อีกไม่นาน ร่างรัฐธรรมนูญที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญกำลังแก้ไขคงจะคลอดออกมาเพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสลงประชามติเป็น
ครั้งแรก ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความเข้าใจของประชาชนในภูมิภาคที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมี
อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,280 คน เมื่อวันที่ 23-27 มิถุนายน 2550 ในหัวข้อ “ประชาพิจารณ์ ประชามติ กับความเข้าใจของประชาชนใน
ภูมิภาค” เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนของรัฐบาลในการจัดให้มีการลงประชามติต่อไป
ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 51.3 เข้าใจความหมายของ “ประชาพิจารณ์” อย่างถูกต้อง ร้อยละ 48.7 เข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจ โดยคน
ภาคใต้และภาคตะวันออกเข้าใจมากกว่าคนภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ผู้ชายเข้าใจมากกว่าผู้หญิง
แต่คำว่า “ประชามติ” มีผู้เข้าใจความหมายถูกต้องเพียงร้อยละ 38.2 เข้าใจผิดถึงร้อยละ 61.8 โดยร้อยละ 73.7 ของคนภาคกลาง
ร้อยละ 69.8 ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 66.2ของคนภาคเหนือ ร้อยละ 52.5 ของคนภาคใต้ และร้อยละ 40.0 ของคนภาคตะวันออก
เข้าใจผิด ผู้หญิงเข้าใจผิดมากกว่าผู้ชาย
นอกจากนี้ ร้อยละ 65.8 ยังไม่เข้าใจว่าประชาพิจารณ์และประชามติเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองอย่างไร โดยร้อยละ 74.6 ของคน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 73.7 ของคนภาคกลาง ร้อยละ 67.7 ของคนภาคเหนือ ร้อยละ 55.7 ของคนภาคใต้ และร้อยละ 55.0 ของคน
ภาคตะวันออกไม่เข้าใจ ผู้หญิงไม่เข้าใจมากกว่าผู้ชาย
ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าประชาชนในภูมิภาค แม้จะมีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องการลงประชามติ ไม่เข้าใจ
ความสำคัญของการทำประชาพิจารณ์และการลงประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง จึงทำให้น่าเป็นห่วงสำหรับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ใกล้
จะมีขึ้น ถ้าประชาชนในภูมิภาคที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่เข้าใจความสำคัญของการลงประชามติ รวมทั้งยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ
ใหม่ ย่อมเสี่ยงต่อการถูกชักจูงจากหัวคะแนนและผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ดังเช่นการเลือกตั้งทั่วไปในแต่ละสมัยนั่นเอง
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างแต่ละภาคจำแนกตามความเข้าใจความหมายของประชาพิจารณ์และ ประชามติ ตลอดจนความสำคัญของประชา
พิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง
ความเข้าใจ ภาค รวม
กลาง ตะวันออก ตะวันออก-เฉียงเหนือ ใต้ เหนือ
เข้าใจ “ประชาพิจารณ์”ถูกต้อง 47.4 60 46 60.7 46.2 51.3
เข้าใจ“ประชาพิจารณ์”ผิด 52.6 40 54 39.3 53.8 48.7
รวม 100 100 100 100 100 100
เข้าใจ “ประชามติ”ถูกต้อง 26.3 60 30.2 47.5 33.8 38.2
เข้าใจ“ประชามติ”ผิด 73.7 40 69.8 52.5 66.2 61.8
รวม 100 100 100 100 100 100
เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 26.3 45 25.4 44.3 32.3 34.2
ไม่เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 73.7 55 74.6 55.7 67.7 65.8
รวม 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างแต่ละเพศจำแนกตามความเข้าใจความหมายของประชาพิจารณ์และ ประชามติ
ตลอดจนความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง
ความเข้าใจ เพศ รวม
ชาย หญิง
เข้าใจ “ประชาพิจารณ์”ถูกต้อง 56.3 45.1 51.3
เข้าใจ“ประชาพิจารณ์”ผิด 43.7 54.9 48.7
รวม 100 100 100
เข้าใจ “ประชามติ”ถูกต้อง 40.5 35.3 38.2
เข้าใจ“ประชามติ”ผิด 59.5 64.7 61.8
รวม 100 100 100
เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 37.3 30.4 34.2
ไม่เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 62.7 69.6 65.8
รวม 100 100 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ครั้งแรก ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความเข้าใจของประชาชนในภูมิภาคที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมี
อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,280 คน เมื่อวันที่ 23-27 มิถุนายน 2550 ในหัวข้อ “ประชาพิจารณ์ ประชามติ กับความเข้าใจของประชาชนใน
ภูมิภาค” เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนของรัฐบาลในการจัดให้มีการลงประชามติต่อไป
ผลการศึกษาพบว่าร้อยละ 51.3 เข้าใจความหมายของ “ประชาพิจารณ์” อย่างถูกต้อง ร้อยละ 48.7 เข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจ โดยคน
ภาคใต้และภาคตะวันออกเข้าใจมากกว่าคนภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามลำดับ ผู้ชายเข้าใจมากกว่าผู้หญิง
แต่คำว่า “ประชามติ” มีผู้เข้าใจความหมายถูกต้องเพียงร้อยละ 38.2 เข้าใจผิดถึงร้อยละ 61.8 โดยร้อยละ 73.7 ของคนภาคกลาง
ร้อยละ 69.8 ของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 66.2ของคนภาคเหนือ ร้อยละ 52.5 ของคนภาคใต้ และร้อยละ 40.0 ของคนภาคตะวันออก
เข้าใจผิด ผู้หญิงเข้าใจผิดมากกว่าผู้ชาย
นอกจากนี้ ร้อยละ 65.8 ยังไม่เข้าใจว่าประชาพิจารณ์และประชามติเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเมืองอย่างไร โดยร้อยละ 74.6 ของคน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 73.7 ของคนภาคกลาง ร้อยละ 67.7 ของคนภาคเหนือ ร้อยละ 55.7 ของคนภาคใต้ และร้อยละ 55.0 ของคน
ภาคตะวันออกไม่เข้าใจ ผู้หญิงไม่เข้าใจมากกว่าผู้ชาย
ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าประชาชนในภูมิภาค แม้จะมีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา แต่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องการลงประชามติ ไม่เข้าใจ
ความสำคัญของการทำประชาพิจารณ์และการลงประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง จึงทำให้น่าเป็นห่วงสำหรับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่ใกล้
จะมีขึ้น ถ้าประชาชนในภูมิภาคที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่เข้าใจความสำคัญของการลงประชามติ รวมทั้งยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ
ใหม่ ย่อมเสี่ยงต่อการถูกชักจูงจากหัวคะแนนและผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น ดังเช่นการเลือกตั้งทั่วไปในแต่ละสมัยนั่นเอง
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างแต่ละภาคจำแนกตามความเข้าใจความหมายของประชาพิจารณ์และ ประชามติ ตลอดจนความสำคัญของประชา
พิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง
ความเข้าใจ ภาค รวม
กลาง ตะวันออก ตะวันออก-เฉียงเหนือ ใต้ เหนือ
เข้าใจ “ประชาพิจารณ์”ถูกต้อง 47.4 60 46 60.7 46.2 51.3
เข้าใจ“ประชาพิจารณ์”ผิด 52.6 40 54 39.3 53.8 48.7
รวม 100 100 100 100 100 100
เข้าใจ “ประชามติ”ถูกต้อง 26.3 60 30.2 47.5 33.8 38.2
เข้าใจ“ประชามติ”ผิด 73.7 40 69.8 52.5 66.2 61.8
รวม 100 100 100 100 100 100
เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 26.3 45 25.4 44.3 32.3 34.2
ไม่เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 73.7 55 74.6 55.7 67.7 65.8
รวม 100 100 100 100 100 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างแต่ละเพศจำแนกตามความเข้าใจความหมายของประชาพิจารณ์และ ประชามติ
ตลอดจนความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง
ความเข้าใจ เพศ รวม
ชาย หญิง
เข้าใจ “ประชาพิจารณ์”ถูกต้อง 56.3 45.1 51.3
เข้าใจ“ประชาพิจารณ์”ผิด 43.7 54.9 48.7
รวม 100 100 100
เข้าใจ “ประชามติ”ถูกต้อง 40.5 35.3 38.2
เข้าใจ“ประชามติ”ผิด 59.5 64.7 61.8
รวม 100 100 100
เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 37.3 30.4 34.2
ไม่เข้าใจความสำคัญของประชาพิจารณ์และประชามติที่มีต่อการปฏิรูปการเมือง 62.7 69.6 65.8
รวม 100 100 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-