การลอบวางระเบิดส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ในกรุงเทพมหานคร กลายเป็นระเบิดทางการเมืองลูกใหญ่ที่ส่งผลถึงความเชื่อถือศรัทธาของ
ประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน
ทุกภาคของประเทศจำนวน 1465 คน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “ภาพลักษณ์นักการเมืองและความตื่นกลัวของประชาชนหลังเหตุการณ์
ระเบิดในกรุงเทพมหานคร” โดยร้อยละ 13.6 มาจากภาคเหนือ ร้อยละ 17.8 มาจากภาคกลางและภาคตะวันออก ร้อยละ 11.8 มาจากภาค
เหนือ ร้อยละ 31.6 มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 25.2 มาจากภาคใต้ ผลปรากฏว่าร้อยละ 89.4 กลัวเศรษฐกิจตกต่ำ ร้อยละ
87.2 เห็นว่านักการเมืองเล่นเกมชิงอำนาจ ไม่ได้รักประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 86.3 รู้สึกว่านักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า
ประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 82.4 เห็นว่านักการเมืองใช้ข้าราชการทหารและตำรวจบางคนเป็นเครื่องมือแย่งชิงอำนาจ ร้อยละ 80.5 กลัวเด็กและ
เยาวชนเลียนแบบการวางระเบิด ร้อยละ 79.7 ขาดความศรัทธานักการเมือง
นอกจากนี้ ร้อยละ 76.0 ยังกลัวมีการระเบิดในโรงเรียน ร้อยละ 72.1 กลัวเกิดระเบิดในงานวันเด็ก ร้อยละ 71.9 กลัวเกิดการ
ปะทะกันทางการเมืองถึงขั้นนองเลือด ร้อยละ 68.5 กลัวความรุนแรงในภาคใต้กระจายไปทุกภาค ร้อยละ 67.4 กลัวเกิดสงครามกลางเมืองใน
ประเทศไทย ร้อยละ 62.7 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของตำรวจ ร้อยละ 59.2 กลัวเกิดการวางระเบิดในจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ ร้อยละ 56.9
ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน ร้อยละ 55.0 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ร้อยละ 54.5 กลัว
เกิดปฏิวัติซ้อน และร้อยละ 51.1 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของทหาร ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 36.8 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้า และร้อยละ 22.0
เท่านั้นที่กังวล นอนไม่หลับ เพราะคิดมากเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
จะเห็นได้ว่าหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร นักการเมืองมีภาพลักษณ์ไม่ดีสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ เกินครึ่งเล็กน้อยขาด
ความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และทหาร แต่ตำรวจสูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชนไปถึงร้อยละ 62.7
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดหรือความรู้สึกหลังเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร
อันดับ ความคิดหรือความรู้สึกหลังเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 กลัวเศรษฐกิจตกต่ำ 89.4
2 นักการเมืองเล่นเกมชิงอำนาจ ไม่ได้รักประชาชนอย่างแท้จริง 87.2
3 นักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม 86.3
4 นักการเมืองใช้ข้าราชการทหารและตำรวจบางคนเป็นเครื่องมือแย่งชิงอำนาจ 82.4
5 กลัวเด็กและเยาวชนเลียนแบบการวางระเบิด 80.5
6 ขาดความศรัทธานักการเมือง 79.7
7 กลัวมีการวางระเบิดในโรงเรียน 76
8 กลัวเกิดระเบิดในงานวันเด็ก 72.1
9 กลัวเกิดการปะทะกันทางการเมืองถึงขั้นนองเลือด 71.9
10 ประชาชนพึ่งนักการเมืองไม่ได้ 71.8
11 กลัวความรุนแรงในภาคใต้กระจายไปทุกภาค 68.5
12 กลัวเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศไทย 67.4
13 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของตำรวจ 62.7
14 กลัวเกิดการวางระเบิดในจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ 59.2
15 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน 56.9
16 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ 55
17 กลัวเกิดปฏิวัติซ้อน 54.5
18 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของทหาร 51.1
19 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้า 36.8
20 กังวล นอนไม่หลับ เพราะคิดมากเกี่ยวกับเรื่องการเมือง 22
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ประชาชนที่มีต่อนักการเมืองและผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน
ทุกภาคของประเทศจำนวน 1465 คน เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2550 ในหัวข้อ “ภาพลักษณ์นักการเมืองและความตื่นกลัวของประชาชนหลังเหตุการณ์
ระเบิดในกรุงเทพมหานคร” โดยร้อยละ 13.6 มาจากภาคเหนือ ร้อยละ 17.8 มาจากภาคกลางและภาคตะวันออก ร้อยละ 11.8 มาจากภาค
เหนือ ร้อยละ 31.6 มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 25.2 มาจากภาคใต้ ผลปรากฏว่าร้อยละ 89.4 กลัวเศรษฐกิจตกต่ำ ร้อยละ
87.2 เห็นว่านักการเมืองเล่นเกมชิงอำนาจ ไม่ได้รักประชาชนอย่างแท้จริง ร้อยละ 86.3 รู้สึกว่านักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า
ประโยชน์ส่วนรวม ร้อยละ 82.4 เห็นว่านักการเมืองใช้ข้าราชการทหารและตำรวจบางคนเป็นเครื่องมือแย่งชิงอำนาจ ร้อยละ 80.5 กลัวเด็กและ
เยาวชนเลียนแบบการวางระเบิด ร้อยละ 79.7 ขาดความศรัทธานักการเมือง
นอกจากนี้ ร้อยละ 76.0 ยังกลัวมีการระเบิดในโรงเรียน ร้อยละ 72.1 กลัวเกิดระเบิดในงานวันเด็ก ร้อยละ 71.9 กลัวเกิดการ
ปะทะกันทางการเมืองถึงขั้นนองเลือด ร้อยละ 68.5 กลัวความรุนแรงในภาคใต้กระจายไปทุกภาค ร้อยละ 67.4 กลัวเกิดสงครามกลางเมืองใน
ประเทศไทย ร้อยละ 62.7 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของตำรวจ ร้อยละ 59.2 กลัวเกิดการวางระเบิดในจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ ร้อยละ 56.9
ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน ร้อยละ 55.0 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ร้อยละ 54.5 กลัว
เกิดปฏิวัติซ้อน และร้อยละ 51.1 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของทหาร ทั้งนี้ มีเพียงร้อยละ 36.8 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้า และร้อยละ 22.0
เท่านั้นที่กังวล นอนไม่หลับ เพราะคิดมากเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
จะเห็นได้ว่าหลังเกิดเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร นักการเมืองมีภาพลักษณ์ไม่ดีสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ เกินครึ่งเล็กน้อยขาด
ความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และทหาร แต่ตำรวจสูญเสียความเชื่อมั่นจากประชาชนไปถึงร้อยละ 62.7
ตารางที่ 1 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความคิดหรือความรู้สึกหลังเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร
อันดับ ความคิดหรือความรู้สึกหลังเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ
1 กลัวเศรษฐกิจตกต่ำ 89.4
2 นักการเมืองเล่นเกมชิงอำนาจ ไม่ได้รักประชาชนอย่างแท้จริง 87.2
3 นักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม 86.3
4 นักการเมืองใช้ข้าราชการทหารและตำรวจบางคนเป็นเครื่องมือแย่งชิงอำนาจ 82.4
5 กลัวเด็กและเยาวชนเลียนแบบการวางระเบิด 80.5
6 ขาดความศรัทธานักการเมือง 79.7
7 กลัวมีการวางระเบิดในโรงเรียน 76
8 กลัวเกิดระเบิดในงานวันเด็ก 72.1
9 กลัวเกิดการปะทะกันทางการเมืองถึงขั้นนองเลือด 71.9
10 ประชาชนพึ่งนักการเมืองไม่ได้ 71.8
11 กลัวความรุนแรงในภาคใต้กระจายไปทุกภาค 68.5
12 กลัวเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศไทย 67.4
13 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของตำรวจ 62.7
14 กลัวเกิดการวางระเบิดในจังหวัดที่ตนอาศัยอยู่ 59.2
15 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาลปัจจุบัน 56.9
16 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ 55
17 กลัวเกิดปฏิวัติซ้อน 54.5
18 ขาดความเชื่อมั่นในการทำงานของทหาร 51.1
19 ไม่กล้าไปห้างสรรพสินค้า 36.8
20 กังวล นอนไม่หลับ เพราะคิดมากเกี่ยวกับเรื่องการเมือง 22
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-