กฎกระทรวง
ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ,ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของข้อ 2 (30) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126(พ.ศ.2509) ออก ตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 223 (พ.ศ.2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
"(ค) ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนไว้แล้ว"
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2544
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง _______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ผู้ทรงสิทธิในตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก จะเป็นผู้รับดอกเบี้ยจากตราสารดังกล่าวทั้งจำนวนและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทหนึ่งที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2)แห่งประมวลรัษฎากร แต่ ดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งจำนวนนั้นอาจรวมผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีอีกประเภทหนึ่งไว้ด้วยเพื่อมิให้เกิดการเสียภาษีซ้ำซ้อนกันและความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งเป็นผู้รับดอกเบี้ยจริงเพียงบางส่วนแต่ต้องเสียภาษีสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนสมควรกำหนดให้ดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 80 ก วันที่ 13 กันยายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-รอ-
ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ,ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของข้อ 2 (30) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126(พ.ศ.2509) ออก ตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 223 (พ.ศ.2542) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
"(ค) ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากร จากดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนไว้แล้ว"
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2544
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง _______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ผู้ทรงสิทธิในตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก จะเป็นผู้รับดอกเบี้ยจากตราสารดังกล่าวทั้งจำนวนและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทหนึ่งที่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2)แห่งประมวลรัษฎากร แต่ ดอกเบี้ยที่ได้รับทั้งจำนวนนั้นอาจรวมผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีอีกประเภทหนึ่งไว้ด้วยเพื่อมิให้เกิดการเสียภาษีซ้ำซ้อนกันและความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ซึ่งเป็นผู้รับดอกเบี้ยจริงเพียงบางส่วนแต่ต้องเสียภาษีสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวทั้งจำนวนสมควรกำหนดให้ดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 80 ก วันที่ 13 กันยายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-รอ-