,667.82 บาท
รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 9,110.94 บาท
หนี้สินเฉลี่ยปัจจุบัน 222,705.09 บาท
เงินออมเฉลี่ยปัจจุบัน 80,192.78 บาท
1 สังคม โอกาสได้รับการรักษาพยาบาล 0.648
2 สังคม การยกย่องให้เกียรติจากคนอื่น 0.644
3 สังคม โอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น 0.641
4 สังคม การได้รับความคุ้มครองด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากเจ้าหน้าที่รัฐ 0.612
5 สังคม วุฒิการศึกษา 0.571
6 สังคม ตำแหน่งการงาน 0.502
รวมด้านสังคม 0.585
1 สิ่งแวดล้อม โทรศัพท์สาธารณะใกล้ที่อยู่อาศัย 0.67
2 สิ่งแวดล้อม การได้รับอากาศบริสุทธิ์ 0.639
3 สิ่งแวดล้อม ความสะอาดของที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 0.633
4 สิ่งแวดล้อม สถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายในชุมชนที่อาศัยอยู่ 0.62
5 สิ่งแวดล้อม บริการรถสาธารณะในเขตที่อยู่อาศัย 0.612
6 สิ่งแวดล้อม ความสงบปราศจากเสียงรบกวน 0.586
7 สิ่งแวดล้อม สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติ ใกล้ที่อยู่อาศัย 0.582
รวมด้านสิ่งแวดล้อม 0.603
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ของคนไทยด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไป โดยเก็บข้อมูล
จากประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4911 คน ช่วงเดือนมกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความพอเพียงของคนไทยเดือนมกราคม 2550” ทั้งนี้
กำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความพอเพียงมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความพอเพียงน้อยลง และถ้าต่ำกว่า
0.500 แสดงว่าตกเกณฑ์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความพอเพียงด้านเศรษฐกิจตกเกณฑ์ มีค่าดัชนี 0.458 โดยมีค่าดัชนีความเพียงพอด้านรายได้ 0.518 สูงกว่า
ดัชนีความเพียงพอเงินออมที่มีค่า 0.429 แสดงให้เห็นว่ามีเงินออมไม่เพียงพอ โดยเฉลี่ยมีรายได้ต่อเดือน 13,667.82 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน
9,110.94 บาท หนี้สินเฉลี่ยปัจจุบัน 222,705.09 บาท และเงินออมเฉลี่ยปัจจุบัน 80,192.78 บาท บ่งชี้ว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดัชนีความพอเพียง
ด้านเศรษฐกิจต่ำกว่าเกณฑ์ก็คือหนี้สินมาก แต่เงินออมน้อย
ส่วนความพอเพียงด้านสังคม ถือว่าผ่านเกณฑ์ มีค่าดัชนี 0.585 โดยมีความพอเพียงในโอกาสได้รับการรักษาพยาบาลสูงสุด รองลงมาคือ
ความพอเพียงที่ได้รับการยกย่องให้เกียรติจากคนอื่น โอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น การได้รับความคุ้มครองด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและ
ทรัพย์สินจากเจ้าหน้าที่รัฐ วุฒิการศึกษา และตำแหน่งหน้าที่การงาน ตามลำดับ โดยมีดัชนีความเพียงพอด้านตำแหน่งหน้าที่การงาน 0.502 ซึ่งผ่านเกณฑ์
เพียงเล็กน้อย
สำหรับความเพียงพอด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าดัชนี 0.603 โดยมีความพอเพียงสูงสุดในเรื่องโทรศัพท์สาธารณะใกล้ที่อยู่อาศัย รองลงมาคือการ
ได้รับอากาศบริสุทธิ์ ความสะอาดของที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม สถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายในชุมชนที่อาศัยอยู่ บริการรถสาธารณะในเขตที่อยู่
อาศัย ความสงบปราศจากเสียงรบกวน และสวนสาธารณะกับสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติใกล้ที่อยู่อาศัย ตามลำดับ
เมื่อเปรียบเทียบความพอเพียงแต่ละระดับ พบว่า คนไทยมีความพอเพียงในระดับครอบครัวสูงสุด ค่าดัชนี 0.748 เนื่องจากมีความรัก
ความอบอุ่นในครอบครัว รองลงมาคือความพอเพียงในระดับบุคคล มีค่าดัชนี 0.645 โดยมีความพอเพียงด้านเครื่องนุ่งห่มเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ
เพื่อน อาหาร ที่อยู่อาศัย โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์บ้าน และรถส่วนตัว ตามลำดับ
ระดับชุมชนมีค่าดัชนีความพอเพียง 0.597 มากกว่าระดับประเทศซึ่งมีค่าดัชนี 0.562 ทั้งนี้ ระดับชุมชนมีความพอเพียงมากที่สุดด้านความ
สนิทสนมกับเพื่อนบ้าน และน้อยที่สุดด้านการได้รับความช่วยเหลือจากผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฯลฯ เมื่อเกิดปัญหา ส่วนระดับประเทศมี
ความพอเพียงในการมีสิทธิเสรีภาพมากที่สุด ค่าดัชนี 0.742 และมีความพอเพียงด้านความมั่นคงทางการเมืองน้อยที่สุด ค่าดัชนี 0.500 คาบเส้นพอดี
และที่น้อยรองลงมาคือด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ค่าดัชนี 0.504
โดยภาพรวมความพอเพียงของคนไทยเดือนมกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.598 ซึ่งจัดเป็นความพอเพียงในระดับปานกลาง และมีความพอ
เพียงด้านเศรษฐกิจต่ำกว่าเกณฑ์ จากดัชนีแต่ละด้านแต่ละระดับบ่งชี้ว่ารัฐบาลจะต้องเร่งพัฒนาประเทศด้านความมั่นคงทางการเมืองเป็นอันดับแรก รอง
ลงมาคือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความปลอดภัยจากการคุกคามของต่างประเทศ การมีผู้นำท้องถิ่นที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ การมีข้า
ราชการที่มีคุณธรรมและความรู้ความสามารถ ความแข็งแกร่งของวัฒนธรรมประเพณีไทย และความปลอดภัยจากยาเสพติด ตามลำดับ
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความพอเพียงของคนไทยเดือนมกราคม 2550
อันดับ ด้าน ความพอเพียงเกี่ยวกับเรื่อง ค่าดัชนี
1 เศรษฐกิจ รายได้ 0.518
2 เศรษฐกิจ เงินออม 0.429
รวมด้านเศรษฐกิจ 0.458
หมายเหตุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 13,667.82 บาท
รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 9,110.94 บาท
หนี้สินเฉลี่ยปัจจุบัน 222,705.09 บาท
เงินออมเฉลี่ยปัจจุบัน 80,192.78 บาท
1 สังคม โอกาสได้รับการรักษาพยาบาล 0.648
2 สังคม การยกย่องให้เกียรติจากคนอื่น 0.644
3 สังคม โอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น 0.641
4 สังคม การได้รับความคุ้มครองด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากเจ้าหน้าที่รัฐ 0.612
5 สังคม วุฒิการศึกษา 0.571
6 สังคม ตำแหน่งการงาน 0.502
รวมด้านสังคม 0.585
1 สิ่งแวดล้อม โทรศัพท์สาธารณะใกล้ที่อยู่อาศัย 0.67
2 สิ่งแวดล้อม การได้รับอากาศบริสุทธิ์ 0.639
3 สิ่งแวดล้อม ความสะอาดของที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม 0.633
4 สิ่งแวดล้อม สถานที่เล่นกีฬาและออกกำลังกายในชุมชนที่อาศัยอยู่ 0.62
5 สิ่งแวดล้อม บริการรถสาธารณะในเขตที่อยู่อาศัย 0.612
6 สิ่งแวดล้อม ความสงบปราศจากเสียงรบกวน 0.586
7 สิ่งแวดล้อม สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติ ใกล้ที่อยู่อาศัย 0.582
รวมด้านสิ่งแวดล้อม 0.603
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-