คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

ข่าวทั่วไป Monday January 11, 2016 14:04 —ข้อบังคับและประกาศภาษีสรรพากร

คำชี้แจงกรมสรรพากร

เรื่อง การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ

การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

_______________________

ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๕๗) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๕๘) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๕๙) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม เพื่อการเลี้ยงชีพและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น

เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF และกองทุน LTF สำหรับฐานในการคำนวณค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าวเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามกฎหมาย กรมสรรพากรจึงขอชี้แจง ดังนี้

๑. ผู้มีเงินได้ที่ซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๖๙) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๗๐) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๑๗๑) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรทั้งสามฉบับดังกล่าว

๒. การซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ผู้มีเงินได้ที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวจะนำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนมาใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

๒.๑ สำหรับหน่วยลงทุน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับปีภาษีนั้น (กรณีผู้มีเงินได้มีการจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบานาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเบี้ยประกันชีวิตสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวมกับค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF แล้วใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีรวมกันได้ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ในแต่ละปีภาษี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด)

๒.๒ สำหรับหน่วยลงทุน LTF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท สำหรับปีภาษีนั้น

สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ที่นำมาเป็นฐาน ในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ได้แก่ เงินได้พึงประเมินซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ ไม่ว่าเงินได้นั้นจะมีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนามารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นหรือไม่ก็ตาม

ตัวอย่าง ๑ ในปี ๒๕๕๘ นาง ก ทำงานเป็นเวลา ๑๐ เดือน ออกจากงานเมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (อายุ ๔๕ ปี อายุงาน ๑๐ ปี) ได้รับเงินได้ ดังนี้

(๑) เงินเดือนในปีภาษี ๒๕๕๘ ทั้งสิ้น ๒,๔๐๐,๐๐๐ บาท

(๒) เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน จำนวน ๔๒๐,๐๐๐ บาท (ซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้และมีสิทธิเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา ๔๘ (๕) แห่งประมวลรัษฎากร โดยนาง ก ใช้สิทธิเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.๙๑)

นาง ก สามารถนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมดรวมจำนวนทั้งสิ้น ๒,๘๒๐,๐๐๐ บาท (๒,๔๐๐,๐๐๐ + ๔๒๐,๐๐๐) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และ หน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน ๔๒๓,๐๐๐ บาท (๒,๘๒๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๒๓,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จำนวน ๔๒๓,๐๐๐ บาท (๒,๘๒๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๒๓,๐๐๐) ตัวอย่าง ๒ ในปี ๒๕๕๘ นาย ข ได้รับเงินได้ ดังนี้ (๑) เงินค่าตอบแทนจากการรับจ้างว่าความทั้งสิ้น ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินปันผล ๗๐๐,๐๐๐ บาท (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑๐ โดยนาย ข ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยใช้สิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๑๐ ตามที่ได้ถูกหักภาษีไว้ โดยไม่นำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐ ตามมาตรา ๔๘ (๓) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)

(๓) เงินส่วนแบ่งกาไรจากกองทุนรวม ๕๐๐,๐๐๐ บาท (เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และนาย ข ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๕๐ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ ๑๐ ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นาย ข ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๖๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยนาย ข ได้ใช้สิทธิไม่นำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐)

นาย ข สามารถนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมด รวมจำนวนทั้งสิ้น ๕,๒๐๐,๐๐๐ บาท (๔,๐๐๐,๐๐๐ + ๗๐๐,๐๐๐ + ๕๐๐,๐๐๐) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๕,๒๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๗๘๐,๐๐๐ เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้สิทธิ ๕๐๐,๐๐๐ บาท)

(ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๕,๒๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๗๘๐,๐๐๐ เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้สิทธิ ๕๐๐,๐๐๐ บาท)

ตัวอย่าง ๓ ในปี ๒๕๕๘ นาย ค ได้รับเงินได้ ดังนี้ (๑) เงินได้จากธุรกิจรับจัดสวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินปันผล ๑๖๐,๐๐๐ บาท (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑๐ โดยเงินปันผลดังกล่าวจ่ายจากกาไรของบริษัทจำกัดซึ่งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ ๒๐ และนาย ค เลือกนำเงินปันผลดังกล่าวมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจาปีตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐)

(๓) ดอกเบี้ยรับจากธนาคารพาณิชย์ เอ ๙๐๐,๐๐๐ บาท (ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี โดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ ๑๕ และเป็นเงินได้ที่มีสิทธิเลือกเสียภาษีในอัตรา ร้อยละ ๑๕ ตามที่ได้ถูกหักภาษีไว้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐ ก็ได้ ตามมาตรา ๔๘ (๓) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร)

นาย ค สามารถนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวทั้งหมด รวมทั้งเครดิตภาษีเงินปันผลรวมจำนวนทั้งสิ้น ๓,๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒,๐๐๐,๐๐๐ + ๑๖๐,๐๐๐ + ๔๐,๐๐๐ (เครดิตภาษีเงินปันผล = ๑๖๐,๐๐๐ x ๒๐/๘๐) + ๙๐๐,๐๐๐ (ดอกเบี้ยรับจากธนาคารตาม (๓) ไม่ว่านาย ค จะใช้สิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ ๑๕ หรือไม่ก็ตาม)) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน ๔๖๕,๐๐๐ บาท (๓,๑๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๖๕,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๔๖๕,๐๐๐ บาท (๓,๑๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๖๕,๐๐๐)

ตัวอย่าง ๔ ในปี ๒๕๕๘ นาย ง อายุ ๖๑ ปี ได้รับเงินได้ ดังนี้ (๑) เงินบาเหน็จ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) กาไรจากการขายหน่วยลงทุน LTF ๗๐๐,๐๐๐ บาท (ถือหน่วยลงทุน LTF ไม่เป็น ไปตามเงื่อนไขที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ ๒ (๖๗) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ฯ จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้จำนวนนี้)

นาย ง สามารถนาเงินได้จานวน ๒,๗๐๐,๐๐๐ บาท (๒,๐๐๐,๐๐๐ + ๗๐๐,๐๐๐) มาใช้เป็นฐานในการคานวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ ในทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๔๐๕,๐๐๐ บาท (๒,๗๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๐๕,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จำนวน ๔๐๕,๐๐๐ บาท (๒,๗๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๐๕,๐๐๐)

3. กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้พึงประเมินในปีภาษี และเงินได้พึงประเมินนั้นมีกฎหมายกาหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินามารวมเป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ เช่น เงินได้พึงประเมินตาม มาตรา ๔๒ (๑) - (๑๖) (๑๘) (๑๙) (๒๓) (๒๔) และ (๒๕) และเงินได้พึงประเมินตาม (๑) - (๓๔) (๓๗) (๔๒) (๔๔) - (๕๑) (๕๖) - (๕๘) (๖๐) (๖๒) - (๖๕) (๖๗) (๖๙) (๗๑) (๗๓) - (๗๕) (๗๙) (๘๐) (๘๒) - (๘๗) ของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ตัวอย่าง ๕ ในปีภาษี ๒๕๕๘ นาง จ ได้รับเงินได้ ดังนี้ (1) เงินได้จากการให้เช่าบ้าน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินได้จากดอกเบี้ยรับจากบัญชีประเภทฝากเผื่อเรียกจากธนาคารออมสิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒(๘)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร)

(๓) เงินได้จากการขายรถยนต์อันเป็นมรดก ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒(๙) แห่งประมวลรัษฎากร)

(๔) เงินได้จากการถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ๑๐๐,๐๐๐ บาท (ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๔๒(๑๑) แห่งประมวลรัษฎากร)

นาง จ สามารถนาเงินได้จานวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท มาใช้เป็นฐานในการคำนวณ ซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้ (เงินได้ จากดอกเบี้ยรับจากบัญชีประเภทฝากเผื่อเรียกจากธนาคารธนาคารออมสินตาม (๒) เงินได้ จากการขายรถยนต์อันเป็นมรดกตาม (๓) และเงินได้จากการถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ตาม (๔) ไม่สามารถนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ได้แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้)

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๕๐,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๕๐,๐๐๐) ตัวอย่าง ๖ ในปีภาษี ๒๕๕๘ นาย ฉ ออกจากงานโดยมีอายุ ๕๖ ปี และเป็นสมาชิกกองทุนสารองเลี้ยงชีพมาแล้ว ๒๐ ปี โดยในปีดังกล่าวได้รับเงินได้ ดังนี้

(๑) เงินเดือน ๓๖๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยกเว้น ภาษีเงินได้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ตามข้อ ๒ (๕๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ)

(๓) เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อออกจากงาน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (นาย ฉ ออกจากงานเมื่ออายุไม่ต่ากว่า ๕๕ ปี และเป็นสมาชิกกองทุนฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ ปี เงินจากกองทุนฯ ที่นาย ฉ ได้รับจึงเข้าเงื่อนไขได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ ๒ (๓๖) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ)

นาย ฉ สามารถนำเงินได้จำนวน ๑,๐๖๐,๐๐๐ บาท [๓๖๐,๐๐๐ + (๑,๐๐๐,๐๐๐ - ๓๐๐,๐๐๐)] มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTFเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้ (ค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายแต่ไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ตาม (๒) และเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตาม (๓) ไม่สามารถนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ได้ แต่อย่างใด เนื่องจากเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งไม่ต้องเสียภาษีเงินได้)

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๑๕๙,๐๐๐ บาท (๑,๐๖๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๕๙,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๑๕๙,๐๐๐ บาท (๑,๐๖๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๕๙,๐๐๐)

ตัวอย่าง 7 ในปี ๒๕๕๘ นาง ช ได้รับเงินได้ ดังนี้ (๑) เงินเดือน ๑,๐๘๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินค่าตอบแทนจากการเป็นที่ปรึกษา ๓๐๐,๐๐๐ บาท (๓) เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ จากบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท

(๔) เงินส่วนแบ่งกำไรจากกองทุนรวม ๑๐๐,๐๐๐ บาท (เป็นกองทุนรวมที่จัดตั้ง ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และนาง ช ยอมให้ ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา ๕๐ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ ๑๐ ของเงินได้ เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินส่วนแบ่งของกาไรดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ ๒๖๒) พ.ศ. ๒๕๓๖ แต่นาง ช ไม่ใช้สิทธิดังกล่าว นาง ช ได้นำเงินส่วนแบ่งของกำไรดังกล่าวไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐)

นาง ช สามารถนำเงินได้ที่ได้รับจานวน ๑,๔๘๐,๐๐๐ บาท (๑,๐๘๐,๐๐๐ + ๓๐๐,๐๐๐ + ๑๐๐,๐๐๐) (เงินปันผลตาม (๓) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จึงไม่สามารถนำมาเป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ได้) มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๒๒๒,๐๐๐ บาท (๑,๔๘๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๒๒๒,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๒๒๒,๐๐๐ บาท (๑,๔๘๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๒๒๒,๐๐๐)

๔. กรณีผู้มีเงินได้ได้รับเงินได้พึงประเมินซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีภาษีนั้นและได้นำเงินได้นั้นไปซื้อหน่วยลงทุน RMF และ/หรือหน่วยลงทุน LTF ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กล่าวในข้อ ๒. แล้ว และในปีภาษีเดียวกันนั้นผู้มีเงินได้มีการจ่ายเงินเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษีกรณีที่มีกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสาหรับเงินได้เท่าที่จ่ายไป เช่น กรณีตามข้อ ๒ (๓๕) (๔๓) (๕๒) - (๕๕) (๕๙) (๖๑) (๖๖) (๖๘) (๗๐) (๗๖) (๗๗) และ (๘๘) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ ผู้มีเงินได้นั้นยังมีสิทธิซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามจำนวนเงินที่ได้กล่าวในข้อ ๒.

ตัวอย่าง ๘ ในปี ๒๕๕๘ นาย ซ อายุ ๓๕ ปี ได้รับเงินเดือนตลอดปีภาษี ๒๕๕๘ จำนวน ๗๒๐,๐๐๐ บาท ในปีดังกล่าวได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท และจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อบ้านที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

นาย ซ สามารถนำเงินได้จำนวน ๗๒๐,๐๐๐ บาท มาใช้เป็นฐานในการคำนวณ ซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๑๐๘,๐๐๐ บาท (๗๒๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๐๘,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๑๐๘,๐๐๐ บาท (๗๒๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๐๘,๐๐๐) ทั้งนี้ กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตจานวน ๓๐,๐๐๐ บาท ผู้มีเงินได้มีสิทธินาไปลดหย่อนภาษีได้ ๑๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๔๗(๑)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร และส่วนที่จ่ายอีก ๒๐,๐๐๐ บาท ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สาหรับเงินได้เท่าที่จ่าย ตามข้อ ๒ (๖๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ และกรณีการจ่ายเงินดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งผู้มีเงินได้มีสิทธินำไปลดหย่อนภาษีได้ ๑๐,๐๐๐ บาท ตามมาตรา ๔๗ (๑) (ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนที่จ่ายอีก ๙๐,๐๐๐ บาท ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ เท่าที่ได้จ่ายไป ๙๐,๐๐๐ บาท ตามข้อ ๒ (๕๒) (๕๓) และ (๕๙) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ รวมใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ๑๓๐,๐๐๐ บาท (๓๐,๐๐๐ + ๑๐๐,๐๐๐) ซึ่งไม่มีผลต่อจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ได้รับที่ต้องเสียภาษีเงินได้ที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ ซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF แต่อย่างใด

๕. กรณีผู้มีเงินได้มีเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษีนั้น และได้นำเงินได้นั้นไปซื้อหน่วยลงทุน RMF และ/หรือหน่วยลงทุน LTF ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กล่าวในข้อ ๒. แล้ว และในปีภาษีเดียวกันนั้นผู้มีเงินได้ได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสาหรับเงินได้ที่ได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ในปีภาษี ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนด (กรณีผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่า ๖๕ ปี หรือเป็นคนพิการ) ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว ผู้มีเงินได้ต้องนำไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินในปีภาษี ในเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยในกรณีที่มีเงินได้พึงประเมินหลายประเภทจะนำไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินประเภทใด จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน ๑๙๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ตามข้อ ๒ (๗๒) และ (๘๑) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๒๖ (พ.ศ. ๒๕๐๙)ฯ ผู้มีเงินได้นั้นก็ยังมีสิทธิซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามจานวนเงินที่ได้กล่าวในข้อ ๒.

ตัวอย่าง ๙ ในปี ๒๕๕๘ นาย ฌ ผู้มีเงินได้อายุ ๖๕ ปีบริบูรณ์ ได้รับเงินบานาญ ๓๐๐,๐๐๐ บาท นาย ฌ สามารถนำเงินบำนาญที่ได้รับจำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท มาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ในทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท (๓๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๕,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จำนวน ๔๕,๐๐๐ บาท (๓๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๔๕,๐๐๐) ทั้งนี้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี ๒๕๕๘ ตามแบบ ภ.ง.ด.๙๑ หากนาย ฌ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากมีอายุไม่ต่ำกว่า ๖๕ ปี โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท นาย ฌ ก็มีสิทธินำไปหักออกจากเงินบำนาญในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามแบบ ภ.ง.ด. ๙๑ ได้ โดยไม่มีผลต่อการนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณ ซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF แต่อย่างใด

ตัวอย่าง ๑๐ ในปี ๒๕๕๘ นาง ญ ผู้มีเงินได้มีอายุ ๖๖ ปี ได้รับเงินได้ ดังนี้ (๑) เงินบานาญ ๔๐๐,๐๐๐ บาท (๒) เงินค่านายหน้า ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) เงินค่าเช่าบ้าน ๒๔๐,๐๐๐ บาท นาง ญ สามารถนาเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น ๑๐,๖๔๐,๐๐๐ บาท (๔๐๐,๐๐๐ + ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ + ๒๔๐,๐๐๐) มาใช้เป็นฐานในการคานวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๑๐,๖๔๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑,๕๖๙,๐๐๐ เกิน ๕๐๐,๐๐๐ จึงได้สิทธิ ๕๐๐,๐๐๐)

(ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน 500,000 บาท (10,640,000 x 15% = 1,596,000 เกิน ๕๐๐,๐๐๐ จึงได้สิทธิ ๕๐๐,๐๐๐)

ทั้งนี้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจาปี ๒๕๕๘ ตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐ หากนาง ญ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากมีอายุไม่ต่ำกว่า ๖๕ ปี โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ จานวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท นาง ญ มีสิทธินำไปหักออกจากเงินได้ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทตาม (๑) (๒) และ (๓) โดยจะหักจากเงินได้แต่ละประเภทจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน ๑๙๐,๐๐๐ บาท โดยไม่มีผลต่อการนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF แต่อย่างใด

ตัวอย่าง ๑๑ ในปี ๒๕๕๘ นาย ณ ผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มีอายุ ๖๐ ปี ได้รับเงินได้ ดังนี้

(๑) ได้รับเงินค่าลิขสิทธิ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (๒) กำไรจากการขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ๕๐๐,๐๐๐ บาท นาย ณ สามารถนำเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๕๐๐,๐๐๐ + ๕๐๐,๐๐๐) มาใช้เป็นฐานในการคานวณซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

(ก) ซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้จานวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๕๐,๐๐๐) (ข) ซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้จานวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท (๑,๐๐๐,๐๐๐ x ๑๕% = ๑๕๐,๐๐๐)ทั้งนี้ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี ๒๕๕๘ ตามแบบ ภ.ง.ด.๙๐ หากนาย ณ เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและประสงค์ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากเป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสาหรับเงินได้จำนวน ๑๙๐,๐๐๐ บาท นาย ณ ก็มีสิทธินำไปหักออกจากเงินได้ประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภทตาม (๑) และ (๒) โดยจะหักจากเงินได้แต่ละประเภทจำนวนเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน ๑๙๐,๐๐๐ บาท

๖. การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสาหรับค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และ LTF ผู้มีเงินได้จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF และหน่วยลงทุน LTF ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นี้ให้ ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา ๔๒ ทวิ ถึงมาตรา ๔๖ แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

จึงขอเรียนชี้แจงและประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

กรมสรรพากร

๑๑ มกราคม ๒๕๕๙


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ