การที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังประสบปัญหาความรุนแรงอันเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้านอยู่ในขณะนี้ ศูนย์ประชามติ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 2451 คน เมื่อวันที่ 24-28 มกราคม 2550 ในหัวข้อ
“แนวคิดของประชาชนในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้”
ผลการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่ต้องการให้ต่างประเทศเข้ามาช่วยแก้ปัญหา และร้อยละ 57.3 ไม่ต้องการให้สหประชาชาติ
เข้ามาช่วยแก้ปัญหา
ส่วนมาตรการที่ส่วนใหญ่ต้องการให้ทำอันดับ 1 ร้อยละ 91.9 คือการประกาศให้ประชาชนส่งไปรษณีย์หรืออีเมล์แสดงความคิดเห็นและข้อ
เสนอแนะในการแก้ไขปัญหามายังรัฐบาล อันดับ 2 ร้อยละ 91.1 ให้รัฐบาลจัดทำโครงการช่วยเหลือชาวบ้านในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
อย่างเต็มที่ในทุกด้าน อันดับ 3 ร้อยละ 86.6 ให้จัดทำโครงการปฏิรูปการศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยเร่งด่วน อันดับ 4
ร้อยละ 80.9 ให้ประชาสัมพันธ์ความโหดร้ายรุนแรงที่ผู้ก่อความไม่สงบกระทำกับประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเต็มที่เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนในการ
แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิด ตลอดจนร่วมกันปกป้องตนเองและชุมชนจากความรุนแรง อันดับ 5 ร้อยละ 78.2 ให้รัฐบาลพยายามหาทางเจรจากับผู้ที่
อยู่เบื้องหลังการก่อความรุนแรง อันดับ 6 ร้อยละ 73.3 ให้ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์ตามที่รัฐบาลทำอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ร้อยละ 54.1 ขอร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรกล่าวคำขอโทษคนภาคใต้ผ่านสื่อมวลชนด้วยตนเอง และ
ร้อยละ 50.4 ให้รัฐบาลใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการดังกล่าวที่มีอยู่ร้อยละ 49.6
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศแม้ว่าจะ
เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม คนส่วนใหญ่ยังต้องการความร่วมมือในการแก้ปัญหาโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุก
ภาคส่วน ต้องการช่วยเหลือชาวบ้านในสามจังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาในทุกด้าน ซึ่งสะท้อนถึงจิตสำนึกในความเป็นคนไทยได้เป็นอย่างดี การที่คน
ไทยอยากให้คนไทยแก้ปัญหาของคนไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องการให้ต่างประเทศเข้ามายุ่งเกี่ยวและไม่ต้องการให้นำเรื่องภายในประเทศไปเปิดเผยใน
ต่างประเทศ น่าจะเป็นเพราะมีค่านิยมในคำสอนที่ว่า “ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า” ซึ่งน่าจะใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจผู้ที่ชอบนำไฟในออกและไฟ
นอกเข้าเผาประเทศได้เป็นอย่างดี
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางในการแก้ไขความรุนแรงในภาคใต้
อันดับ แนวทางในการแก้ไขความรุนแรงในภาคใต้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
1 การประกาศให้ประชาชนส่งไปรษณีย์หรืออีเมล์แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหามายังรัฐบาล 91.9 8.1
2 ให้รัฐบาลจัดทำโครงการช่วยเหลือชาวบ้านในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสอย่างเต็มที่ในทุกด้าน 91.1 8.9
3 การจัดทำโครงการปฏิรูปการศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยเร่งด่วน 86.6 13.4
4 ประชาสัมพันธ์ความโหดร้ายรุนแรงที่ผู้ก่อความไม่สงบกระทำกับประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเต็มที่เพื่อขอความร่วมมือ
จากประชาชนในการแจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิด ตลอดจนร่วมกันปกป้องตนเองและชุมชนจากความรุนแรง 80.9 19.1
5 ให้รัฐบาลพยายามหาทางเจรจากับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการก่อความรุนแรง 78.2 21.8
6 ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์ตามที่รัฐบาลทำอยู่แล้ว 73.3 26.7
7 ขอร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรกล่าวคำขอโทษคนภาคใต้ผ่านสื่อมวลชนด้วยตนเอง 54.1 45.9
8 ให้รัฐบาลใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน 50.4 49.6
9 ให้สหประชาชาติเข้ามาช่วยแก้ปัญหา 42.7 57.3
10 ให้ต่างประเทศเข้ามาช่วยแก้ปัญหา 24.9 75.1
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 2451 คน เมื่อวันที่ 24-28 มกราคม 2550 ในหัวข้อ
“แนวคิดของประชาชนในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในภาคใต้”
ผลการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 ไม่ต้องการให้ต่างประเทศเข้ามาช่วยแก้ปัญหา และร้อยละ 57.3 ไม่ต้องการให้สหประชาชาติ
เข้ามาช่วยแก้ปัญหา
ส่วนมาตรการที่ส่วนใหญ่ต้องการให้ทำอันดับ 1 ร้อยละ 91.9 คือการประกาศให้ประชาชนส่งไปรษณีย์หรืออีเมล์แสดงความคิดเห็นและข้อ
เสนอแนะในการแก้ไขปัญหามายังรัฐบาล อันดับ 2 ร้อยละ 91.1 ให้รัฐบาลจัดทำโครงการช่วยเหลือชาวบ้านในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
อย่างเต็มที่ในทุกด้าน อันดับ 3 ร้อยละ 86.6 ให้จัดทำโครงการปฏิรูปการศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยเร่งด่วน อันดับ 4
ร้อยละ 80.9 ให้ประชาสัมพันธ์ความโหดร้ายรุนแรงที่ผู้ก่อความไม่สงบกระทำกับประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเต็มที่เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนในการ
แจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิด ตลอดจนร่วมกันปกป้องตนเองและชุมชนจากความรุนแรง อันดับ 5 ร้อยละ 78.2 ให้รัฐบาลพยายามหาทางเจรจากับผู้ที่
อยู่เบื้องหลังการก่อความรุนแรง อันดับ 6 ร้อยละ 73.3 ให้ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์ตามที่รัฐบาลทำอยู่แล้ว
นอกจากนี้ ร้อยละ 54.1 ขอร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรกล่าวคำขอโทษคนภาคใต้ผ่านสื่อมวลชนด้วยตนเอง และ
ร้อยละ 50.4 ให้รัฐบาลใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้มาตรการดังกล่าวที่มีอยู่ร้อยละ 49.6
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ต่างประเทศเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในประเทศแม้ว่าจะ
เกิดความรุนแรงอย่างต่อเนื่องในสามจังหวัดภาคใต้ก็ตาม คนส่วนใหญ่ยังต้องการความร่วมมือในการแก้ปัญหาโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนทุก
ภาคส่วน ต้องการช่วยเหลือชาวบ้านในสามจังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาในทุกด้าน ซึ่งสะท้อนถึงจิตสำนึกในความเป็นคนไทยได้เป็นอย่างดี การที่คน
ไทยอยากให้คนไทยแก้ปัญหาของคนไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องการให้ต่างประเทศเข้ามายุ่งเกี่ยวและไม่ต้องการให้นำเรื่องภายในประเทศไปเปิดเผยใน
ต่างประเทศ น่าจะเป็นเพราะมีค่านิยมในคำสอนที่ว่า “ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า” ซึ่งน่าจะใช้เป็นอุทาหรณ์สอนใจผู้ที่ชอบนำไฟในออกและไฟ
นอกเข้าเผาประเทศได้เป็นอย่างดี
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อแนวทางในการแก้ไขความรุนแรงในภาคใต้
อันดับ แนวทางในการแก้ไขความรุนแรงในภาคใต้ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
1 การประกาศให้ประชาชนส่งไปรษณีย์หรืออีเมล์แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหามายังรัฐบาล 91.9 8.1
2 ให้รัฐบาลจัดทำโครงการช่วยเหลือชาวบ้านในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสอย่างเต็มที่ในทุกด้าน 91.1 8.9
3 การจัดทำโครงการปฏิรูปการศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยเร่งด่วน 86.6 13.4
4 ประชาสัมพันธ์ความโหดร้ายรุนแรงที่ผู้ก่อความไม่สงบกระทำกับประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเต็มที่เพื่อขอความร่วมมือ
จากประชาชนในการแจ้งเบาะแสผู้กระทำความผิด ตลอดจนร่วมกันปกป้องตนเองและชุมชนจากความรุนแรง 80.9 19.1
5 ให้รัฐบาลพยายามหาทางเจรจากับผู้ที่อยู่เบื้องหลังการก่อความรุนแรง 78.2 21.8
6 ใช้นโยบายสร้างความสมานฉันท์ตามที่รัฐบาลทำอยู่แล้ว 73.3 26.7
7 ขอร้องให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรกล่าวคำขอโทษคนภาคใต้ผ่านสื่อมวลชนด้วยตนเอง 54.1 45.9
8 ให้รัฐบาลใช้มาตรการตาต่อตา ฟันต่อฟัน 50.4 49.6
9 ให้สหประชาชาติเข้ามาช่วยแก้ปัญหา 42.7 57.3
10 ให้ต่างประเทศเข้ามาช่วยแก้ปัญหา 24.9 75.1
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-