แท็ก
เครื่องบิน
ข้อหารือ
ถาม
บริษัทฯ ประกอบกิจการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ บริษัทฯ มีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และการออกใบกำกับภาษี ดังนี้
1. หากบริษัทฯเป็นตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งขายตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศโดยบริษัทฯ ได้วางเงินมัดจำกับ บริษัทสายการบินและบริษัทฯ จะได้ตั๋วเปล่ามา หากมีผู้โดยสารมาซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน บริษัทฯ จะออกตั๋วโดยสารดังกล่าวในชื่อผู้โดยสารเอง บริษัทสายการบินจะให้ค่าตอบแทนบริษัทฯ ตัวอย่างราคาหน้าตั๋วโดยสารเป็นเงินจำนวน 2,000 บาท บริษัทสายการบินให้ค่าคอมมิชชั่นร้อยละ 5 เป็นเงินจำนวน 100 บาท ดังนั้น ราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่ซื้อมาเป็นเงินจำนวน 1,900 บาทแต่บริษัทฯจะขายตั๋วโดยสารให้กับลูกค้าเป็นเงินจำนวน 1,950 บาท บริษัทฯ จะใช้มูลค่าใดเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. หากบริษัทฯ ได้ขายตั๋วโดยสารเครื่องบินทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับลูกค้าโดยจะรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าก่อนจึงทำรายงานส่งบริษัทสายการบินเพื่อให้บริษัทสายการบินออกตั๋วโดยสารตามชื่อของผู้โดยสาร ตัวอย่าง ตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ บริษัทฯ ซื้อตั๋วโดยสารมาราคา 1,900 บาท บริษัทฯขายให้กับลูกค้าในราคา 1,950 บาท และตั๋วโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ บริษัทฯ ซื้อมาราคา 9,500 บาทบริษัทฯ ขายให้กับลูกค้าในราคา 9,800 บาท บริษัทฯ จะใช้มูลค่าใดเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ
1. ตามข้อ 1. เนื่องจากบริษัทฯเป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งของบริษัทสายการบินภายในประเทศในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร บริษัทฯต้องนำมูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้ บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบินโดยให้คำนวณจาก ค่าบริการที่ ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน ตามตัวอย่าง คือเงินจำนวน 100 บาท มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการดังกล่าวให้บริษัทสายการบิน
2. ตามข้อ 2. กรณีบริษัทฯ ได้ขายตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศและต่างประเทศให้กับลูกค้าโดยรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า เพื่อไปให้บริษัทสายการบินดำเนินการออกตั๋วโดยสาร กรณีเข้าลักษณะเป็นการให้บริการการซื้อตั๋วโดยสารให้แทนลูกค้า บริษัทฯต้องนำมูลค่าที่ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งได้เรียกเก็บจากลูกค้ามาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากลูกค้า ตามตัวอย่าง คือ เงินจำนวน 50 บาท สำหรับตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ และเงินจำนวน300 บาท สำหรับตั๋วโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเสียภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับ ค่าบริการ ดังกล่าวให้กับลูกค้า ตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(กค 0811/พ./3900 ลว. 25 เมษายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
ถาม
บริษัทฯ ประกอบกิจการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ บริษัทฯ มีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และการออกใบกำกับภาษี ดังนี้
1. หากบริษัทฯเป็นตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งขายตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศโดยบริษัทฯ ได้วางเงินมัดจำกับ บริษัทสายการบินและบริษัทฯ จะได้ตั๋วเปล่ามา หากมีผู้โดยสารมาซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน บริษัทฯ จะออกตั๋วโดยสารดังกล่าวในชื่อผู้โดยสารเอง บริษัทสายการบินจะให้ค่าตอบแทนบริษัทฯ ตัวอย่างราคาหน้าตั๋วโดยสารเป็นเงินจำนวน 2,000 บาท บริษัทสายการบินให้ค่าคอมมิชชั่นร้อยละ 5 เป็นเงินจำนวน 100 บาท ดังนั้น ราคาตั๋วโดยสารเครื่องบิน ที่ซื้อมาเป็นเงินจำนวน 1,900 บาทแต่บริษัทฯจะขายตั๋วโดยสารให้กับลูกค้าเป็นเงินจำนวน 1,950 บาท บริษัทฯ จะใช้มูลค่าใดเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. หากบริษัทฯ ได้ขายตั๋วโดยสารเครื่องบินทั้งในประเทศและต่างประเทศให้กับลูกค้าโดยจะรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าก่อนจึงทำรายงานส่งบริษัทสายการบินเพื่อให้บริษัทสายการบินออกตั๋วโดยสารตามชื่อของผู้โดยสาร ตัวอย่าง ตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ บริษัทฯ ซื้อตั๋วโดยสารมาราคา 1,900 บาท บริษัทฯขายให้กับลูกค้าในราคา 1,950 บาท และตั๋วโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ บริษัทฯ ซื้อมาราคา 9,500 บาทบริษัทฯ ขายให้กับลูกค้าในราคา 9,800 บาท บริษัทฯ จะใช้มูลค่าใดเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตอบ
1. ตามข้อ 1. เนื่องจากบริษัทฯเป็นตัวแทนที่ได้รับแต่งตั้งของบริษัทสายการบินภายในประเทศในการจำหน่ายตั๋วโดยสาร บริษัทฯต้องนำมูลค่าของค่าบริการที่ได้รับจากการให้ บริการเป็นตัวแทนขายตั๋วโดยสารที่ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบินโดยให้คำนวณจาก ค่าบริการที่ ได้เรียกเก็บจากบริษัทสายการบิน ตามตัวอย่าง คือเงินจำนวน 100 บาท มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าบริการดังกล่าวให้บริษัทสายการบิน
2. ตามข้อ 2. กรณีบริษัทฯ ได้ขายตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศและต่างประเทศให้กับลูกค้าโดยรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า เพื่อไปให้บริษัทสายการบินดำเนินการออกตั๋วโดยสาร กรณีเข้าลักษณะเป็นการให้บริการการซื้อตั๋วโดยสารให้แทนลูกค้า บริษัทฯต้องนำมูลค่าที่ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งได้เรียกเก็บจากลูกค้ามาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คำนวณจากค่าบริการที่ได้เรียกเก็บจากลูกค้า ตามตัวอย่าง คือ เงินจำนวน 50 บาท สำหรับตั๋วโดยสารเครื่องบินภายในประเทศ และเงินจำนวน300 บาท สำหรับตั๋วโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อเสียภาษีมูลค่า เพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับ ค่าบริการ ดังกล่าวให้กับลูกค้า ตามมาตรา 86/4 หรือมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร
(กค 0811/พ./3900 ลว. 25 เมษายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-