หลังจากการ “ดีเบท” เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ และมีการรณรงค์จากรัฐอย่างต่อเนื่องให้ไปลงประชามติ ขณะที่กระแสการคว่ำร่างรัฐ
ธรรมนูญก็ดำเนินไปอย่างเข้มข้น ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคทั่วประเทศ
จำนวน 2316 คน เมื่อวันที่ 10-13 สิงหาคม 2550 ในหัวข้อ “การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ: ควรเห็นชอบหรือไม่” เป็นครั้ง
ที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของการลงประชามติที่จะเกิดขึ้น
ผลการสำรวจพบว่าโดยภาพรวมจะมีผู้ไปลงประชามติเกินครึ่งคือเกือบร้อยละ 60 โดยผู้มีสิทธิ์ลงประชามติที่ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่ มี
จำนวนลดลงจากร้อยละ 60.2 เมื่อต้นกรกฎาคมเหลือร้อยละ 29.6 เพราะส่วนหนึ่งตัดสินใจไปลงประชามติ อีกส่วนหนึ่งตัดสินใจไม่ไป และหลังจากมี
ข่าวว่ามีการจ่ายเงินเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ พบว่าคะแนนเสียงเห็นชอบลดลงจากร้อยละ 55.9 เป็นร้อยละ 47.6 กลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าจะเห็นชอบหรือ
ไม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.8 เมื่อต้นเดือนสิงหาคมเป็นร้อยละ 39.7 และกลุ่มที่ตัดสินใจไม่เห็นชอบเพิ่มจากร้อยละ 7.5 เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมเป็น
ร้อยละ 9.4 และ 12.6 ตามลำดับ คนภาคใต้มีแนวโน้มจะเห็นชอบเกินร้อยละ 60.0 แต่คนภาคอื่นมีแนวโน้มจะเห็นชอบประมาณร้อยละ 38.8-44.5
ยังไม่แน่ใจประมาณร้อยละ 34.6-45.9 ส่วนกลุ่มที่ตัดสินใจว่าจะไม่เห็นชอบมากที่สุดคือคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 19.1 รองลงมาคือคน
กรุงเทพมหานครร้อยละ 15.3 คนภาคเหนือร้อยละ 12.2 คนภาคกลางและตะวันออกร้อยละ 10.8 โดยผู้มีสิทธิ์ในภาคเหนือร้อยละ 73.6 ในกรุงเทพ
มหานครร้อยละ 70.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 58.2 ภาคกลางและภาคตะวันออกร้อยละ 56.0 และภาคใต้ร้อยละ 39.6 จะไปลงประชามติ
ที่น่าสังเกตก็คือหลังจากมีข่าวว่ามีการจ่ายเงินเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ สัดส่วนคนที่จะไปลงประชามติลดลงจากเดิมร้อยละ 2 จะไม่ไปเพิ่ม
ขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.2 กลุ่มที่เห็นชอบลดลงร้อยละ 8.3 ไม่แน่ใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และไม่เห็นชอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ดังนั้น คณะกรรมการการ
เลือกตั้งคงต้องทำงานหนักในโค้งสุดท้ายที่เหลือไม่ถึง 5 วันก่อนการลงประชามติ เพราะการลงประชามติครั้งนี้เป็นตัวชี้วัดกระแสการเมืองในอนาคตอีก
ด้วย
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ กับภูมิลำเนา
การไปลงประชามติ ภูมิลำเนา รวม
กรุงเทพมหา-นคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้
ไป 10 ก.ค.50 29.2 27 26.1 27.4 28.3 27.8
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 67.7 71.1 66.3 63.7 42.7 61.2
10-13 ส.ค.50 70.6 56 73.6 58.2 39.6 59.2
ไม่แน่ใจ 10 ก.ค.50 57.8 59.7 58.5 59.6 62 60.2
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 24 25.2 29.8 29.6 50.4 32.8
10-13 ส.ค.50 22.3 34.9 19.4 28.2 44.5 29.6
ไม่ไป 10 ก.ค.50 13 13.3 15.5 13.1 9.6 12
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 8.3 3.8 3.8 6.6 6.9 6
10-13 ส.ค.50 7.1 9.1 7 13.6 15.9 11.2
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นต่อการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ กับภูมิลำเนา
การควรเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ภูมิลำเนา รวม
กรุงเทพมหา-นคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้
ควรเห็นชอบ 10 ก.ค.50 49.7 52 41.8 50.6 60 53.4
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 44 52.5 51.5 56.5 66.3 55.9
10-13 ส.ค.50 38.8 44 44.3 44.5 60.3 47.6
ไม่แน่ใจ 10 ก.ค.50 37.9 38.9 48.2 39.5 36.9 39.1
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 44 37.3 40.8 32.6 28 34.8
10-13 ส.ค.50 45.9 45.3 43.5 36.4 34.6 39.7
ไม่ควรเห็นชอบ 10 ก.ค.50 12.4 9.1 9.9 9.9 3.1 7.5
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 12 10.1 7.8 10.9 5.7 9.4
10-13 ส.ค.50 15.3 10.8 12.2 19.1 5.1 12.6
ตารางที่ 3 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นต่อการลงประชามติ การเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ
การไปลงประชามติ การรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550
วันสำรวจ วันสำรวจ
10 ก.ค.50 29 ก.ค.-2 ส.ค.50 10-13 ส.ค.50 10 ก.ค.50 29 ก.ค.-2 ส.ค.50 10-13 ส.ค.50
ไป 27.8 61.2 59.2 ควรเห็นชอบ 53.4 55.9 47.6
ไม่แน่ใจ 60.2 32.8 29.6 ไม่แน่ใจ 39.1 34.8 39.7
ไม่ไป 12 6 11.2 ไม่ควรเห็นชอบ 7.5 9.4 12.6
รวม 100 100 100 รวม 100 100 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ธรรมนูญก็ดำเนินไปอย่างเข้มข้น ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคทั่วประเทศ
จำนวน 2316 คน เมื่อวันที่ 10-13 สิงหาคม 2550 ในหัวข้อ “การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ: ควรเห็นชอบหรือไม่” เป็นครั้ง
ที่ 3 เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มของการลงประชามติที่จะเกิดขึ้น
ผลการสำรวจพบว่าโดยภาพรวมจะมีผู้ไปลงประชามติเกินครึ่งคือเกือบร้อยละ 60 โดยผู้มีสิทธิ์ลงประชามติที่ไม่แน่ใจว่าจะไปหรือไม่ มี
จำนวนลดลงจากร้อยละ 60.2 เมื่อต้นกรกฎาคมเหลือร้อยละ 29.6 เพราะส่วนหนึ่งตัดสินใจไปลงประชามติ อีกส่วนหนึ่งตัดสินใจไม่ไป และหลังจากมี
ข่าวว่ามีการจ่ายเงินเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ พบว่าคะแนนเสียงเห็นชอบลดลงจากร้อยละ 55.9 เป็นร้อยละ 47.6 กลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าจะเห็นชอบหรือ
ไม่ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.8 เมื่อต้นเดือนสิงหาคมเป็นร้อยละ 39.7 และกลุ่มที่ตัดสินใจไม่เห็นชอบเพิ่มจากร้อยละ 7.5 เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมเป็น
ร้อยละ 9.4 และ 12.6 ตามลำดับ คนภาคใต้มีแนวโน้มจะเห็นชอบเกินร้อยละ 60.0 แต่คนภาคอื่นมีแนวโน้มจะเห็นชอบประมาณร้อยละ 38.8-44.5
ยังไม่แน่ใจประมาณร้อยละ 34.6-45.9 ส่วนกลุ่มที่ตัดสินใจว่าจะไม่เห็นชอบมากที่สุดคือคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 19.1 รองลงมาคือคน
กรุงเทพมหานครร้อยละ 15.3 คนภาคเหนือร้อยละ 12.2 คนภาคกลางและตะวันออกร้อยละ 10.8 โดยผู้มีสิทธิ์ในภาคเหนือร้อยละ 73.6 ในกรุงเทพ
มหานครร้อยละ 70.6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 58.2 ภาคกลางและภาคตะวันออกร้อยละ 56.0 และภาคใต้ร้อยละ 39.6 จะไปลงประชามติ
ที่น่าสังเกตก็คือหลังจากมีข่าวว่ามีการจ่ายเงินเพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ สัดส่วนคนที่จะไปลงประชามติลดลงจากเดิมร้อยละ 2 จะไม่ไปเพิ่ม
ขึ้นจากเดิมร้อยละ 5.2 กลุ่มที่เห็นชอบลดลงร้อยละ 8.3 ไม่แน่ใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 และไม่เห็นชอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ดังนั้น คณะกรรมการการ
เลือกตั้งคงต้องทำงานหนักในโค้งสุดท้ายที่เหลือไม่ถึง 5 วันก่อนการลงประชามติ เพราะการลงประชามติครั้งนี้เป็นตัวชี้วัดกระแสการเมืองในอนาคตอีก
ด้วย
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการไปลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ กับภูมิลำเนา
การไปลงประชามติ ภูมิลำเนา รวม
กรุงเทพมหา-นคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้
ไป 10 ก.ค.50 29.2 27 26.1 27.4 28.3 27.8
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 67.7 71.1 66.3 63.7 42.7 61.2
10-13 ส.ค.50 70.6 56 73.6 58.2 39.6 59.2
ไม่แน่ใจ 10 ก.ค.50 57.8 59.7 58.5 59.6 62 60.2
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 24 25.2 29.8 29.6 50.4 32.8
10-13 ส.ค.50 22.3 34.9 19.4 28.2 44.5 29.6
ไม่ไป 10 ก.ค.50 13 13.3 15.5 13.1 9.6 12
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 8.3 3.8 3.8 6.6 6.9 6
10-13 ส.ค.50 7.1 9.1 7 13.6 15.9 11.2
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นต่อการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ กับภูมิลำเนา
การควรเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ภูมิลำเนา รวม
กรุงเทพมหา-นคร ภาคกลางและภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคใต้
ควรเห็นชอบ 10 ก.ค.50 49.7 52 41.8 50.6 60 53.4
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 44 52.5 51.5 56.5 66.3 55.9
10-13 ส.ค.50 38.8 44 44.3 44.5 60.3 47.6
ไม่แน่ใจ 10 ก.ค.50 37.9 38.9 48.2 39.5 36.9 39.1
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 44 37.3 40.8 32.6 28 34.8
10-13 ส.ค.50 45.9 45.3 43.5 36.4 34.6 39.7
ไม่ควรเห็นชอบ 10 ก.ค.50 12.4 9.1 9.9 9.9 3.1 7.5
29 ก.ค.-2 ส.ค.50 12 10.1 7.8 10.9 5.7 9.4
10-13 ส.ค.50 15.3 10.8 12.2 19.1 5.1 12.6
ตารางที่ 3 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นต่อการลงประชามติ การเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ
การไปลงประชามติ การรับร่างรัฐธรรมนูญ 2550
วันสำรวจ วันสำรวจ
10 ก.ค.50 29 ก.ค.-2 ส.ค.50 10-13 ส.ค.50 10 ก.ค.50 29 ก.ค.-2 ส.ค.50 10-13 ส.ค.50
ไป 27.8 61.2 59.2 ควรเห็นชอบ 53.4 55.9 47.6
ไม่แน่ใจ 60.2 32.8 29.6 ไม่แน่ใจ 39.1 34.8 39.7
ไม่ไป 12 6 11.2 ไม่ควรเห็นชอบ 7.5 9.4 12.6
รวม 100 100 100 รวม 100 100 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-