ในขณะที่สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) กำลังเคร่งเครียดอยู่กับการวางกฎกติกาเพื่อการปฏิรูปการเมืองและการจัดให้มีการเลือกตั้ง
โดยเร็วที่สุด ประเด็นหนึ่งที่สสร.ไม่ควรลืมก็คือสิทธิขั้นพื้นฐานและโอกาสด้านการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสของคนด้อยโอกาส นอก
จากนี้ ต้องไม่ลืมว่าการปฏิรูปการเมืองจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้หากไม่มีการปฏิรูปการศึกษาควบคู่กันไป สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้น
ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภูมิภาคในประเทศไทยจำนวน 2384 คน เมื่อวันที่ 12-22 มีนาคม
2550 ในหัวข้อ “แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย” โดยให้ประชาชนให้น้ำหนักความสำคัญของแนวทางดังกล่าวสูงสุด 4 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน
ผลการสำรวจพบว่าการออกกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักศึกษา เพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีโอกาสสำเร็จ
การศึกษาได้เท่าเทียมกับนักศึกษาที่มีทุนทรัพย์ มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ได้ 3.61 คะแนน รองลงมา อันดับ 2 คือการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บค่า
หน่วยกิตนักศึกษาที่เปิดโอกาสให้คนยากจนแต่มีความรู้ความสามารถ ได้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาด้วย และ การให้ทุกมหาวิทยาลัยเน้นการ
ดูแลรักษาอาจารย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมไว้ทำงานในมหาวิทยาลัยต่อไปเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา ได้ 3.56 คะแนน อันดับ 3 การให้รัฐมีนโยบายส่ง
เสริมการวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ และ มีนโยบายพัฒนาคุณภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ให้สอดคล้องกับการ
เพิ่มปริมาณของนักศึกษา ได้ 3.42 คะแนน อันดับ 4 การจัดทำโครงการส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยสอนแก่นักศึกษา
รุ่นน้อง และพัฒนาให้เป็นอาจารย์ต่อไป ได้ 3.29 คะแนน อันดับ 5 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง มีความเป็น
อิสระในการบริหาร แต่ยังอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ ได้ 3.03 คะแนน อันดับ 6 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง
มีความเป็นอิสระในการบริหาร ไม่ต้องขึ้นกับรัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ได้ 2.57 คะแนน และ อันดับ 7 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีความ
เป็นอิสระในการบริหารการเงินของตนเองโดยไม่ต้องรอพึ่งงบประมาณจากรัฐ ได้ 2.52 คะแนน
การให้น้ำหนักความสำคัญของแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยดังกล่าวบ่งชี้ว่าประชาชนทั่วไปไม่ได้ให้ความสำคัญกับการออกนอกระบบ
ของมหาวิทยาลัยเท่าใดนัก แต่ให้ความสำคัญกับการให้โอกาสแก่คนยากจนที่มีความรู้ความสามารถได้เรียนจนสำเร็จการศึกษา เน้นความมีคุณภาพและ
คุณธรรมของอาจารย์ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการวิจัยและการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการอย่างเต็มที่ โจทย์จึงอยู่ที่ว่ามุมมองของผู้บริหารการศึกษาที่
มีนโยบายออกนอกระบบกับมุมมองของนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจะสมานฉันท์กันได้ ณ จุดใด
ตารางที่ 1 ระดับความสำคัญของแนวทางในการปฏิรูปอุดมศึกษาตามความคิดเห็นของประชาชน
อันดับ แนวทางในการปฏิรูปการศึกษา ระดับความสำคัญ
ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
1 การออกกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักศึกษา เพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
มีโอกาสสำเร็จการศึกษาได้เท่าเทียมกับนักศึกษาที่มีทุนทรัพย์ 3.61
2 การออกกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บค่าหน่วยกิตนักศึกษาที่เปิดโอกาสให้คนยากจนแต่มีความรู้ความสามารถ
ได้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาด้วย 3.56
2 ให้ทุกมหาวิทยาลัยเน้นการดูแลรักษาอาจารย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมไว้ทำงานในมหาวิทยาลัยต่อไป
เพื่อประโยชน์ของนักศึกษา 3.56
3 ให้รัฐมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ 3.42
3 ให้รัฐมีนโยบายพัฒนาคุณภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ให้สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณของนักศึกษา 3.42
4 การจัดทำโครงการส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยสอนแก่นักศึกษารุ่นน้อง
และพัฒนาให้เป็นอาจารย์ต่อไป 3.29
5 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหาร
แต่ยังอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ 3.03
6 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหาร
ไม่ต้องขึ้นกับรัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว 2.57
7 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีความเป็นอิสระในการบริหารการเงินของตนเองโดยไม่ต้องรอพึ่งงบ
ประมาณจากรัฐ 2.52
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
โดยเร็วที่สุด ประเด็นหนึ่งที่สสร.ไม่ควรลืมก็คือสิทธิขั้นพื้นฐานและโอกาสด้านการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสของคนด้อยโอกาส นอก
จากนี้ ต้องไม่ลืมว่าการปฏิรูปการเมืองจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้หากไม่มีการปฏิรูปการศึกษาควบคู่กันไป สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษานั้น
ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทุกภูมิภาคในประเทศไทยจำนวน 2384 คน เมื่อวันที่ 12-22 มีนาคม
2550 ในหัวข้อ “แนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย” โดยให้ประชาชนให้น้ำหนักความสำคัญของแนวทางดังกล่าวสูงสุด 4 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน
ผลการสำรวจพบว่าการออกกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักศึกษา เพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีโอกาสสำเร็จ
การศึกษาได้เท่าเทียมกับนักศึกษาที่มีทุนทรัพย์ มีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ได้ 3.61 คะแนน รองลงมา อันดับ 2 คือการออกกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บค่า
หน่วยกิตนักศึกษาที่เปิดโอกาสให้คนยากจนแต่มีความรู้ความสามารถ ได้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาด้วย และ การให้ทุกมหาวิทยาลัยเน้นการ
ดูแลรักษาอาจารย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมไว้ทำงานในมหาวิทยาลัยต่อไปเพื่อประโยชน์ของนักศึกษา ได้ 3.56 คะแนน อันดับ 3 การให้รัฐมีนโยบายส่ง
เสริมการวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ และ มีนโยบายพัฒนาคุณภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ให้สอดคล้องกับการ
เพิ่มปริมาณของนักศึกษา ได้ 3.42 คะแนน อันดับ 4 การจัดทำโครงการส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยสอนแก่นักศึกษา
รุ่นน้อง และพัฒนาให้เป็นอาจารย์ต่อไป ได้ 3.29 คะแนน อันดับ 5 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง มีความเป็น
อิสระในการบริหาร แต่ยังอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ ได้ 3.03 คะแนน อันดับ 6 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง
มีความเป็นอิสระในการบริหาร ไม่ต้องขึ้นกับรัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว ได้ 2.57 คะแนน และ อันดับ 7 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีความ
เป็นอิสระในการบริหารการเงินของตนเองโดยไม่ต้องรอพึ่งงบประมาณจากรัฐ ได้ 2.52 คะแนน
การให้น้ำหนักความสำคัญของแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยดังกล่าวบ่งชี้ว่าประชาชนทั่วไปไม่ได้ให้ความสำคัญกับการออกนอกระบบ
ของมหาวิทยาลัยเท่าใดนัก แต่ให้ความสำคัญกับการให้โอกาสแก่คนยากจนที่มีความรู้ความสามารถได้เรียนจนสำเร็จการศึกษา เน้นความมีคุณภาพและ
คุณธรรมของอาจารย์ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการวิจัยและการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการอย่างเต็มที่ โจทย์จึงอยู่ที่ว่ามุมมองของผู้บริหารการศึกษาที่
มีนโยบายออกนอกระบบกับมุมมองของนักศึกษาและประชาชนทั่วไปจะสมานฉันท์กันได้ ณ จุดใด
ตารางที่ 1 ระดับความสำคัญของแนวทางในการปฏิรูปอุดมศึกษาตามความคิดเห็นของประชาชน
อันดับ แนวทางในการปฏิรูปการศึกษา ระดับความสำคัญ
ระดับปริญญาตรีขึ้นไป
1 การออกกฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการนักศึกษา เพื่อช่วยเหลือให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
มีโอกาสสำเร็จการศึกษาได้เท่าเทียมกับนักศึกษาที่มีทุนทรัพย์ 3.61
2 การออกกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บค่าหน่วยกิตนักศึกษาที่เปิดโอกาสให้คนยากจนแต่มีความรู้ความสามารถ
ได้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาด้วย 3.56
2 ให้ทุกมหาวิทยาลัยเน้นการดูแลรักษาอาจารย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรมไว้ทำงานในมหาวิทยาลัยต่อไป
เพื่อประโยชน์ของนักศึกษา 3.56
3 ให้รัฐมีนโยบายส่งเสริมการวิจัยในมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างเต็มที่ 3.42
3 ให้รัฐมีนโยบายพัฒนาคุณภาพทางวิชาการในมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่ให้สอดคล้องกับการเพิ่มปริมาณของนักศึกษา 3.42
4 การจัดทำโครงการส่งเสริมนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยสอนแก่นักศึกษารุ่นน้อง
และพัฒนาให้เป็นอาจารย์ต่อไป 3.29
5 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหาร
แต่ยังอยู่ในการกำกับดูแลของรัฐ 3.03
6 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่งที่พร้อมจะบริหารงานของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหาร
ไม่ต้องขึ้นกับรัฐ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว 2.57
7 การให้มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่งมีความเป็นอิสระในการบริหารการเงินของตนเองโดยไม่ต้องรอพึ่งงบ
ประมาณจากรัฐ 2.52
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-