แท็ก
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เศรษฐกิจพอเพียง
ทักษิณ ชินวัตร
รามคำแหงโพลล์
ประชาสัมพันธ์
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นับเป็นหัวใจของรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็น “มือวางทางเศรษฐกิจ” ที่มีลูกศิษย์มากมาย การ
ที่ “หัวใจ” ของรัฐบาลชุดที่แล้วจะมาทำงานประชาสัมพันธ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน จึงกลายเป็นเป้าโจมตีอย่างแรง ศูนย์
ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 1448 คน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 ในหัว
ข้อ “ภาพลักษณ์ทางการเมืองของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 50.3 เห็นว่าบทบาทที่เด่นชัดที่สุดของดร.สมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ คือการวางแผนด้านเศรษฐกิจให้รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีเพียงร้อยละ 10.2 เท่านั้นที่เห็นว่าทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และอีก
ร้อยละ 39.5 ไม่ทราบบทบาท แต่ร้อยละ 32.1 ก็เชื่อว่าดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะช่วยในการพัฒนาประเทศ ร้อยละ
54.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 13.4 ไม่เชื่อ
ต่อกรณีที่จะให้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์มาร่วมงานกับรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์นั้น ร้อยละ 37.2 เห็นว่าควร เพราะมีความรู้ความ
สามารถ ร้อยละ 20.7 เห็นว่าควรเพราะรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ร้อยละ 9.0 เห็นว่าควร เพราะเป็นการดึงคน
สำคัญในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรมาเป็นพวก ร้อยละ 18.0 เห็นว่าไม่ควร เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้น ร้อยละ
7.5 เห็นว่าไม่ควร เพราะแนวคิดของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ขัดกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง เท่ากับผู้ที่เห็นว่าไม่ควร เพราะเป็นคนของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร
เมื่อเปรียบเทียบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดแบบทุนนิยม ร้อยละ 51.9 เห็นว่าขัดแย้งกัน ร้อยละ 22.2 เห็นว่าสอดคล้องกัน และ
ร้อยละ 25.8 ไม่ทราบ เพราะไม่เข้าใจปรัชญาและ/หรือแนวคิดดังกล่าว
ส่วนประเด็นที่คาดกันว่าเกี่ยวข้องกับการเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น ร้อยละ 14.8 เห็นว่าดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ควรเป็น
ร้อยละ 57.0 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 28.2 เห็นว่าไม่ควร
ในด้านภาพลักษณ์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์หลังการมีข่าวว่าดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์จะมาร่วมงานด้วย ร้อยละ 54.5 เห็นว่าเหมือน
เดิม ร้อยละ 22.8 เห็นว่าดีขึ้น และร้อยละ 22.7 เห็นว่าแย่ลง โดยร้อยละ 32.9 เห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์การดึงศัตรูมาเป็นมิตร ร้อยละ 11.4
เห็นว่าเป็นการแบ่งแยกและปกครอง ร้อยละ 10.1 เห็นว่าเป็นแบบเกลือจิ้มเกลือ และ ร้อยละ 45.7 ไม่มีความเห็น สุดท้ายเมื่อถามว่าต้องการให้
ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ร้อยละ 24.2 ต้องการนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 21.5 ต้องการพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 13.1 ต้อง
การ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ 6.9 ต้องการนายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 6.3 ต้องการนายจาตุรนต์ ฉายแสง ร้อยละ 3.4 ต้องการ พ.
ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และที่เหลืออีกร้อยละ 24.5 ส่วนใหญ่ต้องการใครก็ได้ที่เป็นคนดีมีความสามารถ รักชาติ ไม่โกงกิน
จะเห็นว่าภาพลักษณ์ของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์โดยรวมในสายตาประชาชนเป็นคนมีความรู้ความสามารถในการวางแผนด้านเศรษฐกิจ
การที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคิดในการนำดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์เข้ามาช่วย
งาน แม้ว่ามากกว่าครึ่งจะเห็นว่าแนวคิดแบบทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียงขัดแย้งกันก็ตาม ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์จึงมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้านวิชาการ
และการบริหาร ไม่ได้โดดเด่นทางการเมือง เพียงแต่เป็นนักวิชาการที่นักการเมืองเห็นความสามารถจึงนำมาทำงานด้วย ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า
ระหว่าง “ความรู้ความสามารถ” กับ “มารยาททางการเมือง” จะเลือกอะไร
บทบาทเด่นชัดของ ร้อยละ ความเชื่อว่ามีความรู้ความสามารถ ร้อยละ การให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาร่วมงาน ร้อยละ
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เพียงพอที่จะช่วยในการพัฒนาประเทศ กับรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
วางแผนด้านเศรษฐกิจให้รัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร 50.3 ไม่แน่ใจ 54.6 ควร เพราะเป็นการดึงคนสำคัญในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นพวก 9
ไม่ทราบ 39.5 เชื่อ 32.1 ควร เพราะดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มีความรู้ความสามารถ 37.2
ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น 10.2 ไม่เชื่อ 13.4 ควร เพราะรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ 20.7
รวม 100 รวม 100 ไม่ควร เพราะแนวคิดของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ขัดกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง 7.5
ไม่ควร เพราะ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นคนของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 7.5
ไม่ควร เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้น 18
รวม 100
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดแบบทุนนิยม ร้อยละ การเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ร้อยละ ภาพลักษณ์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ
ของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หลังการที่มีข่าวว่า ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
จะร่วมงานกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ขัดแย้งกัน 51.9 ไม่แน่ใจ 57 เหมือนเดิม 54.5
ไม่ทราบ เพราะไม่เข้าใจปรัชญาและ/หรือแนวคิดดังกล่าว 25.8 ไม่ควร 28.2 ดีขึ้น 22.8
สอดคล้องกัน 22.2 ควร 14.8 แย่ลง 22.7
รวม 100 รวม 100 รวม 100
ความคิดเห็นต่อการให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ นายกรัฐมนตรีต่อไปที่ต้องการ ร้อยละ
มาร่วมงานกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ว่าเป็นยุทธศาสตร์แบบใด
ไม่มีความเห็น 45.7 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.2
ดึงศัตรูมาเป็นมิตร 32.9 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 21.5
แบ่งแยกและปกครอง 11.4 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 13.1
เกลือจิ้มเกลือ 10.1 นายบรรหาร ศิลปอาชา 6.9
รวม 100 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 6.3
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 3.4
อื่นๆ (ส่วนใหญ่ตอบว่าคนดีมีความสามารถ รักชาติ ไม่โกงกิน) 24.5
รวม 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-
ที่ “หัวใจ” ของรัฐบาลชุดที่แล้วจะมาทำงานประชาสัมพันธ์แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้รัฐบาลชุดปัจจุบัน จึงกลายเป็นเป้าโจมตีอย่างแรง ศูนย์
ประชามติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จึงสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 1448 คน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 ในหัว
ข้อ “ภาพลักษณ์ทางการเมืองของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” ผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 50.3 เห็นว่าบทบาทที่เด่นชัดที่สุดของดร.สมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ คือการวางแผนด้านเศรษฐกิจให้รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มีเพียงร้อยละ 10.2 เท่านั้นที่เห็นว่าทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และอีก
ร้อยละ 39.5 ไม่ทราบบทบาท แต่ร้อยละ 32.1 ก็เชื่อว่าดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์มีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะช่วยในการพัฒนาประเทศ ร้อยละ
54.6 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 13.4 ไม่เชื่อ
ต่อกรณีที่จะให้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์มาร่วมงานกับรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์นั้น ร้อยละ 37.2 เห็นว่าควร เพราะมีความรู้ความ
สามารถ ร้อยละ 20.7 เห็นว่าควรเพราะรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ร้อยละ 9.0 เห็นว่าควร เพราะเป็นการดึงคน
สำคัญในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตรมาเป็นพวก ร้อยละ 18.0 เห็นว่าไม่ควร เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้น ร้อยละ
7.5 เห็นว่าไม่ควร เพราะแนวคิดของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ขัดกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง เท่ากับผู้ที่เห็นว่าไม่ควร เพราะเป็นคนของ พ.ต.ท.ดร.
ทักษิณ ชินวัตร
เมื่อเปรียบเทียบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดแบบทุนนิยม ร้อยละ 51.9 เห็นว่าขัดแย้งกัน ร้อยละ 22.2 เห็นว่าสอดคล้องกัน และ
ร้อยละ 25.8 ไม่ทราบ เพราะไม่เข้าใจปรัชญาและ/หรือแนวคิดดังกล่าว
ส่วนประเด็นที่คาดกันว่าเกี่ยวข้องกับการเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปนั้น ร้อยละ 14.8 เห็นว่าดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ควรเป็น
ร้อยละ 57.0 ไม่แน่ใจ และ ร้อยละ 28.2 เห็นว่าไม่ควร
ในด้านภาพลักษณ์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์หลังการมีข่าวว่าดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์จะมาร่วมงานด้วย ร้อยละ 54.5 เห็นว่าเหมือน
เดิม ร้อยละ 22.8 เห็นว่าดีขึ้น และร้อยละ 22.7 เห็นว่าแย่ลง โดยร้อยละ 32.9 เห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์การดึงศัตรูมาเป็นมิตร ร้อยละ 11.4
เห็นว่าเป็นการแบ่งแยกและปกครอง ร้อยละ 10.1 เห็นว่าเป็นแบบเกลือจิ้มเกลือ และ ร้อยละ 45.7 ไม่มีความเห็น สุดท้ายเมื่อถามว่าต้องการให้
ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ร้อยละ 24.2 ต้องการนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 21.5 ต้องการพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ 13.1 ต้อง
การ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ 6.9 ต้องการนายบรรหาร ศิลปอาชา ร้อยละ 6.3 ต้องการนายจาตุรนต์ ฉายแสง ร้อยละ 3.4 ต้องการ พ.
ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และที่เหลืออีกร้อยละ 24.5 ส่วนใหญ่ต้องการใครก็ได้ที่เป็นคนดีมีความสามารถ รักชาติ ไม่โกงกิน
จะเห็นว่าภาพลักษณ์ของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์โดยรวมในสายตาประชาชนเป็นคนมีความรู้ความสามารถในการวางแผนด้านเศรษฐกิจ
การที่รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคิดในการนำดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์เข้ามาช่วย
งาน แม้ว่ามากกว่าครึ่งจะเห็นว่าแนวคิดแบบทุนนิยมกับเศรษฐกิจพอเพียงขัดแย้งกันก็ตาม ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์จึงมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่นด้านวิชาการ
และการบริหาร ไม่ได้โดดเด่นทางการเมือง เพียงแต่เป็นนักวิชาการที่นักการเมืองเห็นความสามารถจึงนำมาทำงานด้วย ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า
ระหว่าง “ความรู้ความสามารถ” กับ “มารยาททางการเมือง” จะเลือกอะไร
บทบาทเด่นชัดของ ร้อยละ ความเชื่อว่ามีความรู้ความสามารถ ร้อยละ การให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มาร่วมงาน ร้อยละ
ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เพียงพอที่จะช่วยในการพัฒนาประเทศ กับรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
วางแผนด้านเศรษฐกิจให้รัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร 50.3 ไม่แน่ใจ 54.6 ควร เพราะเป็นการดึงคนสำคัญในรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร มาเป็นพวก 9
ไม่ทราบ 39.5 เชื่อ 32.1 ควร เพราะดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มีความรู้ความสามารถ 37.2
ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น 10.2 ไม่เชื่อ 13.4 ควร เพราะรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยังแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ 20.7
รวม 100 รวม 100 ไม่ควร เพราะแนวคิดของ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ขัดกับแนวเศรษฐกิจพอเพียง 7.5
ไม่ควร เพราะ ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นคนของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 7.5
ไม่ควร เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองเพิ่มขึ้น 18
รวม 100
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับแนวคิดแบบทุนนิยม ร้อยละ การเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ร้อยละ ภาพลักษณ์ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ร้อยละ
ของดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หลังการที่มีข่าวว่า ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
จะร่วมงานกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ขัดแย้งกัน 51.9 ไม่แน่ใจ 57 เหมือนเดิม 54.5
ไม่ทราบ เพราะไม่เข้าใจปรัชญาและ/หรือแนวคิดดังกล่าว 25.8 ไม่ควร 28.2 ดีขึ้น 22.8
สอดคล้องกัน 22.2 ควร 14.8 แย่ลง 22.7
รวม 100 รวม 100 รวม 100
ความคิดเห็นต่อการให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ร้อยละ นายกรัฐมนตรีต่อไปที่ต้องการ ร้อยละ
มาร่วมงานกับพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ว่าเป็นยุทธศาสตร์แบบใด
ไม่มีความเห็น 45.7 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 24.2
ดึงศัตรูมาเป็นมิตร 32.9 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ 21.5
แบ่งแยกและปกครอง 11.4 ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 13.1
เกลือจิ้มเกลือ 10.1 นายบรรหาร ศิลปอาชา 6.9
รวม 100 นายจาตุรนต์ ฉายแสง 6.3
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 3.4
อื่นๆ (ส่วนใหญ่ตอบว่าคนดีมีความสามารถ รักชาติ ไม่โกงกิน) 24.5
รวม 100
--รามคำแหงโพลล์--
-พห-