กฎกระทรวง
ฉบับที่ 232 (พ.ศ.2544)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
_____________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 226(พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
"(ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง"
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2544 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2544
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ข้อ 2(52)(ก) และ (ข)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ได้กำหนดให้เงินได้เท่าจำนวนที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมเฉพาะที่จ่ายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท กรณีหนึ่ง และโดยที่มาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ได้กำหนดการหักลดหย่อนและยกเว้นเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้นเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริง แต่ทั้งหมดเมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท อีกกรณีหนึ่ง ต่อมานิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ได้เข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวม ธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างตามกรณีดังกล่าวข้างต้นโดยลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจต่อไปแต่เนื่องจากลูกหนี้ไม่อาจนำดอกเบี้ยงินกู้ยืมที่จ่ายให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวไปหักลดหย่อนหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิม สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าจำนวนที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 80 ก วันที่ 13 กันยายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-รอ-
ฉบับที่ 232 (พ.ศ.2544)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
_____________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42(17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแกไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (ค) ของข้อ 2 (52) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 226(พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
"(ค) นิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็น หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวเข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมตาม (ก) หรือ (ข) ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้าง"
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2544 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2544
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ______________________________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ข้อ 2(52)(ก) และ (ข)แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ได้กำหนดให้เงินได้เท่าจำนวนที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมเฉพาะที่จ่ายให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท กรณีหนึ่ง และโดยที่มาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 226 (พ.ศ.2543) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ได้กำหนดการหักลดหย่อนและยกเว้นเงินได้ สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ผู้มีเงินได้จ่ายให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัยโดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้นเท่ากับจำนวนที่จ่ายจริง แต่ทั้งหมดเมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 50,000 บาท อีกกรณีหนึ่ง ต่อมานิติบุคคลเฉพาะกิจซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ได้เข้ารับช่วงสิทธิเป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวม ธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ หรือนายจ้างตามกรณีดังกล่าวข้างต้นโดยลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจต่อไปแต่เนื่องจากลูกหนี้ไม่อาจนำดอกเบี้ยงินกู้ยืมที่จ่ายให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจดังกล่าวไปหักลดหย่อนหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร ดังนั้น เพื่อให้ผู้มีเงินได้ยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิม สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าจำนวนที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจจึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 118 ตอนที่ 80 ก วันที่ 13 กันยายน 2544)
--บริการสารสรรพากร--
-รอ-