แท็ก
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เศรษฐกิจพอเพียง
กระทรวงการคลัง
รามคำแหงโพลล์
วันตรุษจีน
ท่ามกลางความสุขของคนไทยเชื้อสายจีนในวันตรุษจีนและกระแสทรรศน์ที่มีต่อทักษิโณมิกส์กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี ดร.สมคิด
จาตุศรีพิทักษ์ เป็นตัวเชื่อม ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สร้างดัชนีวัดความสุขแบบไทยโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคของประเทศ
จำนวน 4911 คน ช่วงเดือนมกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความสุขแบบไทยเดือนมกราคม 2550” โดยวัดความสุขทั้งในด้านที่ไม่ขัดศีลธรรม และ
ด้านที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม ทั้งนี้กำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความสุขมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0
แสดงว่ามีความสุขน้อยลง และค่าดัชนี 0.500 ถือว่าผ่านเกณฑ์
ในด้านที่ไม่ขัดศีลธรรมพบว่าคนไทยมีความสุขเป็นอันดับ 1 ในเรื่องการรับประทานอาหาร ค่าดัชนี 0.694 อันดับ 2 การทำอาหาร ค่า
ดัชนี 0.662 อันดับ 3 การดูแลครอบครัว ค่าดัชนี 0.648 อันดับ 4 การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ค่าดัชนี 0.625 อันดับ 5 การปฏิบัติธรรม ค่า
ดัชนี 0.607 อันดับ 6 การอ่านหนังสือ ค่าดัชนี 0.572 อันดับ 7 การท่องเที่ยว ค่าดัชนี 0.570 เท่ากับ การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย อันดับ 8
การดูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี กีฬา ฯลฯ ค่าดัชนี 0.536 อันดับ 9 การซื้อของ ค่าดัชนี 0.533 อันดับ 10 การดูโชคชะตา
ราศี ค่าดัชนี 0.505 อันดับ 11 การเที่ยวห้างสรรพสินค้า ค่าดัชนี 0.438 และ อันดับ 12 การเล่นการเมือง ค่าดัชนี 0.311 โดยภาพรวมดัชนีความ
สุขในด้านที่ไม่ขัดศีลธรรมเท่ากับ 0.559 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนด้านที่เสี่ยงกับการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม พบว่าอันดับ 1 การเที่ยวในสถานบันเทิง ค่าดัชนี 0.402 อันดับ 2 การดื่มเหล้า ค่า
ดัชนี 0.379 อันดับ 3 การเล่นหวย ค่าดัชนี 0.354 อันดับ 4 การเล่นการพนัน ค่าดัชนี 0.337 อันดับ 5 การสูบบุหรี่ ค่าดัชนี 0.288 อันดับ 6
การดูภาพโป๊ในหนังสือหรือเวบไซต์ต่างๆ ค่าดัชนี 0.283 อันดับ 7 การเล่นหุ้น ค่าดัชนี 0.251 อันดับ 8 การเสพยาเสพติด ค่าดัชนี 0.159 และ
อันดับ 9 การขับรถซิ่งแข่งกัน ค่าดัชนี 0.153 โดยภาพรวมดัชนีความสุขในด้านที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคมเท่ากับ 0.289 ซึ่งถือว่ามี
ความสุขน้อย
แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสุขกับเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรมมากกว่าเรื่องที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคมเป็นเท่าตัว เพราะมีค่า
ดัชนีมากกว่ากัน 0.270 นอกจากนี้ ยังมีความสุขกับเรื่องปากท้องมากที่สุด
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพอเพียงซึ่งมีค่าดัชนี 0.598 กับความสุขที่ไม่ขัดศีลธรรมซึ่งมีค่าดัชนี 0.559 และความสุขที่เสี่ยง
ต่อการขัดศีลธรรมซึ่งมีค่าดัชนี 0.289 พบว่าร้อยละ 71.7 ของคนที่มีความพอเพียงจะมีความสุขกับเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรม ในขณะที่ร้อยละ 44.7 ของคน
ที่ไม่ค่อยพอเพียงจะมีความสุขกับเรื่องดังกล่าว กลุ่มที่มีความพอเพียงร้อยละ 73.9 และกลุ่มที่ไม่ค่อยพอเพียงร้อยละ 82.2 ไม่ค่อยมีความสุขในเรื่องที่
เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคมทั้งคู่
แสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่ค่อยพอเพียงส่วนใหญ่จะไม่มีความสุขทั้งในเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรมและเสี่ยงต่อการขัดศีลธรรม คนที่พอเพียงส่วนใหญ่จะ
มีความสุขในเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรมและไม่มีความสุขกับเรื่องที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม ดังนั้น ถ้ามีพอเพียงและรู้จักพอ คนไทยก็จะมีความ
สุขมากขึ้น
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความสุขแบบไทยเดือนมกราคม 2550
อันดับ ความสุขเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรม ค่าดัชนี ระดับ ความสุขเกี่ยวกับเรื่องที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม ค่าดัชนี ระดับ
1 การรับประทานอาหาร 0.694 มาก การเที่ยวในสถานบันเทิง 0.402 ปานกลาง
2 การทำอาหาร 0.662 มาก การดื่มเหล้า 0.379 ปานกลาง
3 การดูแลครอบครัว 0.648 ปานกลาง การเล่นหวย 0.354 ปานกลาง
4 การประกอบพิธีกรรมในศาสนสถาน 0.625 ปานกลาง การเล่นการพนัน 0.337 ปานกลาง
5 การปฏิบัติธรรม 0.607 ปานกลาง การสูบบุหรี่ 0.288 น้อย
6 การอ่านหนังสือ 0.572 ปานกลาง การดูภาพโป๊ในหนังสือหรือเวบไซต์ต่างๆ 0.283 น้อย
7 การท่องเที่ยว 0.57 ปานกลาง การเล่นหุ้น 0.251 น้อย
7 การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย 0.57 ปานกลาง การเสพยาเสพติด 0.159 น้อย
8 การดูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี กีฬา ฯลฯ 0.536 ปานกลาง การขับรถซิ่งแข่งกัน 0.153 น้อย
9 การซื้อของ 0.533 ปานกลาง ดัชนีในภาพรวม 0.289
10 การดูโชคชะตาราศี 0.505 ปานกลาง
11 การเที่ยวห้างสรรพสินค้า 0.438 ปานกลาง
12 การเล่นการเมือง 0.311 น้อย
ดัชนีในภาพรวม 0.559
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความพอเพียงกับความสุข เดือนมกราคม 2550
ความสุขในเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรม ความพอเพียง ความสุขในเรื่องที่เสี่ยงต่อการ
พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง รวม ขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง รวม
มีความสุข 71.70% 44.70% 64.90% มีความสุข 26.10% 17.80% 24.00%
ไม่ค่อยมีความสุข 28.30% 55.30% 35.10% ไม่ค่อยมีความสุข 73.90% 82.20% 76.00%
รวม 100.00% 100.00% 100.00% รวม 100.00% 100.00% 100.00%
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
จาตุศรีพิทักษ์ เป็นตัวเชื่อม ศูนย์ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้สร้างดัชนีวัดความสุขแบบไทยโดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทุกภาคของประเทศ
จำนวน 4911 คน ช่วงเดือนมกราคม 2550 ในหัวข้อ “ดัชนีวัดความสุขแบบไทยเดือนมกราคม 2550” โดยวัดความสุขทั้งในด้านที่ไม่ขัดศีลธรรม และ
ด้านที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม ทั้งนี้กำหนดค่าดัชนีสูงสุด 1 ต่ำสุด 0 ถ้าค่าดัชนีเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีความสุขมากขึ้น ถ้าเข้าใกล้ 0
แสดงว่ามีความสุขน้อยลง และค่าดัชนี 0.500 ถือว่าผ่านเกณฑ์
ในด้านที่ไม่ขัดศีลธรรมพบว่าคนไทยมีความสุขเป็นอันดับ 1 ในเรื่องการรับประทานอาหาร ค่าดัชนี 0.694 อันดับ 2 การทำอาหาร ค่า
ดัชนี 0.662 อันดับ 3 การดูแลครอบครัว ค่าดัชนี 0.648 อันดับ 4 การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ค่าดัชนี 0.625 อันดับ 5 การปฏิบัติธรรม ค่า
ดัชนี 0.607 อันดับ 6 การอ่านหนังสือ ค่าดัชนี 0.572 อันดับ 7 การท่องเที่ยว ค่าดัชนี 0.570 เท่ากับ การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย อันดับ 8
การดูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี กีฬา ฯลฯ ค่าดัชนี 0.536 อันดับ 9 การซื้อของ ค่าดัชนี 0.533 อันดับ 10 การดูโชคชะตา
ราศี ค่าดัชนี 0.505 อันดับ 11 การเที่ยวห้างสรรพสินค้า ค่าดัชนี 0.438 และ อันดับ 12 การเล่นการเมือง ค่าดัชนี 0.311 โดยภาพรวมดัชนีความ
สุขในด้านที่ไม่ขัดศีลธรรมเท่ากับ 0.559 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง
ส่วนด้านที่เสี่ยงกับการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม พบว่าอันดับ 1 การเที่ยวในสถานบันเทิง ค่าดัชนี 0.402 อันดับ 2 การดื่มเหล้า ค่า
ดัชนี 0.379 อันดับ 3 การเล่นหวย ค่าดัชนี 0.354 อันดับ 4 การเล่นการพนัน ค่าดัชนี 0.337 อันดับ 5 การสูบบุหรี่ ค่าดัชนี 0.288 อันดับ 6
การดูภาพโป๊ในหนังสือหรือเวบไซต์ต่างๆ ค่าดัชนี 0.283 อันดับ 7 การเล่นหุ้น ค่าดัชนี 0.251 อันดับ 8 การเสพยาเสพติด ค่าดัชนี 0.159 และ
อันดับ 9 การขับรถซิ่งแข่งกัน ค่าดัชนี 0.153 โดยภาพรวมดัชนีความสุขในด้านที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคมเท่ากับ 0.289 ซึ่งถือว่ามี
ความสุขน้อย
แสดงให้เห็นว่าคนไทยมีความสุขกับเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรมมากกว่าเรื่องที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคมเป็นเท่าตัว เพราะมีค่า
ดัชนีมากกว่ากัน 0.270 นอกจากนี้ ยังมีความสุขกับเรื่องปากท้องมากที่สุด
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพอเพียงซึ่งมีค่าดัชนี 0.598 กับความสุขที่ไม่ขัดศีลธรรมซึ่งมีค่าดัชนี 0.559 และความสุขที่เสี่ยง
ต่อการขัดศีลธรรมซึ่งมีค่าดัชนี 0.289 พบว่าร้อยละ 71.7 ของคนที่มีความพอเพียงจะมีความสุขกับเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรม ในขณะที่ร้อยละ 44.7 ของคน
ที่ไม่ค่อยพอเพียงจะมีความสุขกับเรื่องดังกล่าว กลุ่มที่มีความพอเพียงร้อยละ 73.9 และกลุ่มที่ไม่ค่อยพอเพียงร้อยละ 82.2 ไม่ค่อยมีความสุขในเรื่องที่
เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคมทั้งคู่
แสดงให้เห็นว่าคนที่ไม่ค่อยพอเพียงส่วนใหญ่จะไม่มีความสุขทั้งในเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรมและเสี่ยงต่อการขัดศีลธรรม คนที่พอเพียงส่วนใหญ่จะ
มีความสุขในเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรมและไม่มีความสุขกับเรื่องที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม ดังนั้น ถ้ามีพอเพียงและรู้จักพอ คนไทยก็จะมีความ
สุขมากขึ้น
ตารางที่ 1 ค่าดัชนีวัดความสุขแบบไทยเดือนมกราคม 2550
อันดับ ความสุขเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรม ค่าดัชนี ระดับ ความสุขเกี่ยวกับเรื่องที่เสี่ยงต่อการขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม ค่าดัชนี ระดับ
1 การรับประทานอาหาร 0.694 มาก การเที่ยวในสถานบันเทิง 0.402 ปานกลาง
2 การทำอาหาร 0.662 มาก การดื่มเหล้า 0.379 ปานกลาง
3 การดูแลครอบครัว 0.648 ปานกลาง การเล่นหวย 0.354 ปานกลาง
4 การประกอบพิธีกรรมในศาสนสถาน 0.625 ปานกลาง การเล่นการพนัน 0.337 ปานกลาง
5 การปฏิบัติธรรม 0.607 ปานกลาง การสูบบุหรี่ 0.288 น้อย
6 การอ่านหนังสือ 0.572 ปานกลาง การดูภาพโป๊ในหนังสือหรือเวบไซต์ต่างๆ 0.283 น้อย
7 การท่องเที่ยว 0.57 ปานกลาง การเล่นหุ้น 0.251 น้อย
7 การเล่นกีฬาและออกกำลังกาย 0.57 ปานกลาง การเสพยาเสพติด 0.159 น้อย
8 การดูศิลปวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ดนตรี กีฬา ฯลฯ 0.536 ปานกลาง การขับรถซิ่งแข่งกัน 0.153 น้อย
9 การซื้อของ 0.533 ปานกลาง ดัชนีในภาพรวม 0.289
10 การดูโชคชะตาราศี 0.505 ปานกลาง
11 การเที่ยวห้างสรรพสินค้า 0.438 ปานกลาง
12 การเล่นการเมือง 0.311 น้อย
ดัชนีในภาพรวม 0.559
ตารางที่ 2 ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามความพอเพียงกับความสุข เดือนมกราคม 2550
ความสุขในเรื่องที่ไม่ขัดศีลธรรม ความพอเพียง ความสุขในเรื่องที่เสี่ยงต่อการ
พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง รวม ขัดศีลธรรมหรือเป็นภัยสังคม พอเพียง ไม่ค่อยพอเพียง รวม
มีความสุข 71.70% 44.70% 64.90% มีความสุข 26.10% 17.80% 24.00%
ไม่ค่อยมีความสุข 28.30% 55.30% 35.10% ไม่ค่อยมีความสุข 73.90% 82.20% 76.00%
รวม 100.00% 100.00% 100.00% รวม 100.00% 100.00% 100.00%
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-