โรคหลงผิด (Delusional disorder) เดิมเรียกว่า โรคหวาดระแวง (Paranoid disorder) เป็นโรคจิตชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการ
หลงผิดซึ่งเป็นความผิดปกติของความคิด โดยจะเชื่ออย่างสนิทใจในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เหตุผล พบประมาณร้อย
ละ 0.3 ของประชากร มักเริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่ ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มีหลายชนิด เช่น หลงผิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตนหรือเป็นคู่รักของตน
(Erotomanic type) หลงผิดว่ามีความสามารถเกินความเป็นจริง มีคุณค่า อำนาจ ความรู้สูง ทรัพย์สินเงินทองมาก (Grandiose type) หลงผิด
ว่าคู่ของตนนอกใจ (Jealous type) หลงผิดว่าถูกปองร้าย (Persecutory type) และหลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรค
บางอย่าง (Somatic type) โรคนี้วินิจฉัยเบื้องต้นได้ยากเพราะเป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนปกติด้วย ในปัจจุบันสังคมไทยมีปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิด
ความหวาดระแวงได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารการวางระเบิดที่เกิดขึ้นในภาคใต้และกรุงเทพมหานคร ตลอดจนข่าวลือเกี่ยวกับวันมาฆบูชา
ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความรู้สึกของประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 1197 คน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 ในหัว
ข้อ “ความหวาดระแวงของคนไทยในวันมาฆบูชา” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไข
ผลการสำรวจปรากฏว่าร้อยละ 56.2 จะไปทำบุญในวันมาฆบูชา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แต่ร้อยละ 51.8 ถ้ามีโอกาสไปจังหวัด
ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสก็จะไม่ไปเพราะกลัวถูกยิง ร้อยละ 47.6 กลัวระเบิดในที่สาธารณะ เช่น บนรถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่ง สถานี
รถไฟ สนามบิน เป็นต้น ร้อยละ 36.8 กลัวเกิดการปะทะกันนองเลือดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ
32.4 กลัวจะเกิดระเบิดทั้งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์ ร้อยละ 32.0 เข้าห้องน้ำในห้างสรรพสินค้าหรือที่สาธารณะต่างๆ จะตรวจดูในห้องน้ำว่ามี
ระเบิดซุกซ่อนอยู่หรือเปล่า ร้อยละ 22.9 จะคอยเหลียวดูข้างๆ ตัวบ่อยๆ เพราะกลัวคนมาทำร้าย ร้อยละ 22.0 กลัวจะมีการระเบิดบริเวณวัดในงาน
วันมาฆบูชา ร้อยละ 20.7 ตั้งใจจะไม่ไปวัดในวันมาฆบูชา จึงไม่กลัวจะเกิดระเบิดในวัด ในขณะที่ร้อยละ 9.6 จะไม่ไปทำบุญที่วัดเพราะกลัวจะมี
ระเบิด
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 14.7 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้าเพราะกลัวระเบิด ร้อยละ 11.9 ได้ยินเสียงประทัดจะนึกว่าเสียงระเบิดเป็นประจำ
นอกจากนี้ ร้อยละ 9.3 มีอาการหูแว่วบ่อยๆ ร้อยละ 8.8 เห็นภาพแปลกๆ ตลอด และร้อยละ 8.7 บอกว่าโดยปกติกลัวว่าจะมีคนมาทำ
ร้ายตนเองเป็นประจำ
ส่วนเรื่องการเมือง ร้อยละ 36.6 เห็นว่าการที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลาออกเปรียบเสมือน
ระเบิดทางการเมืองที่มีต่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อีกร้อยละ 63.4 เห็นว่าไม่ใช่
ข้อคิดที่ได้จากข้อมูลดังกล่าวก็คือ แม้ว่ามากกว่าครึ่งตั้งใจจะไปทำบุญในวันมาฆบูชา แต่มากกว่าครึ่งก็ไม่กล้าไปสามจังหวัดภาคใต้ มากกว่า
ร้อยละ 20 หวาดระแวงระเบิด และเกือบร้อยละ 10 มีอาการหูแว่วบ่อยๆ เห็นภาพแปลกๆ ตลอด และกลัวว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองเป็นประจำ ซึ่ง
อาจจะเข้าข่ายโรคหลงผิดได้ ดังนั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงกับกรมสุขภาพจิตจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นในเรื่องนี้
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกหวาดระแวง
อันดับ ความรู้สึก ร้อยละ
1 จะไปทำบุญในวันมาฆบูชา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม 56.2
2 แม้จะมีโอกาสไปยะลา ปัตตานี นราธิวาส ก็จะไม่ไปเพราะกลัวถูกยิง 51.8
3 กลัวระเบิดในที่สาธารณะ เช่น บนรถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ สนามบิน เป็นต้น 47.6
4 กลัวจะเกิดการปะทะกันนองเลือดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง 36.8
5 กลัวจะเกิดระเบิดทั้งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์ 32.4
6 ถ้าไปเข้าห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า หรือที่สาธารณะต่าง ๆ จะตรวจดูในห้องน้ำว่ามีระเบิดซุกซ่อนอยู่หรือเปล่า 32.0
7 คอยเหลียวดูข้างๆ ตัวบ่อยๆ เพราะกลัวคนมาทำร้าย 22.9
8 กลัวจะมีการระเบิดบริเวณวัดในงานวันมาฆบูชา 22.0
9 ไม่ไปวัดในวันมาฆบูชา จึงไม่กลัวจะเกิดระเบิดในวัด 20.7
10 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้าเพราะกลัวระเบิด 14.7
11 ได้ยินเสียงประทัด จะนึกว่าเสียงระเบิดเป็นประจำ 11.9
12 ไม่ไปทำบุญที่วัด เพราะกลัวจะมีระเบิด 9.6
13 หูแว่วบ่อยๆ 9.3
14 เห็นภาพแปลกๆ ตลอด 8.8
15 โดยปกติกลัวว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองเป็นประจำ 8.7
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อระเบิดทางการเมือง
ความคิดเห็น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
การที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลาออก
เปรียบเสมือนระเบิดทางการเมืองที่มีต่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 36.6 63.4
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
หลงผิดซึ่งเป็นความผิดปกติของความคิด โดยจะเชื่ออย่างสนิทใจในเรื่องที่ไม่เป็นความจริง และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เหตุผล พบประมาณร้อย
ละ 0.3 ของประชากร มักเริ่มเป็นในวัยผู้ใหญ่ ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โรคนี้มีหลายชนิด เช่น หลงผิดว่าบุคคลอื่นหลงรักตนหรือเป็นคู่รักของตน
(Erotomanic type) หลงผิดว่ามีความสามารถเกินความเป็นจริง มีคุณค่า อำนาจ ความรู้สูง ทรัพย์สินเงินทองมาก (Grandiose type) หลงผิด
ว่าคู่ของตนนอกใจ (Jealous type) หลงผิดว่าถูกปองร้าย (Persecutory type) และหลงผิดว่าร่างกายมีความผิดปกติหรือป่วยเป็นโรค
บางอย่าง (Somatic type) โรคนี้วินิจฉัยเบื้องต้นได้ยากเพราะเป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นกับคนปกติด้วย ในปัจจุบันสังคมไทยมีปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิด
ความหวาดระแวงได้มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารการวางระเบิดที่เกิดขึ้นในภาคใต้และกรุงเทพมหานคร ตลอดจนข่าวลือเกี่ยวกับวันมาฆบูชา
ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความรู้สึกของประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 1197 คน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 ในหัว
ข้อ “ความหวาดระแวงของคนไทยในวันมาฆบูชา” เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันแก้ไข
ผลการสำรวจปรากฏว่าร้อยละ 56.2 จะไปทำบุญในวันมาฆบูชา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม แต่ร้อยละ 51.8 ถ้ามีโอกาสไปจังหวัด
ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสก็จะไม่ไปเพราะกลัวถูกยิง ร้อยละ 47.6 กลัวระเบิดในที่สาธารณะ เช่น บนรถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่ง สถานี
รถไฟ สนามบิน เป็นต้น ร้อยละ 36.8 กลัวเกิดการปะทะกันนองเลือดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ
32.4 กลัวจะเกิดระเบิดทั้งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์ ร้อยละ 32.0 เข้าห้องน้ำในห้างสรรพสินค้าหรือที่สาธารณะต่างๆ จะตรวจดูในห้องน้ำว่ามี
ระเบิดซุกซ่อนอยู่หรือเปล่า ร้อยละ 22.9 จะคอยเหลียวดูข้างๆ ตัวบ่อยๆ เพราะกลัวคนมาทำร้าย ร้อยละ 22.0 กลัวจะมีการระเบิดบริเวณวัดในงาน
วันมาฆบูชา ร้อยละ 20.7 ตั้งใจจะไม่ไปวัดในวันมาฆบูชา จึงไม่กลัวจะเกิดระเบิดในวัด ในขณะที่ร้อยละ 9.6 จะไม่ไปทำบุญที่วัดเพราะกลัวจะมี
ระเบิด
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 14.7 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้าเพราะกลัวระเบิด ร้อยละ 11.9 ได้ยินเสียงประทัดจะนึกว่าเสียงระเบิดเป็นประจำ
นอกจากนี้ ร้อยละ 9.3 มีอาการหูแว่วบ่อยๆ ร้อยละ 8.8 เห็นภาพแปลกๆ ตลอด และร้อยละ 8.7 บอกว่าโดยปกติกลัวว่าจะมีคนมาทำ
ร้ายตนเองเป็นประจำ
ส่วนเรื่องการเมือง ร้อยละ 36.6 เห็นว่าการที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลาออกเปรียบเสมือน
ระเบิดทางการเมืองที่มีต่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ อีกร้อยละ 63.4 เห็นว่าไม่ใช่
ข้อคิดที่ได้จากข้อมูลดังกล่าวก็คือ แม้ว่ามากกว่าครึ่งตั้งใจจะไปทำบุญในวันมาฆบูชา แต่มากกว่าครึ่งก็ไม่กล้าไปสามจังหวัดภาคใต้ มากกว่า
ร้อยละ 20 หวาดระแวงระเบิด และเกือบร้อยละ 10 มีอาการหูแว่วบ่อยๆ เห็นภาพแปลกๆ ตลอด และกลัวว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองเป็นประจำ ซึ่ง
อาจจะเข้าข่ายโรคหลงผิดได้ ดังนั้น หน่วยงานด้านความมั่นคงกับกรมสุขภาพจิตจึงต้องทำงานหนักมากขึ้นในเรื่องนี้
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความรู้สึกหวาดระแวง
อันดับ ความรู้สึก ร้อยละ
1 จะไปทำบุญในวันมาฆบูชา ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม 56.2
2 แม้จะมีโอกาสไปยะลา ปัตตานี นราธิวาส ก็จะไม่ไปเพราะกลัวถูกยิง 51.8
3 กลัวระเบิดในที่สาธารณะ เช่น บนรถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่ง สถานีรถไฟ สนามบิน เป็นต้น 47.6
4 กลัวจะเกิดการปะทะกันนองเลือดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมือง 36.8
5 กลัวจะเกิดระเบิดทั้งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์ 32.4
6 ถ้าไปเข้าห้องน้ำในห้างสรรพสินค้า หรือที่สาธารณะต่าง ๆ จะตรวจดูในห้องน้ำว่ามีระเบิดซุกซ่อนอยู่หรือเปล่า 32.0
7 คอยเหลียวดูข้างๆ ตัวบ่อยๆ เพราะกลัวคนมาทำร้าย 22.9
8 กลัวจะมีการระเบิดบริเวณวัดในงานวันมาฆบูชา 22.0
9 ไม่ไปวัดในวันมาฆบูชา จึงไม่กลัวจะเกิดระเบิดในวัด 20.7
10 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้าเพราะกลัวระเบิด 14.7
11 ได้ยินเสียงประทัด จะนึกว่าเสียงระเบิดเป็นประจำ 11.9
12 ไม่ไปทำบุญที่วัด เพราะกลัวจะมีระเบิด 9.6
13 หูแว่วบ่อยๆ 9.3
14 เห็นภาพแปลกๆ ตลอด 8.8
15 โดยปกติกลัวว่าจะมีคนมาทำร้ายตนเองเป็นประจำ 8.7
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดเห็นที่มีต่อระเบิดทางการเมือง
ความคิดเห็น เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
การที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลาออก
เปรียบเสมือนระเบิดทางการเมืองที่มีต่อรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 36.6 63.4
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-