ในที่สุดก็เกิดการระเบิดขึ้นอีกครั้งกลางกรุงเทพมหานครที่สำนักงานหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ในเมืองหลวงของประเทศที่มีสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งฉาวโฉ่ทั่วโลก เมืองที่เป็นศูนย์รวมของผู้คนจากทุกภูมิภาค และเป็นศูนย์รวมของส่วนราชการสำคัญในระดับประเทศ ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4915 คน เมื่อวันที่ 24-30 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความรุนแรงในสังคมไทยเดือนมกราคม 2550” โดยวัดความรุนแรงทั้งในระดับครอบครัว ระดับชุมชน และระดับประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาต่อไป ทั้งนี้กำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความรุนแรงมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความรุนแรงน้อยลง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความรุนแรงอันดับ 1 คือการก่อการร้ายภายในประเทศไทย ค่าดัชนี 0.613 อันดับ 2 การทำร้ายเด็ก ค่าดัชนี 0.597 อันดับ 3 การทำร้ายผู้หญิง ค่าดัชนี 0.594 อันดับ 4 การทำร้ายผู้อื่นโดยเกิดจากเด็กและเยาวชน ค่าดัชนี 0.534 อันดับ 5 การทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว ค่าดัชนี 0.410 อันดับ 6 การทำร้ายร่างกายภายในชุมชน ค่าดัชนี 0.371 อันดับ 7 การเกิดคดีฆาตกรรมในชุมชน ค่าดัชนี 0.349 และ อันดับ 8 การทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว ค่าดัชนี 0.331
โดยภาพรวมความรุนแรงในสังคมไทยเดือนมกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.457 ซึ่งจัดเป็นความรุนแรงในระดับปานกลาง มีความรุนแรงระดับประเทศมากที่สุดเนื่องจากเหตุการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้และการวางระเบิดในกรุงเทพมหานคร อันดับต่อมาคือการทำร้ายเด็กและสตรีซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยมานานจนถึงปัจจุบัน ส่วนความรุนแรงในชุมชนเป็นการทำร้ายร่างกายมากกว่าการฆาตกรรม และความรุนแรงในครอบครัวมีลักษณะเป็นการทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันมากกว่าเป็นการทำร้ายร่างกาย
ดัชนีวัดความรุนแรงดังกล่าวบ่งชี้ว่านโยบายสำคัญที่รัฐต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรกคือการแก้ปัญหาการก่อการร้ายที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรีอย่างเต็มที่ มิฉะนั้น เด็กและผู้หญิงก็จะเป็นเหยื่อของความรุนแรงอีกต่อไป
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความรุนแรงในสังคมไทยเดือนมกราคม 2550
อันดับ ประเภท ตัวชี้วัด ค่าดัชนี
1 ความรุนแรงในประเทศ การก่อการร้ายภายในประเทศไทย 0.613
2 ความรุนแรงในประเทศ การทำร้ายเด็ก 0.597
3 ความรุนแรงในประเทศ การทำร้ายผู้หญิง 0.594
4 ความรุนแรงในประเทศ การทำร้ายผู้อื่นโดยเกิดจากเด็กและเยาวชน 0.534
5 ความรุนแรงในครอบครัว การทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว 0.410
6 ความรุนแรงในชุมชน การทำร้ายร่างกายภายในชุมชน 0.371
7 ความรุนแรงในชุมชน การเกิดคดีฆาตกรรมในชุมชน 0.349
8 ความรุนแรงในครอบครัว การทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว 0.331
ดัชนีความรุนแรงในภาพรวม 0.457
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าความรุนแรงอันดับ 1 คือการก่อการร้ายภายในประเทศไทย ค่าดัชนี 0.613 อันดับ 2 การทำร้ายเด็ก ค่าดัชนี 0.597 อันดับ 3 การทำร้ายผู้หญิง ค่าดัชนี 0.594 อันดับ 4 การทำร้ายผู้อื่นโดยเกิดจากเด็กและเยาวชน ค่าดัชนี 0.534 อันดับ 5 การทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว ค่าดัชนี 0.410 อันดับ 6 การทำร้ายร่างกายภายในชุมชน ค่าดัชนี 0.371 อันดับ 7 การเกิดคดีฆาตกรรมในชุมชน ค่าดัชนี 0.349 และ อันดับ 8 การทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว ค่าดัชนี 0.331
โดยภาพรวมความรุนแรงในสังคมไทยเดือนมกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.457 ซึ่งจัดเป็นความรุนแรงในระดับปานกลาง มีความรุนแรงระดับประเทศมากที่สุดเนื่องจากเหตุการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้และการวางระเบิดในกรุงเทพมหานคร อันดับต่อมาคือการทำร้ายเด็กและสตรีซึ่งเกิดขึ้นในสังคมไทยมานานจนถึงปัจจุบัน ส่วนความรุนแรงในชุมชนเป็นการทำร้ายร่างกายมากกว่าการฆาตกรรม และความรุนแรงในครอบครัวมีลักษณะเป็นการทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันมากกว่าเป็นการทำร้ายร่างกาย
ดัชนีวัดความรุนแรงดังกล่าวบ่งชี้ว่านโยบายสำคัญที่รัฐต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรกคือการแก้ปัญหาการก่อการร้ายที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือเด็กและสตรีอย่างเต็มที่ มิฉะนั้น เด็กและผู้หญิงก็จะเป็นเหยื่อของความรุนแรงอีกต่อไป
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความรุนแรงในสังคมไทยเดือนมกราคม 2550
อันดับ ประเภท ตัวชี้วัด ค่าดัชนี
1 ความรุนแรงในประเทศ การก่อการร้ายภายในประเทศไทย 0.613
2 ความรุนแรงในประเทศ การทำร้ายเด็ก 0.597
3 ความรุนแรงในประเทศ การทำร้ายผู้หญิง 0.594
4 ความรุนแรงในประเทศ การทำร้ายผู้อื่นโดยเกิดจากเด็กและเยาวชน 0.534
5 ความรุนแรงในครอบครัว การทำร้ายจิตใจซึ่งกันและกันภายในครอบครัว 0.410
6 ความรุนแรงในชุมชน การทำร้ายร่างกายภายในชุมชน 0.371
7 ความรุนแรงในชุมชน การเกิดคดีฆาตกรรมในชุมชน 0.349
8 ความรุนแรงในครอบครัว การทำร้ายร่างกายภายในครอบครัว 0.331
ดัชนีความรุนแรงในภาพรวม 0.457
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-