ที่ กค 0811/7267
กรมสรรพากร
90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400
1 ธันวาคม 2543
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการแยกธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยออกจากกัน
เรียน
อ้างถึง
ตามหนังสือที่อ้างถึง ได้หารือกรณีบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 กำหนดให้บริษัทฯจะต้องแยกธุรกิจทั้งสองออกจากกัน บริษัทฯจึงได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นใหม่ในปี 2543 เพื่อรับโอนกิจการประกันวินาศภัยแยกออกไป (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "บริษัทประกันวินาศภัย")ส่วนบริษัทประกันภัยเดิมยังคงประกอบกิจการประกันชีวิตต่อไป (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "บริษัทประกันชีวิต") ก่อนการแยกธุรกิจบริษัทประกันภัยเดิมประกอบด้วยผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด (ถือหุ้น 20%) และบุคคลธรรมดา(ถือหุ้นรวมกัน 80%) ซึ่งต่อมา(ปี 2543) เมื่อมีการแยก ธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัยออกจากกัน กิจการประกันวินาศภัยถูกแยกออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ บริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งยังคงประกอบด้วยผู้ถือหุ้นชุดเดิมที่เป็นบริษัทจำกัด และบุคคลธรรมดา ตามอัตราส่วนเดิมที่ถือในบริษัทประกันภัยเดิม
บริษัทฯ มีปัญหากฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวกับการ แยกบริษัทประกันวินาศภัยออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 282) พ.ศ.2538 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีเงินได้จากการโอนทรัพย์สินเพื่ แยกบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2538 จึงหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาภาษีเงินได้ ของผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นบริษัทจำกัดและบุคคลธรรมดาดังกล่าวข้างต้น ที่เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัทประกันวินาศภัยที่แยกออกไปตั้งขึ้นใหม่ ดังนี้
1. กรณีผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทประกันภัย เดิมทั้งบริษัทจำกัดและบุคคลธรรมดาได้รับหุ้นสามัญในบริษัท ประกันวินาศภัยที่จัดตั้งใหม่ ในอัตราส่วน ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิมใน บริษัทประกันภัยเดิม (คือ 20% และ 80%) มูลค่าหุ้นสามัญที่จดทะเบียน (ราคาพาร์) ตามสัดส่วนเดิมของผู้ถือหุ้นเดิม ที่ได้รับในบริษัทประกันวินาศภัยที่แยกไปตั้งใหม่ในปี 2543 (เท่ากับจำนวนกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรของกิจการประกันวินาศภัยของปีบัญชีก่อนปีบัญชีสุดท้าย (ปี 2541) ในบริษัทประกันภัยเดิมที่ยกมา) จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณี ตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ ดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่
2. มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาพาร์ตามอัตรา ส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้รับ มาในบริษัทประกันวินาศภัยที่ตั้ง ขึ้นใหม่ตาม 1. จะถือเป็นมูลค่าทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นเดิม โดยจะถือเป็นราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้น ตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากรในกรณีผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบริษัทจำกัด และถือเป็นมูลค่าเงินลงทุนของผู้ ถือหุ้นเดิมในกรณีผู้ถือหุ้นเดิม เป็นบุคคลธรรมดา ถูกต้องหรือไม่ นั้น
กรมสรรพากรขอเรียนว่า
1. กรณีตาม 1. เมื่อผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทประกันภัยเดิม ได้รับหุ้นสามัญในบริษัทประกันวินาศภัย ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในอัตราส่วน ที่เท่ากับอัตราส่วนในบริษัทประกันภัยเดิม มูลค่าของหุ้นสามัญที่ผู้ถือหุ้นเดิมได้รับใน บริษัทประกันวินาศภัยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 282) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ
2. กรณีตาม 2. มูลค่าของหุ้นสามัญ ที่ได้รับตาม 1. ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือราคาที่พึง ซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็น บริษัทจำกัด และถือเป็นต้นทุนหรือมูลค่าเงินลง ทุนในหุ้นสามัญของผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบุคคลธรรมดา
ขอแสดงความนับถือ
ชาญยุทธ ปทุมารักษ์
(นายชาญยุทธ ปทุมารักษ์)
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
กรมสรรพากร
90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม.10400
1 ธันวาคม 2543
เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการแยกธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยออกจากกัน
เรียน
อ้างถึง
ตามหนังสือที่อ้างถึง ได้หารือกรณีบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบกิจการประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 กำหนดให้บริษัทฯจะต้องแยกธุรกิจทั้งสองออกจากกัน บริษัทฯจึงได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดขึ้นใหม่ในปี 2543 เพื่อรับโอนกิจการประกันวินาศภัยแยกออกไป (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "บริษัทประกันวินาศภัย")ส่วนบริษัทประกันภัยเดิมยังคงประกอบกิจการประกันชีวิตต่อไป (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า "บริษัทประกันชีวิต") ก่อนการแยกธุรกิจบริษัทประกันภัยเดิมประกอบด้วยผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด (ถือหุ้น 20%) และบุคคลธรรมดา(ถือหุ้นรวมกัน 80%) ซึ่งต่อมา(ปี 2543) เมื่อมีการแยก ธุรกิจประกันชีวิต และประกันวินาศภัยออกจากกัน กิจการประกันวินาศภัยถูกแยกออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ คือ บริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งยังคงประกอบด้วยผู้ถือหุ้นชุดเดิมที่เป็นบริษัทจำกัด และบุคคลธรรมดา ตามอัตราส่วนเดิมที่ถือในบริษัทประกันภัยเดิม
บริษัทฯ มีปัญหากฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวกับการ แยกบริษัทประกันวินาศภัยออกไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 282) พ.ศ.2538 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ กรณีเงินได้จากการโอนทรัพย์สินเพื่ แยกบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต และบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกัน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2538 จึงหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาภาษีเงินได้ ของผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นบริษัทจำกัดและบุคคลธรรมดาดังกล่าวข้างต้น ที่เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัทประกันวินาศภัยที่แยกออกไปตั้งขึ้นใหม่ ดังนี้
1. กรณีผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทประกันภัย เดิมทั้งบริษัทจำกัดและบุคคลธรรมดาได้รับหุ้นสามัญในบริษัท ประกันวินาศภัยที่จัดตั้งใหม่ ในอัตราส่วน ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิมใน บริษัทประกันภัยเดิม (คือ 20% และ 80%) มูลค่าหุ้นสามัญที่จดทะเบียน (ราคาพาร์) ตามสัดส่วนเดิมของผู้ถือหุ้นเดิม ที่ได้รับในบริษัทประกันวินาศภัยที่แยกไปตั้งใหม่ในปี 2543 (เท่ากับจำนวนกำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรรของกิจการประกันวินาศภัยของปีบัญชีก่อนปีบัญชีสุดท้าย (ปี 2541) ในบริษัทประกันภัยเดิมที่ยกมา) จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วแต่กรณี ตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ ดังกล่าว ถูกต้องหรือไม่
2. มูลค่าหุ้นสามัญตามราคาพาร์ตามอัตรา ส่วนของผู้ถือหุ้นเดิมที่ได้รับ มาในบริษัทประกันวินาศภัยที่ตั้ง ขึ้นใหม่ตาม 1. จะถือเป็นมูลค่าทรัพย์สินของผู้ถือหุ้นเดิม โดยจะถือเป็นราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้น ตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากรในกรณีผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบริษัทจำกัด และถือเป็นมูลค่าเงินลงทุนของผู้ ถือหุ้นเดิมในกรณีผู้ถือหุ้นเดิม เป็นบุคคลธรรมดา ถูกต้องหรือไม่ นั้น
กรมสรรพากรขอเรียนว่า
1. กรณีตาม 1. เมื่อผู้ถือหุ้นเดิมในบริษัทประกันภัยเดิม ได้รับหุ้นสามัญในบริษัทประกันวินาศภัย ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ในอัตราส่วน ที่เท่ากับอัตราส่วนในบริษัทประกันภัยเดิม มูลค่าของหุ้นสามัญที่ผู้ถือหุ้นเดิมได้รับใน บริษัทประกันวินาศภัยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ดังกล่าวจึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณีตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 282) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 53)ฯ
2. กรณีตาม 2. มูลค่าของหุ้นสามัญ ที่ได้รับตาม 1. ให้ถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือราคาที่พึง ซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติตามมาตรา 65 ทวิ (3) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็น บริษัทจำกัด และถือเป็นต้นทุนหรือมูลค่าเงินลง ทุนในหุ้นสามัญของผู้ถือหุ้นเดิม ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นเดิมเป็นบุคคลธรรมดา
ขอแสดงความนับถือ
ชาญยุทธ ปทุมารักษ์
(นายชาญยุทธ ปทุมารักษ์)
รองอธิบดี ปฏิบัติราชการแทน
อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-