ในที่สุดการระเบิดในช่วงเทศกาลปีใหม่ก็เกิดขึ้นอีกหลังจากที่เกิดในกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 เพียงแต่เป็นปีใหม่จีน ปี
ใหม่ที่คนไทยเชื้อสายจีนกำลังมีความสุข กำลังคิดแต่เรื่องที่ดี พูดแต่เรื่องที่ดี และทำแต่เรื่องที่ดี แต่ในสี่จังหวัดภาคใต้คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ
สงขลา กลับเต็มไปด้วยเสียงครวญครางจากความเจ็บปวด รวดร้าว และอาลัยของผู้ที่ประสบภัยจากระเบิดที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ศูนย์ประชามติ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4677 คน เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2550 ในหัว
ข้อ “ความรู้สึกต่อความรุนแรงในภาคใต้” เพื่อให้คนภาคใต้ได้ทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของคนภาคอื่นที่มีต่อเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับคนไทยด้วยกัน
ผลการสำรวจพบว่าคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 72.7 รู้สึกว่าเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้มีความรุนแรงมากกว่าคนภาคใต้รู้สึกเอง เพราะ
คนภาคใต้ที่รู้สึกว่ารุนแรงมีร้อยละ 65.3 คนภาคอื่นก็รู้สึกว่ารุนแรงมากกว่าคนภาคใต้เช่นกัน โดยคนภาคกลางและภาคตะวันออกร้อยละ 66.2 ภาค
เหนือร้อยละ 67.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 67.5 เห็นว่าอยู่ในระดับรุนแรง แต่ภาพรวมคนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.5 เห็นว่ารุนแรง ร้อย
ละ 28.5 เห็นว่ายังไม่ถึงกับรุนแรง และร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความเห็น
เมื่อถามว่าจะตอบโต้กับการก่อความรุนแรงในภาคใต้อย่างไร อันดับ 1 ร้อยละ 80.9 เห็นว่าควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความโหดร้าย
ทารุณที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ อันดับ 2 ร้อยละ 73.3 ให้ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์เหมือนเดิม และอันดับ 3 ร้อยละ 50.5 เห็นว่าให้รัฐบาลใช้
มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทั้งนี้ คนภาคใต้เห็นด้วยกับการใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน ร้อยละ 48.5 ซึ่งน้อยกว่าภาคอื่น
จะเห็นได้ว่าคนไทยทุกภาคเป็นห่วงคนภาคใต้อย่างมาก รู้สึกว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีความรุนแรงมากขึ้น แต่คนไทยเกือบครึ่งก็
ไม่ต้องการใช้ความรุนแรงตอบโต้ความรุนแรง และนี่ก็คือเอกลักษณ์ของคนไทย
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกที่มีต่อความรุนแรงในภาคใต้และภูมิลำเนา
ความคิดเห็น กรุงเทพ-มหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้ รวม
รุนแรง 72.7 66.6 67.2 67.5 65.3 67.5
ไม่รุนแรง 23.7 28.7 28.2 28.9 30.8 28.5
ไม่มีความเห็น 3.5 4.7 4.5 3.6 3.9 4
รวม 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามแนวคิดในการตอบโต้กับความรุนแรงในภาคใต้และภูมิลำเนา
การตอบโต้ความรุนแรง กรุงเทพ-มหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้ รวม
ประชาสัมพันธ์ความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ 82.6 82.6 77.8 80.9 79.1 80.9
ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์เหมือนเดิม 73 72.1 75.7 74 73.3 73.3
ให้รัฐบาลใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน 54.3 50.5 50.6 48.7 48.5 50.5
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ใหม่ที่คนไทยเชื้อสายจีนกำลังมีความสุข กำลังคิดแต่เรื่องที่ดี พูดแต่เรื่องที่ดี และทำแต่เรื่องที่ดี แต่ในสี่จังหวัดภาคใต้คือ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และ
สงขลา กลับเต็มไปด้วยเสียงครวญครางจากความเจ็บปวด รวดร้าว และอาลัยของผู้ที่ประสบภัยจากระเบิดที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ศูนย์ประชามติ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4677 คน เมื่อวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ 2550 ในหัว
ข้อ “ความรู้สึกต่อความรุนแรงในภาคใต้” เพื่อให้คนภาคใต้ได้ทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของคนภาคอื่นที่มีต่อเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับคนไทยด้วยกัน
ผลการสำรวจพบว่าคนกรุงเทพมหานครร้อยละ 72.7 รู้สึกว่าเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้มีความรุนแรงมากกว่าคนภาคใต้รู้สึกเอง เพราะ
คนภาคใต้ที่รู้สึกว่ารุนแรงมีร้อยละ 65.3 คนภาคอื่นก็รู้สึกว่ารุนแรงมากกว่าคนภาคใต้เช่นกัน โดยคนภาคกลางและภาคตะวันออกร้อยละ 66.2 ภาค
เหนือร้อยละ 67.2 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 67.5 เห็นว่าอยู่ในระดับรุนแรง แต่ภาพรวมคนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.5 เห็นว่ารุนแรง ร้อย
ละ 28.5 เห็นว่ายังไม่ถึงกับรุนแรง และร้อยละ 4.0 ไม่แสดงความเห็น
เมื่อถามว่าจะตอบโต้กับการก่อความรุนแรงในภาคใต้อย่างไร อันดับ 1 ร้อยละ 80.9 เห็นว่าควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความโหดร้าย
ทารุณที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ อันดับ 2 ร้อยละ 73.3 ให้ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์เหมือนเดิม และอันดับ 3 ร้อยละ 50.5 เห็นว่าให้รัฐบาลใช้
มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน ทั้งนี้ คนภาคใต้เห็นด้วยกับการใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน ร้อยละ 48.5 ซึ่งน้อยกว่าภาคอื่น
จะเห็นได้ว่าคนไทยทุกภาคเป็นห่วงคนภาคใต้อย่างมาก รู้สึกว่าเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้มีความรุนแรงมากขึ้น แต่คนไทยเกือบครึ่งก็
ไม่ต้องการใช้ความรุนแรงตอบโต้ความรุนแรง และนี่ก็คือเอกลักษณ์ของคนไทย
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกที่มีต่อความรุนแรงในภาคใต้และภูมิลำเนา
ความคิดเห็น กรุงเทพ-มหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้ รวม
รุนแรง 72.7 66.6 67.2 67.5 65.3 67.5
ไม่รุนแรง 23.7 28.7 28.2 28.9 30.8 28.5
ไม่มีความเห็น 3.5 4.7 4.5 3.6 3.9 4
รวม 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามแนวคิดในการตอบโต้กับความรุนแรงในภาคใต้และภูมิลำเนา
การตอบโต้ความรุนแรง กรุงเทพ-มหานคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้ รวม
ประชาสัมพันธ์ความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ 82.6 82.6 77.8 80.9 79.1 80.9
ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์เหมือนเดิม 73 72.1 75.7 74 73.3 73.3
ให้รัฐบาลใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน 54.3 50.5 50.6 48.7 48.5 50.5
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-