แม้ว่าประเทศพม่าจะประสบภัยธรรมชาติจนผู้คนล้มตายกันเป็นอันมาก แต่การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญยังดำเนินการต่อไป เพื่อให้เกิด
ความชอบธรรมในการใช้รัฐธรรมนูญต่อไป ขณะเดียวกัน ในประเทศไทยก็มีความพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ซึ่งผ่าน
การลงประชามติมาแล้ว จนเป็นที่มาของความขัดแย้งทางความคิดและข่าวลือเรื่อง “การปฏิวัติ”
ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีภูมิลำเนาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในช่วงวัน
ที่ 9-10 พฤษภาคม 2551 จำนวน 3,573 คน เรื่อง “ความสนใจของคนไทยที่มีต่อรัฐธรรมนูญ 2550” พบว่าแม้ประเทศไทยมีการลงประชามติร่างรัฐ
ธรรมนูญมาแล้วเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 แต่ในปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.8 ยังไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญเลย ร้อยละ 60.8 เคยอ่านฉบับร่างที่รัฐ
แจกให้ตอนลงประชามติบางส่วน ที่อ่านรัฐธรรมนูญจบทั้งฉบับมีเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้น กลุ่มที่ไม่สนใจที่จะอ่านคือร้อยละ 60.3 ของผู้ที่จบการศึกษาต่ำ
กว่าประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 55.6 ของผู้ที่จบประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 43.6 ของผู้ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 44.2 ของผู้ที่จบมัธยมศึกษาปีที่
6 ร้อยละ 38.8 ของผู้จบอนุปริญญา ร้อยละ 22.6 ของผู้จบปริญญาตรี และร้อยละ 19.5 ของผู้ที่จบสูงกว่าปริญญาตรี แสดงให้เห็นว่ายิ่งมีวุฒิการศึกษา
น้อยลงยิ่งไม่อ่านรัฐธรรมนูญมากขึ้น แต่ผู้ที่จบปริญญาตรีก็อ่านรัฐธรรมนูญจบทั้งฉบับเพียงร้อยละ 7.7 และผู้ที่จบสูงกว่าปริญญาตรีก็อ่านจบทั้งฉบับร้อยละ
13.9
กลุ่มอาชีพที่สนใจอ่านจบทั้งฉบับคือนักการเมืองร้อยละ 13.6 ข้าราชการร้อยละ 9.3 นักธุรกิจร้อยละ 7.7 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ
6.7 ค้าขายร้อยละ 6.3 ว่างงานร้อยละ 5.2 รับจ้าง/ลูกจ้างร้อยละ 4.5 และนิสิตนักศึกษาร้อยละ 3.2 โดยร้อยละ 76.9 ของกลุ่มข้าราชการและ
นักธุรกิจ ร้อยละ 68.2 ของกลุ่มนักการเมืองได้อ่านรัฐธรรมนูญบางส่วน กลุ่มที่ไม่อ่านมากที่สุดคือกลุ่มที่ว่างงานร้อยละ 45.4 รองลงมาคือกลุ่มที่ค้าขาย
ร้อยละ 43.5 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 41.0 รับจ้าง/ลูกจ้างร้อยละ 40.6 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 35.0 นักการเมืองร้อยละ 18.2 และนักธุรกิจ
ร้อยละ 15.4
ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าคนไทยสนใจในรายละเอียดของรัฐธรรมนูญน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยของไทยยังไม่สามารถทำ
ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของรายละเอียดของรัฐธรรมนูญมากพอ คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการทำมาหากินและรายได้มากกว่า รัฐธรรมนูญจึง
เป็นเพียงเครื่องมือที่นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจนำมาใช้ในการเล่นเกมทางการเมืองเท่านั้น การลงประชามติที่ถูกต้องจะต้องมีการให้ความรู้แก่
ประชาชนอย่างกว้างขวางทั้งทางตรงและทางอ้อม ต้องให้เวลาประชาชนได้มีโอกาสศึกษาและทำความเข้าใจนานพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐ
ธรรมนูญซึ่งปกติมีคนอ่านน้อยมาก ยิ่งเป็นภาษากฎหมาย ยิ่งเข้าใจยากสำหรับชาวบ้านทั่วไป จะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนการลงประชามติ ระยะ
เวลาจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเรียนรู้ของประชาชน
เมื่อเปรียบเทียบกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในประเทศพม่าวันที่ 10 พฤษภาคม 2550 ท่ามกลางภาวะวิกฤตจากวาตภัยอันมาจาก
พายุ “นากีส” ท่ามกลางร่างผู้ไร้ชีวิตเรือนแสนและซากปรักหักพัง ท่ามกลางความอดอยากแร้นแค้น ไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีกิน ท่ามกลางน้ำตาของชาวพม่า
และความเวทนาของนานาชาติ ประเทศไทยนับว่าโชคดีมหาศาลที่ไม่ต้องพบกับภาวะวิกฤตแบบประเทศพม่า คนไทยส่วนใหญ่แม้จะไม่เข้าใจรายละเอียด
ในรัฐธรรมนูญ 2550 มากนัก แต่ก็พยายามฝ่าวิกฤตทางการเมืองเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยดำเนินต่อไปได้โดยปราศจากความรุนแรง การที่ประชาชน
ส่วนใหญ่ลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในประเทศไทยจึงมีจุดหมายเพียงเพื่อเปิดช่องให้มีการดำเนินการทางการเมืองได้ต่อไปอย่างรวดเร็ว
แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติไปแล้วจะมีผลกระทบอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมทั้งต้องช่วยกันคิดว่าจะ
แก้รัฐธรรมนูญอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาที่ค้นพบได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จึงไม่ต้องรีบเร่งเหมือนกับการพยายามให้ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพื่อ
เปิดช่องให้มีการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้ามีการรีบเร่งให้แก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็ว ก็จะต้องพยายามตอบคำถามให้ได้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์
อะไรถ้ายังไม่แก้ และถ้ารีบเร่งแก้ไขต่อไป จะรับประกันได้หรือไม่ว่าจะไม่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนมีผลกระทบต่อชีวิตคนไทยส่วนใหญ่ ถ้า
ประชาชนพม่าต้องล้มตายเพราะภัยธรรมชาติยังเป็นเหตุผลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ถ้าประชาชนไทยต้องล้มตายเพราะความขัดแย้งทางการเมือง จะยอม
รับได้หรือ
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการอ่านรัฐธรรมนูญ 2550
การอ่านรัฐธรรมนูญ ร้อยละ
อ่านรัฐธรรมนูญบางส่วน 60.8
ไม่อ่านรัฐธรรมนูญเลย 33.8
อ่านรัฐธรรมนูญจบทั้งเล่ม 5.4
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการไม่อ่านรัฐธรรมนูญ 2550 และระดับการศึกษา
อันดับ ระดับการศึกษา ร้อยละ
1 ต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 6 60.3
2 ประถมศึกษาปีที่ 6 55.6
3 มัธยมศึกษาปีที่ 6 44.2
4 มัธยมศึกษาปีที่ 3 43.6
5 อนุปริญญา 38.8
6 ปริญญาตรี 22.6
7 สูงกว่าปริญญาตรี 19.5
ตารางที่ 3 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการอ่านรัฐธรรมนูญ 2550 และอาชีพ
อันดับ อาชีพ อ่านจบ อ่านบางส่วน ไม่อ่าน
1 นักการเมือง 13.6 68.2 18.2
2 ข้าราชการ 9.3 76.9 13.9
3 นักธุรกิจ 7.7 76.9 15.4
4 พนักงานรัฐวิสาหกิจ 6.7 58.3 35
5 ค้าขาย 6.3 50.3 43.5
6 ว่างงาน 5.2 49.5 45.4
7 รับจ้าง/ลูกจ้าง 4.5 54.8 40.6
8 นิสิตนักศึกษา 3.2 55.8 41
อื่นๆ 7 60.6 32.4
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ความชอบธรรมในการใช้รัฐธรรมนูญต่อไป ขณะเดียวกัน ในประเทศไทยก็มีความพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 ซึ่งผ่าน
การลงประชามติมาแล้ว จนเป็นที่มาของความขัดแย้งทางความคิดและข่าวลือเรื่อง “การปฏิวัติ”
ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีภูมิลำเนาทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดในช่วงวัน
ที่ 9-10 พฤษภาคม 2551 จำนวน 3,573 คน เรื่อง “ความสนใจของคนไทยที่มีต่อรัฐธรรมนูญ 2550” พบว่าแม้ประเทศไทยมีการลงประชามติร่างรัฐ
ธรรมนูญมาแล้วเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2550 แต่ในปัจจุบันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 33.8 ยังไม่ได้อ่านรัฐธรรมนูญเลย ร้อยละ 60.8 เคยอ่านฉบับร่างที่รัฐ
แจกให้ตอนลงประชามติบางส่วน ที่อ่านรัฐธรรมนูญจบทั้งฉบับมีเพียงร้อยละ 5.4 เท่านั้น กลุ่มที่ไม่สนใจที่จะอ่านคือร้อยละ 60.3 ของผู้ที่จบการศึกษาต่ำ
กว่าประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 55.6 ของผู้ที่จบประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 43.6 ของผู้ที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 44.2 ของผู้ที่จบมัธยมศึกษาปีที่
6 ร้อยละ 38.8 ของผู้จบอนุปริญญา ร้อยละ 22.6 ของผู้จบปริญญาตรี และร้อยละ 19.5 ของผู้ที่จบสูงกว่าปริญญาตรี แสดงให้เห็นว่ายิ่งมีวุฒิการศึกษา
น้อยลงยิ่งไม่อ่านรัฐธรรมนูญมากขึ้น แต่ผู้ที่จบปริญญาตรีก็อ่านรัฐธรรมนูญจบทั้งฉบับเพียงร้อยละ 7.7 และผู้ที่จบสูงกว่าปริญญาตรีก็อ่านจบทั้งฉบับร้อยละ
13.9
กลุ่มอาชีพที่สนใจอ่านจบทั้งฉบับคือนักการเมืองร้อยละ 13.6 ข้าราชการร้อยละ 9.3 นักธุรกิจร้อยละ 7.7 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ
6.7 ค้าขายร้อยละ 6.3 ว่างงานร้อยละ 5.2 รับจ้าง/ลูกจ้างร้อยละ 4.5 และนิสิตนักศึกษาร้อยละ 3.2 โดยร้อยละ 76.9 ของกลุ่มข้าราชการและ
นักธุรกิจ ร้อยละ 68.2 ของกลุ่มนักการเมืองได้อ่านรัฐธรรมนูญบางส่วน กลุ่มที่ไม่อ่านมากที่สุดคือกลุ่มที่ว่างงานร้อยละ 45.4 รองลงมาคือกลุ่มที่ค้าขาย
ร้อยละ 43.5 นิสิตนักศึกษาร้อยละ 41.0 รับจ้าง/ลูกจ้างร้อยละ 40.6 พนักงานรัฐวิสาหกิจร้อยละ 35.0 นักการเมืองร้อยละ 18.2 และนักธุรกิจ
ร้อยละ 15.4
ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ว่าคนไทยสนใจในรายละเอียดของรัฐธรรมนูญน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยของไทยยังไม่สามารถทำ
ให้ประชาชนเห็นความสำคัญของรายละเอียดของรัฐธรรมนูญมากพอ คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการทำมาหากินและรายได้มากกว่า รัฐธรรมนูญจึง
เป็นเพียงเครื่องมือที่นักการเมืองหรือผู้มีอำนาจนำมาใช้ในการเล่นเกมทางการเมืองเท่านั้น การลงประชามติที่ถูกต้องจะต้องมีการให้ความรู้แก่
ประชาชนอย่างกว้างขวางทั้งทางตรงและทางอ้อม ต้องให้เวลาประชาชนได้มีโอกาสศึกษาและทำความเข้าใจนานพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐ
ธรรมนูญซึ่งปกติมีคนอ่านน้อยมาก ยิ่งเป็นภาษากฎหมาย ยิ่งเข้าใจยากสำหรับชาวบ้านทั่วไป จะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนการลงประชามติ ระยะ
เวลาจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการเรียนรู้ของประชาชน
เมื่อเปรียบเทียบกับการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในประเทศพม่าวันที่ 10 พฤษภาคม 2550 ท่ามกลางภาวะวิกฤตจากวาตภัยอันมาจาก
พายุ “นากีส” ท่ามกลางร่างผู้ไร้ชีวิตเรือนแสนและซากปรักหักพัง ท่ามกลางความอดอยากแร้นแค้น ไร้ที่อยู่อาศัย ไม่มีกิน ท่ามกลางน้ำตาของชาวพม่า
และความเวทนาของนานาชาติ ประเทศไทยนับว่าโชคดีมหาศาลที่ไม่ต้องพบกับภาวะวิกฤตแบบประเทศพม่า คนไทยส่วนใหญ่แม้จะไม่เข้าใจรายละเอียด
ในรัฐธรรมนูญ 2550 มากนัก แต่ก็พยายามฝ่าวิกฤตทางการเมืองเพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยดำเนินต่อไปได้โดยปราศจากความรุนแรง การที่ประชาชน
ส่วนใหญ่ลงประชามติผ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ในประเทศไทยจึงมีจุดหมายเพียงเพื่อเปิดช่องให้มีการดำเนินการทางการเมืองได้ต่อไปอย่างรวดเร็ว
แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านการลงประชามติไปแล้วจะมีผลกระทบอย่างไร เป็นเรื่องที่จะต้องทำการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมทั้งต้องช่วยกันคิดว่าจะ
แก้รัฐธรรมนูญอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาที่ค้นพบได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จึงไม่ต้องรีบเร่งเหมือนกับการพยายามให้ลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญเพื่อ
เปิดช่องให้มีการเลือกตั้งอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ถ้ามีการรีบเร่งให้แก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างรวดเร็ว ก็จะต้องพยายามตอบคำถามให้ได้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์
อะไรถ้ายังไม่แก้ และถ้ารีบเร่งแก้ไขต่อไป จะรับประกันได้หรือไม่ว่าจะไม่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองจนมีผลกระทบต่อชีวิตคนไทยส่วนใหญ่ ถ้า
ประชาชนพม่าต้องล้มตายเพราะภัยธรรมชาติยังเป็นเหตุผลที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แต่ถ้าประชาชนไทยต้องล้มตายเพราะความขัดแย้งทางการเมือง จะยอม
รับได้หรือ
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการอ่านรัฐธรรมนูญ 2550
การอ่านรัฐธรรมนูญ ร้อยละ
อ่านรัฐธรรมนูญบางส่วน 60.8
ไม่อ่านรัฐธรรมนูญเลย 33.8
อ่านรัฐธรรมนูญจบทั้งเล่ม 5.4
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการไม่อ่านรัฐธรรมนูญ 2550 และระดับการศึกษา
อันดับ ระดับการศึกษา ร้อยละ
1 ต่ำกว่าประถมศึกษาปีที่ 6 60.3
2 ประถมศึกษาปีที่ 6 55.6
3 มัธยมศึกษาปีที่ 6 44.2
4 มัธยมศึกษาปีที่ 3 43.6
5 อนุปริญญา 38.8
6 ปริญญาตรี 22.6
7 สูงกว่าปริญญาตรี 19.5
ตารางที่ 3 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการอ่านรัฐธรรมนูญ 2550 และอาชีพ
อันดับ อาชีพ อ่านจบ อ่านบางส่วน ไม่อ่าน
1 นักการเมือง 13.6 68.2 18.2
2 ข้าราชการ 9.3 76.9 13.9
3 นักธุรกิจ 7.7 76.9 15.4
4 พนักงานรัฐวิสาหกิจ 6.7 58.3 35
5 ค้าขาย 6.3 50.3 43.5
6 ว่างงาน 5.2 49.5 45.4
7 รับจ้าง/ลูกจ้าง 4.5 54.8 40.6
8 นิสิตนักศึกษา 3.2 55.8 41
อื่นๆ 7 60.6 32.4
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-