ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์
สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการ โอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ที่นำมาจำนองเป็น
ประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้ แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงิน เพื่อนำไป
ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
________________________________
อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ะเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบัน การเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินเพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 จำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ของ สถาบันการเงินได้รับจากการ โอนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกัน หนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการ เงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินและสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหา ริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จำนวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่ กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับ เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และต้องเป็นจำนวนเงินที่นำไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการ เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ กำหนดในการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกัน จัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของ สถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินเพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 2 ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียน สิทธิ และนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อ เจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียน สิทธิ และนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของ สถาบันการเงินประสงค์จะชำระภาษีอากรก่อน ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือ รับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดัง กล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ สรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมี ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ 2543
สมเกียรติ เจริญกุล
(นายสมเกียรติ เจริญกุล)
รองอธิบดีกรมสรรพากร
รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์
สำหรับจำนวนเงินที่ได้รับจากการ โอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ที่นำมาจำนองเป็น
ประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินให้ แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงิน เพื่อนำไป
ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
________________________________
อาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 8 ทวิ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 360) พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ะเงื่อนไข การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ สำหรับจำนวนเงินที่ ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของสถาบัน การเงินที่นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินให้แก่ผู้อื่น ซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินเพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 จำนวนเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์สำหรับเงินได้ที่ลูกหนี้ของ สถาบันการเงินได้รับจากการ โอนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนองเป็นประกัน หนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการ เงินอยู่ก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินและสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหา ริมทรัพย์ดังกล่าว ได้แก่ จำนวนเงินเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่ กับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับ เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และต้องเป็นจำนวนเงินที่นำไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ที่ เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการ เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ กำหนดในการยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ลูกหนี้ของสถาบันการเงินเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์ จะต้องร่วมกัน จัดทำหนังสือรับรองการโอนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ของ สถาบันการเงิน ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่เจ้าหนี้ที่เป็น สถาบันการเงินเพื่อนำเงินที่ได้รับจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ที่เป็นสถาบันการเงิน โดยหนังสือรับรองดังกล่าวต้องมีข้อความตามที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 2 ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ต้องแจ้งหนังสือรับรองตามวรรคสอง ดังนี้
(1) แจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินท้องที่ที่จดทะเบียน สิทธิ และนิติกรรม โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดังกล่าวต่อ เจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียน สิทธิ และนิติกรรมในขณะจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรม เว้นแต่ลูกหนี้ของ สถาบันการเงินประสงค์จะชำระภาษีอากรก่อน ในขณะที่จดทะเบียนสิทธิและ นิติกรรมตามกฎหมาย ก็ไม่ต้องแจ้งและส่งมอบหนังสือ รับรองดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
(2) แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร โดยให้ส่งมอบหนังสือรับรองดัง กล่าวผ่านสรรพากรพื้นที่ สรรพากรจังหวัด หรือสรรพากรจังหวัด (สาขา) ในท้องที่ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินมี ภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ หรือในท้องที่ที่อสังหาริมทรัพย์ที่โอนตั้งอยู่
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ 2543
สมเกียรติ เจริญกุล
(นายสมเกียรติ เจริญกุล)
รองอธิบดีกรมสรรพากร
รักษาราชการแทน อธิบดีกรมสรรพากร
--บริการสารสรรพากร--
-สศ-