ในยุค “ข้าวยากหมากแพง” และประเทศไทยถูกจัดอันดับความสงบสุข ในลำดับท้ายๆ แต่รัฐบาลก็พยายามมุ่งหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญจนเกิด
ความขัดแย้งที่อาจบานปลายต่อไปได้ ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อ
วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2551 จำนวน 2,003 คน เรื่อง “ผลกระทบของข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อความรู้สึกของประชาชนในยามวิกฤตเศรษฐกิจ”
พบว่าร้อยละ 68.8 เห็นว่าความพยายามจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ร้อย
ละ 17.0 ไม่มีความเห็น และร้อยละ 14.2 เห็นว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพราะร้อยละ 92.6 คิดว่าปัญหาเร่ง
ด่วนที่รัฐบาลควรทำในขณะนี้คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มีเพียงร้อยละ 4.5 ที่คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นเรื่องเร่งด่วน และอีกร้อย
ละ 2.9 เห็นว่าการปฏิรูปสื่อมวลชนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องแก้ปัญหา ทั้งนี้ ร้อยละ 65.1 ไม่เห็นด้วยกับการที่นายกรัฐมนตรีจะอนุมัติงบประมาณ
2,000 ล้านบาทเพื่อให้ประชาชนลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ร้อยละ 21.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.2 เห็นด้วย โดยร้อยละ
46.5 เห็นว่าควรนำงบประมาณดังกล่าวไปช่วยเหลือคนยากจน ร้อยละ 26.9 เห็นว่าควรนำไปลงทุนพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน และร้อย
ละ 26.7 เห็นว่าควรนำไปเป็นทุนการศึกษา
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ร้อยละ 77.3 ตอบว่าเบื่อหน่าย หมดหวัง ท้อแท้ ร้อยละ 20.7 เฉยๆ
และร้อยละ 2.0 รู้สึกสนุก โดยร้อยละ 46.3 เห็นว่าความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิด
ความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 34.0 เห็นว่าปัญหาน้ำมันแพง และร้อยละ 19.8 เห็นว่าคำปาฐกถาของนายจักรภพ เพ็ญแข ที่มีข่าวว่ามีทัศนคติที่เป็น
อันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ส่วนบุคคลในคณะรัฐมนตรีที่จะทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองมากที่สุดในขณะนี้
ร้อยละ 60.5 คิดว่านายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 27.4 คิดว่านายจักรภพ เพ็ญแข ร้อยละ 8.2 คิดว่าร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และร้อยละ 3.9 คิด
ว่านายไชยา สะสมทรัพย์
นี่คือผลกระทบของข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนซึ่งมีรายได้ต่ำสุดเดือนละ 6,500 บาท สูงสุดเดือน
ละ 150,000 บาท เฉลี่ย 10,686.54 บาท ซึ่งกำลังรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในยามเศรษฐกิจวิกฤต
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อความขัดแย้งทางการเมืองในกรณีความพยายามจะให้
มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
อันดับ ร้อยละ
1 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม 68.8
2 ไม่มีความเห็น 17
3 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 14.2
รวม 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลควรทำในขณะนี้
อันดับ ร้อยละ
1 แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 92.6
2 แก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 4.5
3 ปฏิรูปสื่อมวลชน 2.9
รวม 100
ตารางที่ 3 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อการที่นายกรัฐมนตรีจะอนุมัติงบประมาณ 2,000 ล้านบาท
เพื่อให้ประชาชนลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
อันดับ ร้อยละ
1 ไม่เห็นด้วย 65.1
2 ไม่แน่ใจ 21.7
3 เห็นด้วย 13.2
รวม 100
ตารางที่ 4 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อการนำงบประมาณ 2,000 ล้านบาทไปใช้ทำมากที่สุด
อันดับ ร้อยละ
1 ช่วยเหลือคนยากจน 46.5
2 ลงทุนพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน 26.9
3 ให้ทุนการศึกษา 26.7
รวม 100
ตารางที่ 5 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
อันดับ ร้อยละ
1 เบื่อหน่าย หมดหวัง ท้อแท้ 77.3
2 เฉยๆ 20.7
3 สนุก 2
รวม 100
ตารางที่ 6 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงมากที่สุด
อันดับ ร้อยละ
1 ความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 46.3
2 ปัญหาน้ำมันแพง 34
3 คำปาฐกถาของนายจักรภพ เพ็ญแข ที่มีข่าวว่ามีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 19.8
รวม 100
ตารางที่ 7 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นต่อบุคคลในคณะรัฐมนตรีที่จะทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองมากที่สุดในขณะนี้
อันดับ ร้อยละ
1 นายสมัคร สุนทรเวช 60.5
2 นายจักรภพ เพ็ญแข 27.4
3 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 8.2
4 นายไชยา สะสมทรัพย์ 3.9
รวม 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ความขัดแย้งที่อาจบานปลายต่อไปได้ ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อ
วันที่ 23-24 พฤษภาคม 2551 จำนวน 2,003 คน เรื่อง “ผลกระทบของข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อความรู้สึกของประชาชนในยามวิกฤตเศรษฐกิจ”
พบว่าร้อยละ 68.8 เห็นว่าความพยายามจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ร้อย
ละ 17.0 ไม่มีความเห็น และร้อยละ 14.2 เห็นว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพราะร้อยละ 92.6 คิดว่าปัญหาเร่ง
ด่วนที่รัฐบาลควรทำในขณะนี้คือการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มีเพียงร้อยละ 4.5 ที่คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 เป็นเรื่องเร่งด่วน และอีกร้อย
ละ 2.9 เห็นว่าการปฏิรูปสื่อมวลชนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องแก้ปัญหา ทั้งนี้ ร้อยละ 65.1 ไม่เห็นด้วยกับการที่นายกรัฐมนตรีจะอนุมัติงบประมาณ
2,000 ล้านบาทเพื่อให้ประชาชนลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ร้อยละ 21.7 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.2 เห็นด้วย โดยร้อยละ
46.5 เห็นว่าควรนำงบประมาณดังกล่าวไปช่วยเหลือคนยากจน ร้อยละ 26.9 เห็นว่าควรนำไปลงทุนพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน และร้อย
ละ 26.7 เห็นว่าควรนำไปเป็นทุนการศึกษา
เมื่อถามถึงความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ร้อยละ 77.3 ตอบว่าเบื่อหน่าย หมดหวัง ท้อแท้ ร้อยละ 20.7 เฉยๆ
และร้อยละ 2.0 รู้สึกสนุก โดยร้อยละ 46.3 เห็นว่าความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิด
ความรุนแรงมากที่สุด ร้อยละ 34.0 เห็นว่าปัญหาน้ำมันแพง และร้อยละ 19.8 เห็นว่าคำปาฐกถาของนายจักรภพ เพ็ญแข ที่มีข่าวว่ามีทัศนคติที่เป็น
อันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ส่วนบุคคลในคณะรัฐมนตรีที่จะทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองมากที่สุดในขณะนี้
ร้อยละ 60.5 คิดว่านายสมัคร สุนทรเวช ร้อยละ 27.4 คิดว่านายจักรภพ เพ็ญแข ร้อยละ 8.2 คิดว่าร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และร้อยละ 3.9 คิด
ว่านายไชยา สะสมทรัพย์
นี่คือผลกระทบของข่าวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนซึ่งมีรายได้ต่ำสุดเดือนละ 6,500 บาท สูงสุดเดือน
ละ 150,000 บาท เฉลี่ย 10,686.54 บาท ซึ่งกำลังรอความช่วยเหลือจากรัฐบาลในยามเศรษฐกิจวิกฤต
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อความขัดแย้งทางการเมืองในกรณีความพยายามจะให้
มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
อันดับ ร้อยละ
1 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม 68.8
2 ไม่มีความเห็น 17
3 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน 14.2
รวม 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลควรทำในขณะนี้
อันดับ ร้อยละ
1 แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ 92.6
2 แก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 4.5
3 ปฏิรูปสื่อมวลชน 2.9
รวม 100
ตารางที่ 3 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อการที่นายกรัฐมนตรีจะอนุมัติงบประมาณ 2,000 ล้านบาท
เพื่อให้ประชาชนลงประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
อันดับ ร้อยละ
1 ไม่เห็นด้วย 65.1
2 ไม่แน่ใจ 21.7
3 เห็นด้วย 13.2
รวม 100
ตารางที่ 4 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อการนำงบประมาณ 2,000 ล้านบาทไปใช้ทำมากที่สุด
อันดับ ร้อยละ
1 ช่วยเหลือคนยากจน 46.5
2 ลงทุนพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน 26.9
3 ให้ทุนการศึกษา 26.7
รวม 100
ตารางที่ 5 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน
อันดับ ร้อยละ
1 เบื่อหน่าย หมดหวัง ท้อแท้ 77.3
2 เฉยๆ 20.7
3 สนุก 2
รวม 100
ตารางที่ 6 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อเหตุการณ์ที่ทำให้ประเทศไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงมากที่สุด
อันดับ ร้อยละ
1 ความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 46.3
2 ปัญหาน้ำมันแพง 34
3 คำปาฐกถาของนายจักรภพ เพ็ญแข ที่มีข่าวว่ามีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข 19.8
รวม 100
ตารางที่ 7 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นต่อบุคคลในคณะรัฐมนตรีที่จะทำให้เกิดปัญหาทางการเมืองมากที่สุดในขณะนี้
อันดับ ร้อยละ
1 นายสมัคร สุนทรเวช 60.5
2 นายจักรภพ เพ็ญแข 27.4
3 ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 8.2
4 นายไชยา สะสมทรัพย์ 3.9
รวม 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-