พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 381)
พ.ศ. 2544
___________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2544
เป็นปีที่ 56 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2544"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริหารสินทรัพย์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับและสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินที่ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดแล้วกลับคืนให้แก่สถาบันการเงินผู้โอนทรัพย์สินนั้นแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะกรณีที่
(1) สถาบันการเงินผู้โอนเป็นสถาบันการเงินที่ถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือในกรณีที่สถาบันการเงินผู้โอนนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงจะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินผู้โอนนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
(2) ทรัพย์สินที่โอนกลับคืนให้แก่สถาบันการเงินผู้โอนต้องเป็นสินทรัพย์
จัดชั้นปกติหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(3) เป็นการโอนทรัพย์สินกลับคืนให้แก่สถาบันการเงินผู้โอนในราคาตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และ
(4) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สินและสำหรับการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
--บริการสารสรรพากร--
-รอ-
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 381)
พ.ศ. 2544
___________________
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2544
เป็นปีที่ 56 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 221 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 3(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2544"
มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามหมวด 4 ภาษีธุรกิจเฉพาะตามหมวด 5 และอากรแสตมป์ตามหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริหารสินทรัพย์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับและสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนทรัพย์สินที่ได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดแล้วกลับคืนให้แก่สถาบันการเงินผู้โอนทรัพย์สินนั้นแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะกรณีที่
(1) สถาบันการเงินผู้โอนเป็นสถาบันการเงินที่ถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือในกรณีที่สถาบันการเงินผู้โอนนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงจะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินผู้โอนนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
(2) ทรัพย์สินที่โอนกลับคืนให้แก่สถาบันการเงินผู้โอนต้องเป็นสินทรัพย์
จัดชั้นปกติหรือสินทรัพย์จัดชั้นควรระวังเป็นพิเศษตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(3) เป็นการโอนทรัพย์สินกลับคืนให้แก่สถาบันการเงินผู้โอนในราคาตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และ
(4) เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
ทั้งนี้ เฉพาะการโอนทรัพย์สินและสำหรับการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2545
มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
--บริการสารสรรพากร--
-รอ-