เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๓๕)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงิงินได้ตามข้อ ๒ (๖๑)
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ.๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ.๒๕๐๙) ออกตามคว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับทีที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ. 2551) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์และวีธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงิงินได้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๓ ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๗๒) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็ป็นเบี้ยประกันชีวิตของผูผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61 ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
"(3) กรณีสามีภริริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(ก) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในปีปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๗ ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,00 0 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 4 2 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
(ข) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็ปนเงินได้พึงประเมินตาม ๔๐ (๑) แห่หงประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นเงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา ๕๗ ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้ว้นภาษี ตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่ง ประมวลรัษฎากรแล้ว
(ค) ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา ๕๗ ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท และได้รับยกเว้นภาษีส่วนของสามีหรือภริยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง เฉพาะส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ซึ่งไม่เกิน เงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร