พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
________________________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2544
เป็นปีที่ 56 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรบางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 377) พ.ศ. 2544"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"เงินเทียบเท่าเงินปันผล" หมายความว่า เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้เสนอขาย ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จ่ายให้แก่ผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยดังกล่าว เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายได้รับเงินปันผลจากหลักทรัพย์ อ้างอิงที่ระบุตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยดังกล่าว
มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงและเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้สำหรับรายได้ที่เป็น
(1) เงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองหลักทรัพย์อ้างอิงที่ระบุตามใบ แสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทย
(2) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่ระบุตามใบแสดงสิทธิในผล ประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(3) เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 5 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
มาตรา 6 ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผล ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิต เงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
มาตรา 7 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ข) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้จากบริษัทหรือ ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4
มาตรา 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
___________________________________________________________________________________________________ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือโดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขึ้นเพื่อทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุนโดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนแทนการถือหลักทรัพย์โดยตรงซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ตลาดทุนของประเทศแพร่ หลายมากขึ้น แต่เนื่องจากการดำเนินการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีภาระ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและ เมื่อจ่ายเงินได้ที่เป็นผลตอบ แทนให้แก่ผู้ลงทุนแล้วยังมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ดังกล่าว นอกจากนั้น ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายของต่างประเทศยังมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับ ผลตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ได้รับอีกด้วยดังนั้นสมควรยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวรวมทั้งลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นดังกล่าว และเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุน ในหลักทรัพย์ไทยให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
(ร.จ.ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 26 ก วันที่ 1 พฤษภาคม 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
________________________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2544
เป็นปีที่ 56 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรบางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 377) พ.ศ. 2544"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ในพระราชกฤษฎีกานี้
"เงินเทียบเท่าเงินปันผล" หมายความว่า เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้เสนอขาย ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จ่ายให้แก่ผู้ถือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยดังกล่าว เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้จ่ายได้รับเงินปันผลจากหลักทรัพย์ อ้างอิงที่ระบุตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยดังกล่าว
มาตรา 4 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน 3 หมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงและเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้สำหรับรายได้ที่เป็น
(1) เงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองหลักทรัพย์อ้างอิงที่ระบุตามใบ แสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์ อ้างอิงไทย
(2) เงินได้จากการขายหลักทรัพย์อ้างอิงที่ระบุตามใบแสดงสิทธิในผล ประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(3) เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
มาตรา 5 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(2)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
มาตรา 6 ผู้มีเงินได้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยและได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4 และยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(2) แห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 10.0 ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผล ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิต เงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
มาตรา 7 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ข) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยได้จากบริษัทหรือ ห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 4
มาตรา 8 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
___________________________________________________________________________________________________ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือโดยที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้กำหนดให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขึ้นเพื่อทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์แทนผู้ลงทุนโดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวออกใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทยตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุนแทนการถือหลักทรัพย์โดยตรงซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ตลาดทุนของประเทศแพร่ หลายมากขึ้น แต่เนื่องจากการดำเนินการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีภาระ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและ เมื่อจ่ายเงินได้ที่เป็นผลตอบ แทนให้แก่ผู้ลงทุนแล้วยังมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ดังกล่าว นอกจากนั้น ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายของต่างประเทศยังมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับ ผลตอบแทนที่ได้รับจากบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่ได้รับอีกด้วยดังนั้นสมควรยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสนอขายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวรวมทั้งลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นดังกล่าว และเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุน ในหลักทรัพย์ไทยให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
(ร.จ.ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 26 ก วันที่ 1 พฤษภาคม 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-