ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศประการหนึ่งนอกเหนือจากการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนในระดับ
รากหญ้าหรือรากแก้ว ก็คือการฉ้อราษฎร์บังหลวงของภาครัฐ ทำให้เกิดการรั่วไหลของเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินนอกงบประมาณ ซึ่งควรจะนำมา
ใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเต็มที่ กลับกลายไปเป็นประโยชน์ต่อคนบางพรรคบางพวกหรือเป็นประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีอำนาจมากกว่าส่วนรวม รัฐบาล
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จึงต้องแถลงชัดเจนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550 เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนในการร่วมมือกันต่อต้านการฉ้อราษฎร์บัง
หลวง ซึ่งเป็นภัยร้ายคุกคามประเทศชาติอยู่ในปัจจุบัน ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี
ภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวน 4822 คน ในหัวข้อ “ภาพลักษณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวงของภาครัฐในทัศนะประชาชน” เพื่อ
ทราบความคิดเห็นของประชาชนมีต่อภาครัฐ ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการและการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อ
การฉ้อราษฎร์บังหลวง
ผลการศึกษาพบว่าในด้านความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ ประชาชนมีความเห็นว่าสอบผ่านเพียงร้อยละ 39.2 ร้อยละ 56.9 ให้สอบ
ตก อีกร้อยละ 3.9 ไม่ตอบ ในด้านการเปิดเผยการจัดซื้อจัดจ้างต่อสาธารณะ ร้อยละ 38.7 ให้สอบผ่าน ร้อยละ 57.9 ให้สอบตก ร้อยละ 3.4
ไม่ตอบ ส่วนด้านความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ร้อยละ 39.5 ให้สอบผ่าน ร้อยละ 56.8 ให้สอบตก ร้อยละ 3.7 ไม่ตอบ
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจ ค้าขาย รับจ้าง และลูกจ้าง ให้คะแนนภาครัฐสอบตกในด้านความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ
และการเปิดเผยการจัดซื้อจัดจ้างต่อสาธารณะมากกว่าข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจ ค้าขาย รับ
จ้าง และลูกจ้างอาจจะได้รับข้อมูลหรือมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับภาครัฐในเรื่องดังกล่าว การที่ประชาชนเกือบร้อยละ 60 เห็นว่าภาครัฐสอบตกด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริตและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง แม้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเองก็ยังให้สอบตกมากกว่าสอบผ่าน ยิ่งตอกย้ำภัยร้าย
จากการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์กล่าวถึงอย่างชัดเจน
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ประเมินภาพลักษณ์ของภาครัฐในด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ภาพลักษณ์ของภาครัฐ สอบผ่าน สอบตก ไม่ตอบ รวม
ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ 39.2 56.9 3.9 100
การเปิดเผยต่อสาธารณะในการจัดซื้อจัดจ้าง 38.7 57.9 3.4 100
ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 39.5 56.8 3.7 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ประเมินภาพลักษณ์ของภาครัฐในด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงจำแนกตามอาชีพ
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างผู้ประเมิน
ภาพลักษณ์ของภาครัฐ ผลการประเมิน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักธุรกิจ ค้าขาย รับจ้าง/ลูกจ้าง
ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ สอบผ่าน 43.3 43.8 39.2 31.8 33
สอบตก 52.8 51.5 55.9 60.3 62.7
การเปิดเผยต่อสาธารณะในการจัดซื้อจัดจ้าง สอบผ่าน 42.2 40.7 37.6 34.3 33.1
สอบตก 54.6 56 60.5 60.3 62.8
ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สอบผ่าน 39.4 42.9 43.5 40.2 33.4
สอบตก 57.8 53.7 51.6 51.9 62.1
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
รากหญ้าหรือรากแก้ว ก็คือการฉ้อราษฎร์บังหลวงของภาครัฐ ทำให้เกิดการรั่วไหลของเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินนอกงบประมาณ ซึ่งควรจะนำมา
ใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างเต็มที่ กลับกลายไปเป็นประโยชน์ต่อคนบางพรรคบางพวกหรือเป็นประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีอำนาจมากกว่าส่วนรวม รัฐบาล
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์จึงต้องแถลงชัดเจนเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550 เพื่อขอความร่วมมือจากประชาชนในการร่วมมือกันต่อต้านการฉ้อราษฎร์บัง
หลวง ซึ่งเป็นภัยร้ายคุกคามประเทศชาติอยู่ในปัจจุบัน ศูนย์ประชามติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี
ภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด จำนวน 4822 คน ในหัวข้อ “ภาพลักษณ์การฉ้อราษฎร์บังหลวงของภาครัฐในทัศนะประชาชน” เพื่อ
ทราบความคิดเห็นของประชาชนมีต่อภาครัฐ ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการและการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อ
การฉ้อราษฎร์บังหลวง
ผลการศึกษาพบว่าในด้านความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ ประชาชนมีความเห็นว่าสอบผ่านเพียงร้อยละ 39.2 ร้อยละ 56.9 ให้สอบ
ตก อีกร้อยละ 3.9 ไม่ตอบ ในด้านการเปิดเผยการจัดซื้อจัดจ้างต่อสาธารณะ ร้อยละ 38.7 ให้สอบผ่าน ร้อยละ 57.9 ให้สอบตก ร้อยละ 3.4
ไม่ตอบ ส่วนด้านความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ร้อยละ 39.5 ให้สอบผ่าน ร้อยละ 56.8 ให้สอบตก ร้อยละ 3.7 ไม่ตอบ
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจ ค้าขาย รับจ้าง และลูกจ้าง ให้คะแนนภาครัฐสอบตกในด้านความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ
และการเปิดเผยการจัดซื้อจัดจ้างต่อสาธารณะมากกว่าข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ที่ประกอบอาชีพธุรกิจ ค้าขาย รับ
จ้าง และลูกจ้างอาจจะได้รับข้อมูลหรือมีประสบการณ์ไม่ดีเกี่ยวกับภาครัฐในเรื่องดังกล่าว การที่ประชาชนเกือบร้อยละ 60 เห็นว่าภาครัฐสอบตกด้าน
ความซื่อสัตย์สุจริตและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง แม้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเองก็ยังให้สอบตกมากกว่าสอบผ่าน ยิ่งตอกย้ำภัยร้าย
จากการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์กล่าวถึงอย่างชัดเจน
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ประเมินภาพลักษณ์ของภาครัฐในด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวง
ภาพลักษณ์ของภาครัฐ สอบผ่าน สอบตก ไม่ตอบ รวม
ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ 39.2 56.9 3.9 100
การเปิดเผยต่อสาธารณะในการจัดซื้อจัดจ้าง 38.7 57.9 3.4 100
ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง 39.5 56.8 3.7 100
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ประเมินภาพลักษณ์ของภาครัฐในด้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงจำแนกตามอาชีพ
อาชีพของกลุ่มตัวอย่างผู้ประเมิน
ภาพลักษณ์ของภาครัฐ ผลการประเมิน ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักธุรกิจ ค้าขาย รับจ้าง/ลูกจ้าง
ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ สอบผ่าน 43.3 43.8 39.2 31.8 33
สอบตก 52.8 51.5 55.9 60.3 62.7
การเปิดเผยต่อสาธารณะในการจัดซื้อจัดจ้าง สอบผ่าน 42.2 40.7 37.6 34.3 33.1
สอบตก 54.6 56 60.5 60.3 62.8
ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง สอบผ่าน 39.4 42.9 43.5 40.2 33.4
สอบตก 57.8 53.7 51.6 51.9 62.1
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-