ตามพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 อธิบายความหมายของคำว่า “แม่” ไว้ว่า “หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก” “คนผู้เป็นหัวหน้าหรือเป็นนายโดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง” “คำยกย่องเทวดาผู้หญิงบางพวก เช่น แม่คงคา แม่ธรณี แม่โพสพ” เป็นต้น คำว่าแม่มีความผูกพันกับชีวิตคนไทยมานาน บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ ต้นกำเนิด บุญคุณ และอำนาจ มีความสำคัญและมีความหมายสำหรับลูก มีอิทธิพลต่อการกระทำของลูก แม่จึงเป็นหลัก
ผลการสำรวจความรู้สึกของลูกที่มีต่อความหมายของคำว่า “แม่” จากกลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในช่วงวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2551 จำนวน 1,138 คน เรื่อง “แม่กับสายใยรักของลูก: ข้อคิดสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” พบว่า เมื่อกล่าวคำว่า “แม่” ร้อยละ 49.02 จะระลึกถึงพระคุณของแม่เพราะเป็นผู้ให้กำเนิด ร้อยละ 31.36 นึกถึงคุณธรรมของแม่ ได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น การให้อภัย ความเสียสละและความอดทนต่อความลำบาก ร้อยละ 6.14 คิดว่าแม่เป็นคนที่มีค่ามากที่สุด หาอะไรเปรียบมิได้ เป็นเสมือนแม่น้ำ มหาสมุทร ร้อยละ 4.91 คิดถึงความสุข รอยยิ้ม บ้าน ครอบครัว อยากพบแม่ ร้อยละ 2.36 คิดถึงสิ่งที่แม่ทำให้ เช่น อาหาร อ้อมกอด ตักแม่ ให้กำลังใจ เปรียบดังให้แสงสว่าง ร้อยละ 1.58 นึกถึงความกตัญญู เท่ากับที่นึกถึงเงิน คำบ่นว่า หญิงชราหนังเหี่ยว ร้อยละ 1.23 นึกถึงสิ่งที่ทำให้แม่มีความสุข เช่น สุขภาพ ของฝาก ร้อยละ 0.87 คิดถึงสิ่งที่ร่วมทำกับแม่และชีวิตตอนเด็ก ร้อยละ 0.61 คิดถึงลูกของตนเอง และร้อยละ 0.26 นึกถึงคำสอน คำอวยพร
มีผู้นึกถึงแม่ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมน้อยมาก คือ มีเพียงร้อยละ 1.58 เท่านั้นที่นึกถึงเงิน คำบ่นว่า และความเป็นหญิงชราหนังเหี่ยว แม่กับคุณธรรมของความเป็นแม่จึงเป็นสิ่งคู่กัน จะเห็นว่าลูกร้อยละ 98.42 คิดถึงแม่ในทางบวก คิดถึงคุณธรรมจริยธรรมของแม่ ไม่ว่าแม่จะมีอาชีพอะไรและฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม
เหลาจื้อ ศาสดาของลัทธิเต๋า สอนไว้ว่า “จงปกครองแบบแม่ปกครองลูก” สะท้อนให้เห็นว่า ความเป็นแม่มีความหมายที่ลึกซึ้งสำหรับการเป็นนักปกครอง แม่ต้องรักและเสียสละเพื่อลูกได้ นักปกครองก็ต้องรักและเสียสละเพื่อประชาชนได้ เมื่อลูกเดือดร้อน แม่ย่อมทำทุกอย่างเพื่อช่วยลูก เมื่อประชาชนเดือดร้อน นักปกครองก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อช่วยประชาชน แม่เป็นผู้ให้ทั้งความรัก ความอบอุ่น ให้อภัย และอดทนเพื่อลูกของตน นักปกครองก็ต้องให้สิ่งเหล่านี้แก่ประชาชนได้เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองอ้างว่าตนเองพร้อมที่จะเป็นรัฐบาลผู้บริหารประเทศ นักการเมืองก็ต้องมีความเป็นแม่อย่างสมบูรณ์ เป็นแม่ของประชาชน มีประชาชนทุกคนเป็นลูก ต้องทำทุกอย่างเพื่อลูกของตน แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกของลูกที่มีต่อความหมายของคำว่า “แม่”
อันดับ ความรู้สึกของลูกที่มีต่อความหมายของคำว่า “แม่” จำนวน ร้อยละ
1 พระคุณแม่ ผู้ให้กำเนิด 558 49.02
2 คุณธรรมของแม่ ได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น การให้อภัย ความเสียสละและความอดทนต่อความลำบาก 357 31.36
3 คนที่มีค่ามากที่สุด หาอะไรเปรียบมิได้ เป็นเสมือนแม่น้ำ มหาสมุทร 70 6.14
4 ความสุข รอยยิ้ม บ้าน ครอบครัว อยากพบแม่ 56 4.91
5 สิ่งที่แม่ทำให้ เช่น อาหาร อ้อมกอด ตักแม่ ให้กำลังใจ เปรียบดังให้แสงสว่าง 27 2.36
6 ความกตัญญู 18 1.58
7 เงิน คำบ่นว่า หญิงชราหนังเหี่ยว 18 1.58
8 สิ่งที่ทำให้แม่มีความสุข เช่น สุขภาพ ของฝาก 14 1.23
9 สิ่งที่ร่วมทำกับแม่และชีวิตตอนเด็ก 10 0.87
10 ลูกของตนเอง 7 0.61
11 คำสอน คำอวยพร 3 0.26
รวม 1,138 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ผลการสำรวจความรู้สึกของลูกที่มีต่อความหมายของคำว่า “แม่” จากกลุ่มตัวอย่างที่มีภูมิลำเนาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในช่วงวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2551 จำนวน 1,138 คน เรื่อง “แม่กับสายใยรักของลูก: ข้อคิดสำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” พบว่า เมื่อกล่าวคำว่า “แม่” ร้อยละ 49.02 จะระลึกถึงพระคุณของแม่เพราะเป็นผู้ให้กำเนิด ร้อยละ 31.36 นึกถึงคุณธรรมของแม่ ได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น การให้อภัย ความเสียสละและความอดทนต่อความลำบาก ร้อยละ 6.14 คิดว่าแม่เป็นคนที่มีค่ามากที่สุด หาอะไรเปรียบมิได้ เป็นเสมือนแม่น้ำ มหาสมุทร ร้อยละ 4.91 คิดถึงความสุข รอยยิ้ม บ้าน ครอบครัว อยากพบแม่ ร้อยละ 2.36 คิดถึงสิ่งที่แม่ทำให้ เช่น อาหาร อ้อมกอด ตักแม่ ให้กำลังใจ เปรียบดังให้แสงสว่าง ร้อยละ 1.58 นึกถึงความกตัญญู เท่ากับที่นึกถึงเงิน คำบ่นว่า หญิงชราหนังเหี่ยว ร้อยละ 1.23 นึกถึงสิ่งที่ทำให้แม่มีความสุข เช่น สุขภาพ ของฝาก ร้อยละ 0.87 คิดถึงสิ่งที่ร่วมทำกับแม่และชีวิตตอนเด็ก ร้อยละ 0.61 คิดถึงลูกของตนเอง และร้อยละ 0.26 นึกถึงคำสอน คำอวยพร
มีผู้นึกถึงแม่ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมน้อยมาก คือ มีเพียงร้อยละ 1.58 เท่านั้นที่นึกถึงเงิน คำบ่นว่า และความเป็นหญิงชราหนังเหี่ยว แม่กับคุณธรรมของความเป็นแม่จึงเป็นสิ่งคู่กัน จะเห็นว่าลูกร้อยละ 98.42 คิดถึงแม่ในทางบวก คิดถึงคุณธรรมจริยธรรมของแม่ ไม่ว่าแม่จะมีอาชีพอะไรและฐานะทางเศรษฐกิจอย่างไรก็ตาม
เหลาจื้อ ศาสดาของลัทธิเต๋า สอนไว้ว่า “จงปกครองแบบแม่ปกครองลูก” สะท้อนให้เห็นว่า ความเป็นแม่มีความหมายที่ลึกซึ้งสำหรับการเป็นนักปกครอง แม่ต้องรักและเสียสละเพื่อลูกได้ นักปกครองก็ต้องรักและเสียสละเพื่อประชาชนได้ เมื่อลูกเดือดร้อน แม่ย่อมทำทุกอย่างเพื่อช่วยลูก เมื่อประชาชนเดือดร้อน นักปกครองก็ต้องทำทุกอย่างเพื่อช่วยประชาชน แม่เป็นผู้ให้ทั้งความรัก ความอบอุ่น ให้อภัย และอดทนเพื่อลูกของตน นักปกครองก็ต้องให้สิ่งเหล่านี้แก่ประชาชนได้เช่นเดียวกัน เมื่อนักการเมืองอ้างว่าตนเองพร้อมที่จะเป็นรัฐบาลผู้บริหารประเทศ นักการเมืองก็ต้องมีความเป็นแม่อย่างสมบูรณ์ เป็นแม่ของประชาชน มีประชาชนทุกคนเป็นลูก ต้องทำทุกอย่างเพื่อลูกของตน แม้แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายแม่บท
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกของลูกที่มีต่อความหมายของคำว่า “แม่”
อันดับ ความรู้สึกของลูกที่มีต่อความหมายของคำว่า “แม่” จำนวน ร้อยละ
1 พระคุณแม่ ผู้ให้กำเนิด 558 49.02
2 คุณธรรมของแม่ ได้แก่ ความรัก ความอบอุ่น การให้อภัย ความเสียสละและความอดทนต่อความลำบาก 357 31.36
3 คนที่มีค่ามากที่สุด หาอะไรเปรียบมิได้ เป็นเสมือนแม่น้ำ มหาสมุทร 70 6.14
4 ความสุข รอยยิ้ม บ้าน ครอบครัว อยากพบแม่ 56 4.91
5 สิ่งที่แม่ทำให้ เช่น อาหาร อ้อมกอด ตักแม่ ให้กำลังใจ เปรียบดังให้แสงสว่าง 27 2.36
6 ความกตัญญู 18 1.58
7 เงิน คำบ่นว่า หญิงชราหนังเหี่ยว 18 1.58
8 สิ่งที่ทำให้แม่มีความสุข เช่น สุขภาพ ของฝาก 14 1.23
9 สิ่งที่ร่วมทำกับแม่และชีวิตตอนเด็ก 10 0.87
10 ลูกของตนเอง 7 0.61
11 คำสอน คำอวยพร 3 0.26
รวม 1,138 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-