กฎกระทรวง
ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
_______________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (32) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 192 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(32) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์"
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (55) และ (56) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 227 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
"(55) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) (2) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้พึงประเมินประเภท ค่าแห่งลิขสิทธิ์ที่มิได้รับโอนมาโดยทางมรดกเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 300,000 บาท
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และการถือหน่วยลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสามให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย
(56) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด"
ข้อ 3 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544
พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
(นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
_______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือโดยที่ลูกจ้างหรือข้าราชการสามารถออมเงินผ่าน กองทุน สำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ แต่การออมดังกล่าวยังมีวงเงินจำกัดไม่เป็นไปตามความต้องการ ของลูกจ้างหรือ ข้าราชการที่มีความสามารถออมได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และโดยที่ยังมีผู้มีเงินได้โดยทั่วไปซึ่งไม่สามารถออม เงินผ่าน กองทุน ดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนทั้งสองได้จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกในการ ออมเงินระยะยาวให้แก่ลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม การออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป และเพื่อเป็นการ ส่งเสริมการลงทุน ในสถาบัน ในตลาดทุน ของไทยเพิ่มมากขึ้น สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อ หน่วยลงทุนใน กองทุนรวมดังกล่าว และเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ ถือหน่วยลงทุนได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าว เป็นเงินได้ พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้และสมควรกำหนดให้เงิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการ ขายหน่วย ลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเป็น เงินได้พึงประเมินที่ต้อง เสีย ภาษี เงินได้เพื่อทำให้ผู้ที่ไม่ออมเงินตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ของกองทุนรวมดังกล่าวมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้ อันจะส่งผลทำให้มีการออม เงินผ่านกองทุนรวมนี้ในระยะยาว จึงจำเป็นต้อง ออก กฎกระทรวงนี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 10 ก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
_______________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (32) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 192 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(32) เงินได้จากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แต่ไม่รวมถึงเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์"
ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (55) และ (56) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 227 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
"(55) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) (2) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินได้พึงประเมินประเภท ค่าแห่งลิขสิทธิ์ที่มิได้รับโอนมาโดยทางมรดกเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 300,000 บาท
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และการถือหน่วยลงทุนใน กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในวรรคสามให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่งและต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ ที่ได้รับยกเว้นภาษีตามวรรคหนึ่งมาแล้วด้วย
(56) เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าว เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพหรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด"
ข้อ 3 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2544 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544
พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
(นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล)
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
_______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้คือโดยที่ลูกจ้างหรือข้าราชการสามารถออมเงินผ่าน กองทุน สำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้ แต่การออมดังกล่าวยังมีวงเงินจำกัดไม่เป็นไปตามความต้องการ ของลูกจ้างหรือ ข้าราชการที่มีความสามารถออมได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด และโดยที่ยังมีผู้มีเงินได้โดยทั่วไปซึ่งไม่สามารถออม เงินผ่าน กองทุน ดังกล่าว เนื่องจากไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนทั้งสองได้จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วย หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกในการ ออมเงินระยะยาวให้แก่ลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริม การออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป และเพื่อเป็นการ ส่งเสริมการลงทุน ในสถาบัน ในตลาดทุน ของไทยเพิ่มมากขึ้น สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อ หน่วยลงทุนใน กองทุนรวมดังกล่าว และเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ ถือหน่วยลงทุนได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าว เป็นเงินได้ พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้และสมควรกำหนดให้เงิน หรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการ ขายหน่วย ลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเป็น เงินได้พึงประเมินที่ต้อง เสีย ภาษี เงินได้เพื่อทำให้ผู้ที่ไม่ออมเงินตาม หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ของกองทุนรวมดังกล่าวมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้ อันจะส่งผลทำให้มีการออม เงินผ่านกองทุนรวมนี้ในระยะยาว จึงจำเป็นต้อง ออก กฎกระทรวงนี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 10 ก วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-