หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา การบริหารราชการแผ่นดินก็ตกอยู่ในภาวะความไม่แน่นอนเป็นเวลาเกือบ 5
เดือนอันมีผลกระทบต่อประชาชนในหลายด้าน ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4915
คน เมื่อวันที่ 24-30 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม” และ “ดัชนีวัดความโปร่งใสใน
ระบบราชการ” ประจำเดือนมกราคม 2550 เพื่อประเมินการทำงานของภาครัฐ โดยกำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่า
มีความเชื่อมั่นหรือความโปร่งใสมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความเชื่อมั่นหรือความโปร่งใสน้อยลง และถ้าต่ำกว่า 0.50 หมายถึงสอบตก
ในด้านความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม พบว่าภาครัฐได้รับความเชื่อมั่นในการทำงานด้านสังคมมากกว่าด้าน
เศรษฐกิจและการเมือง ความเชื่อมั่นอันดับ 1 คือการประกันสุขภาพ ค่าดัชนี 0.562 อันดับ 2 โอกาสทางการศึกษาที่รัฐจัดให้ ค่าดัชนี 0.547
อันดับ 3 ความรู้ความสามารถของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ค่าดัชนี 0.544 อันดับ 4 ความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าดัชนี
0.524 อันดับ 5 ความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าดัชนี 0.521 อันดับ 6 ความสามารถในการหารายได้ของภาครัฐ ค่าดัชนี
0.496 อันดับ 7 ความสามารถของภาครัฐในการบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ค่าดัชนี 0.489 และ อันดับ 8 ความคุ้มค่าในการใช้จ่าย
งบประมาณของภาครัฐ ค่าดัชนี 0.479 ซึ่งเท่ากับความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยภาพรวมดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมือง
และสังคมเดือนมกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.498 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อเปรียบเทียบกับความเชื่อมั่นด้านความโปร่งใสในระบบราชการ พบว่า อันดับ 1 คือความซื่อสัตย์สุจริตของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ค่าดัชนี 0.581 อันดับ 2 ความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐมนตรีปัจจุบันโดยภาพรวม ค่าดัชนี 0.564 อันดับ 3 กระบวนการตรวจสอบอำนาจรัฐ ค่าดัชนี
0.544 อันดับ 4 ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ค่าดัชนี 0.489 อันดับ 5 ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ ค่าดัชนี
0.488 และ อันดับ 6 การจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ค่าดัชนี 0.485 โดยภาพรวมดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการเดือน
มกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.505 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง บ่งชี้ว่าประชาชนเชื่อมั่นในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ใน
ด้านความโปร่งใสมากกว่าด้านเศรษฐกิจ การคลังและการเมือง
ที่น่าสังเกตคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ให้คะแนนภาครัฐสอบผ่านทั้งในด้านเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม
ตลอดจนความโปร่งใสในระบบราชการ แต่ในสายตาของคนภาคอื่น กลับสอบไม่ผ่าน โดยคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คะแนนต่ำสุด
จะเห็นได้ว่าภาครัฐทำงานสอบตกในด้านการใช้จ่ายงบประมาณให้คุ้มค่า การรักษาความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน การเปิดเผยต่อ
สาธารณะในการจัดซื้อจัดจ้าง ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ การบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้าง และการหารายได้ โดยประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดในเรื่องความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐและความมั่นคงของ
รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม กับค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ เดือนมกราคม 2550
อันดับ ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม ค่าดัชนี ความโปร่งใสในระบบราชการ ค่าดัชนี
1 การประกันสุขภาพ เมื่อประชาชนเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาล 0.562 ความซื่อสัตย์สุจริตของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน 0.581
2 โอกาสทางการศึกษาที่รัฐจัดให้ 0.547 ความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐมนตรีปัจจุบันโดยภาพรวม 0.564
3 ความรู้ความสามารถของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ 0.544 กระบวนการตรวจสอบอำนาจรัฐ 0.544
4 ความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 0.524 ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ 0.489
5 ความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 0.521 ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ 0.488
6 ความสามารถในการหารายได้ของภาครัฐ 0.496 การจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ 0.485
7 ความสามารถของภาครัฐในการบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด 0.489 ดัชนีวัดความโปร่งใสในภาพรวม 0.505
8 ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ 0.479
8 ความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 0.479
ดัชนีวัดความเชื่อมั่นในภาพรวม 0.498
ตารางที่ 2 ค่าดัชนีวัดความความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม กับค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ จำแนกตามภูมิภาค
ภาค ค่าดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม ค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ
กรุงเทพมหานคร 0.502 0.515
ภาคกลางและภาคตะวันออก 0.488 0.496
ภาคเหนือ 0.492 0.494
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.478 0.482
ภาคใต้ 0.524 0.534
รวม 0.498 0.505
ตารางที่ 3 ค่าดัชนีวัดความความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม กับค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ เฉพาะที่ภาครัฐสอบไม่ผ่าน
อันดับ ผลงานที่ภาครัฐสอบตก ค่าดัชนี ด้าน
1 ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ 0.479 การคลัง
1 ความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 0.479 การเมือง
2 การจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ 0.485 ความโปร่งใส
3 ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ 0.488 ความโปร่งใส
4 ความสามารถของภาครัฐในการบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด 0.489 การคลัง
4 ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ 0.489 ความโปร่งใส
5 ความสามารถในการหารายได้ของภาครัฐ 0.496 การคลัง
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
เดือนอันมีผลกระทบต่อประชาชนในหลายด้าน ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคของประเทศจำนวน 4915
คน เมื่อวันที่ 24-30 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม” และ “ดัชนีวัดความโปร่งใสใน
ระบบราชการ” ประจำเดือนมกราคม 2550 เพื่อประเมินการทำงานของภาครัฐ โดยกำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่า
มีความเชื่อมั่นหรือความโปร่งใสมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0 แสดงว่ามีความเชื่อมั่นหรือความโปร่งใสน้อยลง และถ้าต่ำกว่า 0.50 หมายถึงสอบตก
ในด้านความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม พบว่าภาครัฐได้รับความเชื่อมั่นในการทำงานด้านสังคมมากกว่าด้าน
เศรษฐกิจและการเมือง ความเชื่อมั่นอันดับ 1 คือการประกันสุขภาพ ค่าดัชนี 0.562 อันดับ 2 โอกาสทางการศึกษาที่รัฐจัดให้ ค่าดัชนี 0.547
อันดับ 3 ความรู้ความสามารถของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ค่าดัชนี 0.544 อันดับ 4 ความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าดัชนี
0.524 อันดับ 5 ความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าดัชนี 0.521 อันดับ 6 ความสามารถในการหารายได้ของภาครัฐ ค่าดัชนี
0.496 อันดับ 7 ความสามารถของภาครัฐในการบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ค่าดัชนี 0.489 และ อันดับ 8 ความคุ้มค่าในการใช้จ่าย
งบประมาณของภาครัฐ ค่าดัชนี 0.479 ซึ่งเท่ากับความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยภาพรวมดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมือง
และสังคมเดือนมกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.498 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
เมื่อเปรียบเทียบกับความเชื่อมั่นด้านความโปร่งใสในระบบราชการ พบว่า อันดับ 1 คือความซื่อสัตย์สุจริตของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ค่าดัชนี 0.581 อันดับ 2 ความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐมนตรีปัจจุบันโดยภาพรวม ค่าดัชนี 0.564 อันดับ 3 กระบวนการตรวจสอบอำนาจรัฐ ค่าดัชนี
0.544 อันดับ 4 ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ค่าดัชนี 0.489 อันดับ 5 ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ ค่าดัชนี
0.488 และ อันดับ 6 การจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ค่าดัชนี 0.485 โดยภาพรวมดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการเดือน
มกราคม 2550 มีค่าดัชนี 0.505 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง บ่งชี้ว่าประชาชนเชื่อมั่นในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ใน
ด้านความโปร่งใสมากกว่าด้านเศรษฐกิจ การคลังและการเมือง
ที่น่าสังเกตคือ ประชาชนในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ให้คะแนนภาครัฐสอบผ่านทั้งในด้านเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม
ตลอดจนความโปร่งใสในระบบราชการ แต่ในสายตาของคนภาคอื่น กลับสอบไม่ผ่าน โดยคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้คะแนนต่ำสุด
จะเห็นได้ว่าภาครัฐทำงานสอบตกในด้านการใช้จ่ายงบประมาณให้คุ้มค่า การรักษาความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน การเปิดเผยต่อ
สาธารณะในการจัดซื้อจัดจ้าง ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ การบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการ
จัดซื้อจัดจ้าง และการหารายได้ โดยประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดในเรื่องความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐและความมั่นคงของ
รัฐบาลชุดปัจจุบัน
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม กับค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ เดือนมกราคม 2550
อันดับ ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม ค่าดัชนี ความโปร่งใสในระบบราชการ ค่าดัชนี
1 การประกันสุขภาพ เมื่อประชาชนเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาล 0.562 ความซื่อสัตย์สุจริตของนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน 0.581
2 โอกาสทางการศึกษาที่รัฐจัดให้ 0.547 ความซื่อสัตย์สุจริตของรัฐมนตรีปัจจุบันโดยภาพรวม 0.564
3 ความรู้ความสามารถของรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ 0.544 กระบวนการตรวจสอบอำนาจรัฐ 0.544
4 ความสามารถของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 0.524 ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ 0.489
5 ความโปร่งใสในการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 0.521 ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ 0.488
6 ความสามารถในการหารายได้ของภาครัฐ 0.496 การจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ 0.485
7 ความสามารถของภาครัฐในการบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด 0.489 ดัชนีวัดความโปร่งใสในภาพรวม 0.505
8 ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ 0.479
8 ความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 0.479
ดัชนีวัดความเชื่อมั่นในภาพรวม 0.498
ตารางที่ 2 ค่าดัชนีวัดความความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม กับค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ จำแนกตามภูมิภาค
ภาค ค่าดัชนีวัดความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม ค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ
กรุงเทพมหานคร 0.502 0.515
ภาคกลางและภาคตะวันออก 0.488 0.496
ภาคเหนือ 0.492 0.494
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 0.478 0.482
ภาคใต้ 0.524 0.534
รวม 0.498 0.505
ตารางที่ 3 ค่าดัชนีวัดความความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจ การคลัง การเมืองและสังคม กับค่าดัชนีวัดความโปร่งใสในระบบราชการ เฉพาะที่ภาครัฐสอบไม่ผ่าน
อันดับ ผลงานที่ภาครัฐสอบตก ค่าดัชนี ด้าน
1 ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ 0.479 การคลัง
1 ความมั่นคงของรัฐบาลชุดปัจจุบัน 0.479 การเมือง
2 การจัดซื้อจัดจ้างโดยมีการเปิดเผยต่อสาธารณะ 0.485 ความโปร่งใส
3 ความซื่อสัตย์สุจริตของข้าราชการ 0.488 ความโปร่งใส
4 ความสามารถของภาครัฐในการบริหารหนี้สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุด 0.489 การคลัง
4 ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ 0.489 ความโปร่งใส
5 ความสามารถในการหารายได้ของภาครัฐ 0.496 การคลัง
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-