แท็ก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการ
แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
___________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 และมาตรา 85/16 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และถ้ามีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย
การเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการที่กระทำเป็นครั้งคราว หรือประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนน้อย รายการเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด การเปลี่ยนแปลงเงินทุนที่ชำระแล้ว การเพิ่มทุนหรือการลดทุน การเปลี่ยนแปลงจำนวนลูกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการนั้น
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปิดสถานประกอบการบางแห่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันปิดสถานประกอบการ การปิดสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึงวันที่หยุดการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งเลิกกิจการ ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
(4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะย้ายสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือ ย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่หรือสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ณ สถานประกอบการที่ย้ายไป หรือไม่ปรากฏสถานประกอบการตามที่แจ้งย้าย ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ย้ายสถานประกอบการ
การย้ายสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง วันที่ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสถานประกอบการตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท
(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะหยุดประกอบกิจการ ชั่วคราว เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
(6) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการบางส่วน ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
การโอนกิจการบางส่วนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะต้องไม่ดำเนินการในส่วนของกิจการที่ได้โอนไปแล้วนั้นอีกต่อไป
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
(7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการทั้งหมด ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย
การโอนกิจการทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวต้องเลิกประกอบกิจการนั้นด้วย
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
(8) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกประกอบกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ
การเลิกประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การเลิกประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(10) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสิ้นสุดลง และให้ ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตาย มีสิทธิประกอบกิจการต่อไปได้อีกไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย แต่ต้องแจ้งให้ นายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทราบถึงความตายของผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเร็วที่สุด ซึ่ง ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายมีสิทธิและความรับผิดในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียน
กรณีที่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายไม่ใช้สิทธิดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย
กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทนั้นมีสิทธิขอโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ โดยให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ผู้ตายได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
กรณีที่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับโอนไม่ใช่ผู้ประกอบการ จดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอน กิจการ พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ผู้ตายได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มไว้
ข้อ 2 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
กรณีเจ้าพนักงานสรรพากรสำรวจสภาพการประกอบกิจการของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการสำรวจแหล่งภาษีอากรและการ ติดตามการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนไปพบเจ้าพนักงานสรรพากร เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง หากผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ไปพบเจ้าพนักงาน สรรพากรและยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่เจ้าพนักงานสรรพากรกำหนด ให้ถือว่าแบบสำรวจสภาพการประกอบกิจการที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพากรจะใช้ในการแก้ไขรายการประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานสรรพากรแก้ไขรายการประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน
เจ้าพนักงานสรรพากรจะต้องกำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคัดค้านการแก้ไขประเภทการประกอบกิจการ ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการ
ข้อ 3 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน พร้อมกับสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคลดังกล่าว
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนพร้อมกับสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะเป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(4) กรณีตัวแทนที่อยู่ในราชอาณาจักรมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทน และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร พร้อมกับหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์ อักษร ซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ
(5) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) กรณีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (4) มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม (2)(3)(4) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
(7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (4) เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมหรือย้ายสถานประกอบการ โดยใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็น สถานประกอบการหรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) ให้แนบสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านซึ่งแสดงที่ตั้งอย่าง ชัดเจนเพียงพอที่จะส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ได้ หรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง
(ข) ถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าวด้วย
(8) กรณีสถานที่ตั้งของสถานประกอบการแห่งใดยังไม่มีทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้แนบแผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการนั้น
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (4) เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่ประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้แนบหลักฐานใบมรณบัตร หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดก การเป็นทายาท หรือการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม การยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง หากเจ้าพนักงานสรรพากรมีความเห็นว่าเอกสารดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จำต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากร
ข้อ 4 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 3 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีรายการและเอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงรายการในแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้แนบเอกสารตามข้อ 3 หรือแนบเอกสารแต่ไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนและติดตามให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำหลักฐานมาส่งมอบให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป
แม้ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 3 ประกอบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องครบถ้วน และเจ้าพนักงานสรรพากรได้รับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นกรณีเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงเอกสาร หลักฐานตามข้อ 3 เป็นเท็จหรือไม่ตรงกับเอกสารของทางราชการ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง เช่น จากการไต่สวนพบว่าผู้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นลูกจ้าง พนักงาน แต่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการ ผู้จัดการ
(3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีสถานประกอบการจริงตามเอกสารที่ยื่นพร้อมกับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้สำนักงานกฎหมายหรือสำนักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร
(5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการตามที่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการหรือประเภทสินค้าหรือบริการ
(6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิใช่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของ ผู้ตาย
ข้อ 5 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดำเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่แทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน สำหรับกรณี เปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ซึ่งมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม กรณีย้ายสถานประกอบการ กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ถึงแก่ความตาย
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง ได้มีการปิดสถานประกอบการบางแห่งและเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม เลขที่สาขาที่แสดงในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้ใช้เลขที่สาขาต่อเนื่องกันไป มิให้นำเลขที่สาขาของสถานประกอบการที่ปิดมาเป็นเลขที่สาขาของสถานประกอบการที่เปิดเพิ่มเติม
ข้อ 6 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรบันทึกรายการในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ ดังนี้
(1) วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แก่
(ก) กรณีเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม คือ วันเดือนปี ที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 4 เว้นแต่ กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ ให้แก่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนเพราะเข้าลักษณะตามข้อ 4 วรรคสาม ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตั้งแต่วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการ เปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค) กรณีย้ายสถานประกอบการ คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ความในวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
(2) วันเริ่มประกอบการ คือ วันเดือนปีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) วันที่ออกใบทะเบียน คือ วันเดือนปีที่ผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ 7 ผู้มีอำนาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่ สำหรับสถานประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่รับ ผิดชอบของสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) สรรพากรจังหวัด สำหรับสถานประกอบการที่อยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น
ข้อ 8 ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศนี้ด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-ยก-
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 131)
เรื่อง กำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการ
แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว
___________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85/6 วรรคสอง มาตรา 85/7 วรรคสี่ มาตรา 85/8 วรรคสาม มาตรา 85/13 มาตรา 85/14 มาตรา 85/15 และมาตรา 85/16 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังต่อไปนี้แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และถ้ามีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับการแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย
การเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญตามวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการที่กระทำเป็นครั้งคราว หรือประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนน้อย รายการเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น การเปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนของบริษัทจำกัด การเปลี่ยนแปลงเงินทุนที่ชำระแล้ว การเพิ่มทุนหรือการลดทุน การเปลี่ยนแปลงจำนวนลูกจ้าง หรือการเปลี่ยนแปลงอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการนั้น
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปิดสถานประกอบการบางแห่ง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มไว้ ภายในสิบห้าวันนับจากวันปิดสถานประกอบการ การปิดสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึงวันที่หยุดการประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งเลิกกิจการ ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
(4) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะย้ายสถานประกอบการไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือ ย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก่อนวันย้ายสถานประกอบการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่หรือสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการแห่งใหม่ตั้งอยู่ ก่อนวันเปิดสถานประกอบการแห่งใหม่ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสถานประกอบการแห่งใหม่นั้น พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ได้ย้ายสถานประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายสถานประกอบการอยู่ภายในท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ หรือย้ายไปอยู่ต่างท้องที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ณ สถานประกอบการที่ย้ายไป หรือไม่ปรากฏสถานประกอบการตามที่แจ้งย้าย ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ย้ายสถานประกอบการ
การย้ายสถานประกอบการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง วันที่ย้ายหรือเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของสถานประกอบการตามความเป็นจริง มิใช่วันที่แจ้งย้ายต่อนายทะเบียน หุ้นส่วนบริษัท
(5) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะหยุดประกอบกิจการ ชั่วคราว เป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่าสามสิบวัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนแจ้งการหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่หยุดประกอบกิจการชั่วคราว
(6) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการบางส่วน ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
การโอนกิจการบางส่วนตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะต้องไม่ดำเนินการในส่วนของกิจการที่ได้โอนไปแล้วนั้นอีกต่อไป
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
(7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะโอนกิจการทั้งหมด ให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งการโอนกิจการ และแจ้งการเลิกประกอบกิจการ ณ สถานที่ ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนวันโอนกิจการไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ด้วย
การโอนกิจการทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง หมายถึง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนโอนกิจการไปแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวต้องเลิกประกอบกิจการนั้นด้วย
กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
กรณีผู้รับโอนกิจการไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการ
(8) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นนิติบุคคลใดประสงค์จะควบเข้ากัน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกประกอบกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการเดิม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ และให้นิติบุคคลใหม่ซึ่งได้ควบเข้ากันยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลใหม่
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นแจ้งเลิกกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ภายในสิบห้าวันนับจากวันเลิกประกอบกิจการ
การเลิกประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การเลิกประกอบกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(10) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาถึงแก่ความตาย ความเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนของผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวสิ้นสุดลง และให้ ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตาย มีสิทธิประกอบกิจการต่อไปได้อีกไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย แต่ต้องแจ้งให้ นายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทราบถึงความตายของผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยเร็วที่สุด ซึ่ง ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายมีสิทธิและความรับผิดในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียน
กรณีที่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตายไม่ใช้สิทธิดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกดังกล่าวคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ ผู้ประกอบการจดทะเบียนถึงแก่ความตาย
กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทนั้นมีสิทธิขอโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ โดยให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนกิจการ และการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ามี ณ สถานที่ ที่ผู้รับโอนได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอนกิจการพร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ผู้ตายได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
กรณีที่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้รับโอนไม่ใช่ผู้ประกอบการ จดทะเบียน ให้ผู้รับโอนยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันรับโอน กิจการ พร้อมกับคืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ตาย ณ สถานที่ที่ผู้ตายได้จดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มไว้
ข้อ 2 แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
กรณีเจ้าพนักงานสรรพากรสำรวจสภาพการประกอบกิจการของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการสำรวจแหล่งภาษีอากรและการ ติดตามการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และได้แจ้งให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนไปพบเจ้าพนักงานสรรพากร เพื่อแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่ง หากผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ไปพบเจ้าพนักงาน สรรพากรและยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในเวลาที่เจ้าพนักงานสรรพากรกำหนด ให้ถือว่าแบบสำรวจสภาพการประกอบกิจการที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งเจ้าพนักงานสรรพากรจะใช้ในการแก้ไขรายการประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนให้ถูกต้อง ทั้งนี้ เจ้าพนักงานสรรพากรจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานสรรพากรแก้ไขรายการประเภทการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียน
เจ้าพนักงานสรรพากรจะต้องกำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคัดค้านการแก้ไขประเภทการประกอบกิจการ ทั้งนี้ กำหนดระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน นับแต่วันที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงประเภทการประกอบกิจการ
ข้อ 3 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 3 ฉบับ โดยแสดงรายการให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมกับแนบเอกสาร ดังต่อไปนี้
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิที่มิใช่นิติบุคคล หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของ ผู้ประกอบการจดทะเบียน พร้อมกับสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือการจัดตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคลดังกล่าว
(3) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร องค์การของรัฐบาลตามมาตรา 2 แห่งประมวลรัษฎากร สหกรณ์และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนพร้อมกับสำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือหลักฐานอื่นที่แสดงฐานะเป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
(4) กรณีตัวแทนที่อยู่ในราชอาณาจักรมีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทน และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร พร้อมกับหนังสือตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์ อักษร ซึ่งมีการรับรองโดยสถานทูต หรือสถานกงสุล หรือบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นชอบ
(5) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(6) กรณีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (4) มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแทน ให้แนบภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) และผู้มีอำนาจกระทำการแทนตาม (2)(3)(4) และภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
(7) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (4) เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมหรือย้ายสถานประกอบการ โดยใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็น สถานประกอบการหรือใช้สถานประกอบการของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้แนบเอกสารดังต่อไปนี้
(ก) ให้แนบสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านซึ่งแสดงที่ตั้งอย่าง ชัดเจนเพียงพอที่จะส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ได้ หรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง
(ข) ถ้าเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ให้แนบสัญญาเช่าโดยสัญญาเช่าดังกล่าวต้องระบุชื่อ ที่อยู่ ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วย และถ้าเป็นกรณีเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ให้ใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แนบหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบการ และสำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ใช้สถานที่อยู่อาศัยของตนเองหรือบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ ให้ติดป้ายแสดงชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไว้ในที่เปิดเผยซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบการดังกล่าวด้วย
(8) กรณีสถานที่ตั้งของสถานประกอบการแห่งใดยังไม่มีทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ให้แนบแผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการนั้น
(9) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนตาม (1) ถึง (4) เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่ประสงค์จะประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถึงแก่ความตายต่อไป ให้แนบหลักฐานใบมรณบัตร หลักฐานแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดก การเป็นทายาท หรือการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม การยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมกับแนบเอกสารตามวรรคหนึ่ง หากเจ้าพนักงานสรรพากรมีความเห็นว่าเอกสารดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือเพียงพอแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่จำต้องแสดงเอกสารตัวจริงต่อเจ้าพนักงานสรรพากร
ข้อ 4 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจสอบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 3 ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ ถ้าปรากฏว่ามีรายการและเอกสารแนบถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนดำเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงรายการในแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ได้แนบเอกสารตามข้อ 3 หรือแนบเอกสารแต่ไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ก่อนและติดตามให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำหลักฐานมาส่งมอบให้ถูกต้องครบถ้วนต่อไป
แม้ว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะได้แสดงรายการพร้อมทั้งแนบเอกสารตามข้อ 3 ประกอบแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกต้องครบถ้วน และเจ้าพนักงานสรรพากรได้รับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามวรรคหนึ่งแล้ว ถ้าเป็นกรณีเข้าลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ให้เจ้าพนักงานสรรพากรออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน
(1) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนแสดงเอกสาร หลักฐานตามข้อ 3 เป็นเท็จหรือไม่ตรงกับเอกสารของทางราชการ
(2) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นตัวแทนเชิดของเจ้าของกิจการที่แท้จริง เช่น จากการไต่สวนพบว่าผู้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นลูกจ้าง พนักงาน แต่ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการ ผู้จัดการ
(3) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม่มีสถานประกอบการจริงตามเอกสารที่ยื่นพร้อมกับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนใช้สำนักงานกฎหมายหรือสำนักงานบัญชีของบุคคลอื่นเป็นสถานประกอบการ เว้นแต่กรณีเป็นตัวแทนของ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่อยู่นอกราชอาณาจักร
(5) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิได้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการตามที่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงประเภทกิจการหรือประเภทสินค้าหรือบริการ
(6) ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนมิใช่ผู้ครอบครองทรัพย์มรดกที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจการของผู้ตาย หรือเป็นผู้จัดการมรดกหรือทายาทของ ผู้ตาย
ข้อ 5 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรดำเนินการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่แทนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับเดิมให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน สำหรับกรณี เปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ซึ่งมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อความในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม กรณีย้ายสถานประกอบการ กรณีผู้รับโอนกิจการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน กรณีผู้จัดการมรดกหรือทายาทที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับโอนกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาที่ถึงแก่ความตาย
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง ได้มีการปิดสถานประกอบการบางแห่งและเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม เลขที่สาขาที่แสดงในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ให้ใช้เลขที่สาขาต่อเนื่องกันไป มิให้นำเลขที่สาขาของสถานประกอบการที่ปิดมาเป็นเลขที่สาขาของสถานประกอบการที่เปิดเพิ่มเติม
ข้อ 6 ให้เจ้าพนักงานสรรพากรบันทึกรายการในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ ดังนี้
(1) วันที่ให้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ได้แก่
(ก) กรณีเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในสาระสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ที่ตั้งของสถานประกอบการ ประเภทกิจการที่กระทำเป็นปกติ ประเภทสินค้าหรือบริการที่กระทำเป็นส่วนใหญ่ คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
(ข) กรณีเปิดสถานประกอบการเพิ่มเติม คือ วันเดือนปี ที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 4 เว้นแต่ กรณีที่เจ้าพนักงานสรรพากรไม่ออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับใหม่ ให้แก่ผู้ประกอบการ จดทะเบียนเพราะเข้าลักษณะตามข้อ 4 วรรคสาม ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตั้งแต่วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับแบบแจ้งการ เปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ค) กรณีย้ายสถานประกอบการ คือ วันเดือนปีที่เจ้าพนักงานสรรพากรรับคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 85 วรรคสี่ แห่งประมวลรัษฎากร
ความในวรรคหนึ่ง อธิบดีกรมสรรพากรจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
(2) วันเริ่มประกอบการ คือ วันเดือนปีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) วันที่ออกใบทะเบียน คือ วันเดือนปีที่ผู้มีอำนาจอนุมัติลงนามในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อ 7 ผู้มีอำนาจออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
(1) สรรพากรพื้นที่ สำหรับสถานประกอบการที่อยู่ในเขตพื้นที่รับ ผิดชอบของสรรพากรพื้นที่นั้น
(2) สรรพากรจังหวัด สำหรับสถานประกอบการที่อยู่ในท้องที่จังหวัดนั้น
ข้อ 8 ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติ ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจวินิจฉัย และคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศนี้ด้วย
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล
(นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล)
อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-ยก-